Sunday, November 7, 2010

5 สะ

5 S คือมีหลักในการปฏิบัติอยู่ 5 ประการ คือ

Seiri (สะสาง)
Seiton (สะดวก)
Seiso (สะอาด)
Seiketsu (สุขลักษณะ)
Shitsuke (สร้างนิสัย)

เช่น เรื่องขยะ
โดยจะแยกขยะเป็น 3 ประเภท คือ

1.ขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ได้
2.ขยะที่เป็นของสด จะเน่าเปื่อยเมื่อถึงเวลา
3.ขยะอันตราย เช่น สารเคมี หรือวัตถุมีพิษ

สรุป ได้ง่าย ๆ ว่าประโยชน์ที่จะได้จาการสะสางคือ
สามารถทราบจำนวนของที่ยังใช้ได้ว่าเหลืออยู่อีกเท่าไร
ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ เพราะไม่ต้องสิ้นเปลืองพื้นที่เพื่อเก็บขยะหรือของที่ไม่ใช้แล้ว
ไม่ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้ของ

ส” ที่ 2 คือ สะดวก(Seiton) หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา
ทั้งนี้วิธีปฏิบัติขั้นตอน “สะดวก” นี้ ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ที่สำคัญคือนำออกมาใช้ได้ง่าย โดยวิธีปฏิบัติพื้นฐานจะประกอบไปด้วย

จัดแยกของที่ใช้งานออกเป็นประเภทต่างๆ
เมื่อแยกประเภทแล้ว ให้จัดเก็บให้เป็นระเบียบ
อาจติดป้ายแสดงว่าเป็นของประเภทใด ทั้งนี้อาจรวมถึงคุณสมบัติน้ำหนัก และวันหมดอายุการใช้งาน (ถ้ามี)

“ส” ที่ 3 ต้อง สะอาด(Seiso) เพื่อความพร้อมในการทำงาน

โดยแนวปฏิบัติง่ายๆของขั้นตอนการทำความสะอาดไม่มีอะไรมาก คือ
ปัดกวาดเช็ดถูทุกวัน
มุ่งแก้ไขปัญหาในเรื่องฝุ่นผง ซึ่งเป็นต้นตอของการเสื่อมสภาพของวัสดุอุปกรณ์หลายประเภท
ยึดมั่นเสมอว่าไม่มีขยะ ยังไงก็ไม่เลอะเทอะ

“ส” ที่ 4 คือถูกสุขลักษณะ(Seiketsu) เพื่อความแจ่มใส สุขกายสุขใจ

1.ตา – ดูแลแล้วสบายตา ซึ่งจะเกิดได้ต้องทำสะสาง สะดวก สะอาด ให้เรียบร้อยอย่างมีระบบและได้รับความร่วมมือจากทุกระดับก่อน
2.จมูก – อากาศทีหายใจเข้าไปต้องไม่ทำลายหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และต้องปราศจากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
3.หู – เสียงต่างๆ ในทีทำงาน ต้องเป็นเสียงที่ไม่รบกวนสมาธิในการทำงาน

ส” ที่ 5 สร้างนิสัย(Shitsuke) ให้รักที่จะทำ 5 ส.

Character is Destiny

นักปราชญ์ตะวันตกกล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า Character is Destiny
(บุคลิกอุปนิสัยคือ ชะตากรรม) กล่าวคือบุคคลหนึ่งมีบุคลิก
อุปนิสัยเช่นใดก็จะก้าวหน้าหรือมีชีวิตเป็นไปเช่นนั้น
“บุคลิกอุปนิสัย” หมายถึงบุคลิกตลอดจนอุปนิสัยใจคอ เช่น ใฝ่เรียนรู้ รัก
ความจริง เป็นคนใจกว้าง ใจแคบ ซื่อสัตย์ จริงใจ คดในข้องอในกระดูก ขยันบากบั่น
ขี้เกียจหลังยาว พึ่งพิงตนเอง กล้าหาญ ขี้ขลาด ฯลฯ ในเรื่องเงินทองก็ได้แก่ การรู้จัก
ใช้เงิน มัธยัสถ์ สุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเงินอย่างไร้แผน เป็นต้น

เหตุที่ “บุคลิกอุปนิสัย” เป็นตัวตัดสินความเป็นไปของชีวิตว่าจะประสบ
ความสำเร็จหรือล้มเหลว อยู่รอด อยู่ดี อยู่อย่างปลอดภัย หรือเป็นไปในทางตรงกันข้าม
ก็เพราะความเชื่อมโยงระหว่างความเป็นตัวตนของบุคคลหนึ่งกับการดำเนินชีวิตหรือ
การทำงาน
คนที่มีนิสัยไม่ตรงไปตรงมา เมื่อประกอบกิจกรรมหรือทำงานก็ย่อมกระทำการ
อย่างไม่ตรงไปตรงมาเช่นกัน และเมื่อเป็นเช่นนี้อยู่เสมอๆ ก็พอจะมองเห็นชะตากรรม
ของเขาได้ว่าจะเป็นเช่นไร
คนเก็บตัวและมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้คน เมื่อทำงาน “บุคลิกอุปนิสัย”
เช่นนี้ก็ย่อมปรากฏออกมาให้เห็นและมีผลกระทบต่อการทำงานอย่างมิต้องสงสัย

การฝึกฝนให้มี “บุคลิกอุปนิสัย” อันเหมาะสมตามความคิดของ Steven Covey ประกอบด้วยการสร้าง 7 นิสัย ซึ่งได้แก่
(1) คิดในเชิงป้องกันมากกว่าแก้ไข (proactive) (
2) จะกระทำสิ่งใดให้เริ่มก่อนด้วยการนึกถึงผลที่จะเกิดขึ้น
(3) มีหลักในการทำสิ่งต่างๆ อย่างตระหนักในลำดับความสำคัญและอย่างมีจริยธรรม (
4) คิดถึงผลที่จะได้ร่วมกันเสมอ (win-win)
(5) เริ่มด้วยความพยายามเข้าใจคนอื่นและตามมาด้วยความพยายามให้คนอื่นเข้าใจตน
(6) ร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น (synergize) และ
(7) มีจิตใจมุ่งมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ


คนฉลาดต่อสู้เพื่อให้ชนะ แต่เขาจะเป็นคนเขลาอย่างยิ่ง
หากไม่มีแผนการสำหรับความเป็นไปได้ในการแพ้

7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง

7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง หรือ The Seven Habits of Highly Effective People เป็นหนังสือวิชาการ แขนง จิตวิทยา เป็นหนึ่งในหนังสือที่ได้รับการนิยมมากที่สุดในโลก มีการแปลในภาษาต่างๆ แล้วมากกว่า 34 ภาษา จำหน่ายไปแล้วกว่า 15 ล้านเล่มทั่วโลก เป็นหนังสือ ที่ว่าด้วยอุปนิสัยต่างๆ ทั้ง 7 ของมนุษย์ ซึ่งเป็นที่มักใช้ในการอ้างอิงของหมู่นักจัดการ นักวิชาการ นักจิตวิทยา เขียนโดย สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์ นักจิตวิทยา

และยังมี อุปนิสัยที่ 8 : จากประสิทธิผลสู่ความยิ่งใหญ่ ที่เขียนต่อจาก 7 อุปนิสัย และ 7 อุปนิสัยให้วัยรุ่นเป็นเลิศ ที่ลูกของเขา ฌอน โคว์วีย์ เขียน

ในประเทศไทย พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 โดยสำนักพิมพ์ se-ed เรียบเรียงโดย สงการณ์ จิตสุทธิภากร และ นิรันดร์เกชาคุปต์ ต่อมา เมื่อหมดลิขสิทธ์ สำนักพิมพ์ DMG ได้ซื้อลิขสิทธ์มาจัดทำใหม่เรียบเรียงโดย นพดล เวชสวัสดิ์

[แก้] หลักของ 7 อุปนิสัย
หลักของ 7 อุปนิสัย ที่ สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์เขียน 7 ขั้นดังต่อไปนี้

1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)

เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง จะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น หากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่การที่เราจะทำสิ่งใด ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคน สามารถยอมรับได้
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the End in Mind)

การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ "เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ" นั้นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้ มันอยู่กับว่าเราเทความพยายามไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเองและเป็นการที่เราดำเนินชีวิต และตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไม่รุ้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา
3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First.)

อุปนิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ อุปนิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งมีทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และ เราควรทำ ทำสัญญาลักษณ์แบ่งมันออกเป็น 3 ระดับ คือ สำคัญมากเร่งด่วน, สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน. และทำตามลำดับ สิ่งที่เป็นปัญหาคือเรามักจะถูกแทรกแซงความสนใจไปกับเรื่องที่เร่งด่วนแต่อาจไม่สำคัญต่อเป้าหมายหลัก ส่วนเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นการช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพต่อการบรรลุเป้าหมายเช่น การออกกำลังกาย ใช้เวลาเพื่อการทบทวนเนื้อหาวิชานั้นเราละเลยไป เชื่อว่าหากเราค้นว่า "สิ่งใดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ดีขึ้น ณ วันนี้" เราจะทำสิ่งนั้นได้ และจะชัดเจนในการจัดการสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายเราได้
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)

จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือ การคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์แต่ละสถาณการณ์ ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า "จะไม่ตกลง" ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่ มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความproactiveที่มีค่าของผู้อื่น (I'm Ok, You're Ok.)บทนี้เน้นการแก้ปัญหาโดยศาลควรเป็นทางเลือกท้ายสุดเพราะมีเพียง แพ้ หรือ ชนะ เท่านั้น
5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้งก่อน ลดการปะทะกัน

6. ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น

7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)

การพัฒนาสมรรถนะด้วย แบบจำลอง 3C

1. Capacity เป็นความสามารถที่จะรับงานได้มากน้อยเท่าใด ต่อชั่วโมง ต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือ
ต่อเดือน ตามความจุของงานที่จะทำได้ บางคนรับงานได้มาก บางคนรับงานได้น้อย
2. Capability เป็นความสามารถที่จะทำงานได้หลากหลายชนิด บางคนทำงานได้หลายชนิด
บางคนมีความสามารถเฉพาะ อย่าง ไม่สามารถพัฒนาทักษะให้มีหลายด้าน (multi-skill)
3. Caliber เป็นการพิจารณาขีดความสามารถว่าทำงานได้ในระดับยากมาก ยากปานกลาง หรือ
ไม่ยาก

วิธีในการพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร สามารถพัฒนาได้ 9 วิธี

วิธีในการพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร สามารถพัฒนาได้ 9 วิธี คือ

1. การเรียนรู้ในงาน / การสอนงาน (Coaching) หมายถึง การสอนงานให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน
มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะให้เป็นไปตามมาตรฐานของงาน

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.เลือกบุคคลที่จะเป็นพี่เลี้ยง
2.กำหนดระยะเวลาในการสอนงาน
3.ประเมินผลการสอนงานทั้งพี่เลี้ยงและบุคลากรที่เรียนรู้ระบบ

2. การประชุมแก้ปัญหา (Meeting) หมายถึง การประชุมเฉพาะเรื่องและเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้มีการพัฒนาและแสดงขีดความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา พัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหา ระบุความสามารถของแต่ละบุคคล
พัฒนาการมีส่วนร่วม
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.เลือกประเด็นปัญหาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
2.ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหาข้อสรุปและวิธีการแก้ปัญหา
3.สรุปวิธีการแก้ปัญหา
4.ดำเนินการแก้ปัญหา
5.ทำการจดบันทึกปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา
หมายเหตุ : การประชุมลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพต้องไม่กล่าวโทษว่าใคร คือ ผู้สร้างปัญหา
และต้องประชุมไม่เกิน 45 นาที

3.การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) หมายถึง การสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้บุคลากรปฏิบัติงานที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาให้มีความรู้กว้างขวางในงานที่หลากหลาย
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.กำหนดนโยบายหรือแนวทางในการหมุนเวียนงาน อาทิ ลักษณะงาน ระยะเวลาในการหมุนเวียนงาน
เป็นต้น
2.กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะหมุนเวียนงาน
3.ประเมินผลจากการหมุนเวียนงาน เพื่อที่จะนำมาสู่การปรับปรุง

4.การมอบหมายโครงการพิเศษ (Project Assignment) หมายถึง การมอบหมายโครงการ / งานพิเศษให้บุคลากรเป้าหมายได้ปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาความสามารถของตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะทางเทคนิค พัฒนาความเชี่ยวชาญและความชำนาญ
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.เลือกโครงการที่มีความท้าทาย
2.เลือกบุคลากรที่มีผลการประเมินขีดสมรรถนะที่สูงกว่ามาตรฐานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.ประเมินผลการปฏิบัติงานทุกๆ 3 เดือนจนกว่าโครงการจะเสร็จสิ้น

5.การมอบหมายงานเป็นทีม (Team Assignment) หมายถึง การมอบหมายงานให้กับกลุ่มบุคลากรไปปฏิบัติงานร่วมกัน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะนำและมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม พัฒนาทักษะการจัดการในเบื้องต้น
(Pre – Managerial)
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.เลือกโครงการที่มีความท้าทาย
2.เลือกกลุ่มบุคลากร

6.หลักสูตรการฝึกอบรมภายในองค์การ (In-house Training) หมายถึง การจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับบุคลากรในองค์การโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาเป็นวิทยากร หรืออาจจะมีการจัดบทเรียนออนไลน์
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.กำหนดแผนการพัฒนาขีดสมรรถนะตามผลการประเมิน
2.กำหนดโครงการพัฒนาบุคลากรตามแผนฯ ที่กำหนดไว้
3.คัดเลือกวิทยากรที่มีความชำนาญทั้งในและนอกองค์การ
4.จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
5.ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตร / รายวิชา และระยะเวลาที่กำหนด
6.ประเมินผลหลังการฝึกอบรม

7.หลักสูตรการฝึกอบรมภายนอกองค์การ (External Training) หมายถึง การส่งกลุ่มบุคลากรเป้าหมายไปอบรมภายนอกทั้งการอบรมระยะสั้น และระยะปานกลาง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.จัดทำฐานข้อมูลองค์การภายนอกที่มีความชำนาญในการฝึกอบรมโดยจะต้องสอดคล้องกับขีดสมรรถนะ
แต่ละด้านขององค์การ
2.คัดเลือกบุคลากรส่งไปอบรมกับองค์การภายนอก โดยพิจารณาจากผลการประเมิน Gap Analysis
ประเมินผลการฝึกอบรมของบุคลากร โดยให้บุคลากรจัดทำรายงาน และนำเสนอให้กับผู้บริหารและผู้สนใจเข้ารับฟัง



8.การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Access) หมายถึง บุคลากรเรียนรู้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน เพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.องค์การจะต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด หรือบทเรียนบนออนไลน์
2.บุคลากรแต่ละคนจะต้องถูกกำหนดให้เสนอความรู้ใหม่ๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 15 – 20 นาที
ต่อ คน โดยการประชุมช่วงเช้า หรือการส่ง e – mail ให้ผู้ร่วมงาน

9.การศึกษาแบบทางการ (Education) หมายถึง การสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับสูง เช่น การศึกษาในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.กำหนดหลักสูตรการศึกษาระดับสูงที่เป็นเป้าหมายโดยจะต้องเกี่ยวข้องกับขีดสมรรถนะและภารกิจขององค์การ
2.พิจารณาคัดเลือกบุคลากรเป้าหมายที่ต้องการศึกษาต่อในระดับสูง โดยใช้เกณฑ์ขีดสมรรถนะเป็นปัจจัยในการพิจารณา

Competency-สมรรถนะ




สมรรถนะ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งถือเป็ นตัวกำหนดพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
(Underlying characteristic) เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของงาน หรือประสิทธิผลหรือผลการปฏิบัติงานใน
การทำงาน ภายใต้ปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร และทำให้บุคคลมุ่งมั่นสู่ผลลัพธ์ตามเกณฑ์ (Criterion
Reference) ในระดับที่ต้องการและ/หรือในระดับที่สูงกว่ามาตรฐาน๓ (Superior performance) (Boyatizis,
R.E., ๑๙๘๒; Mitrani, A., Dalziel, M., and Fitt, D., ๑๙๙๒; Spencer, M and Spencer, M.S., ๑๙๙๓; Dales,
M and Hes, K. ๑๙๙๕) ซึ่งโดยมากแล้วสมรรถนะมักจะมีองค์ประกอบ ๕ ประการดังนี้ ๑) แรงผลักดันเบื้อง
ลึก (Motives) เป็นสิ่งที่บุคคลคิดหรือต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นแรงขับในการกำหนดทิศทางหรือการ
เลือกของบุคคลเพื่อแสดงออกถึงพฤติกรรม หรือการตอบสนองต่อเป้าหมายหรือการถอยออกไปจากสิ่งต่างๆ
เหล่านั้น ๒) ลักษณะนิสัย (Traits) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพของบุคคลและรวมถึงการตอบสนองของ
บุคคลต่อข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ๓) ภาพลักษณ์แห่งตน (Self-Image) และบทบาทที่แสดงออกต่อ
สังคม (Social Rule) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม (Value) และภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อ
ตนเอง (Self Image) ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมของบุคคล
ที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงระยะสั้นๆ ได้ ๔) ความรู้ (Knowledge) เป็นขอบเขตของข้อมูลหรือเนื้อหา
เฉพาะด้านที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบครองอยู่ และ ๕) ทักษะ (Skill) เป็นความสามารถในการปฏิบัติงาน
ทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านกายภาพ การใช้ความคิด และจิตใจของบุคคลในระดับที่สามารถคิด วิเคราะห์ ใช้ความรู้
กำหนดเหตุผลหรือการวางแผนในการจัดการ และในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความซับซ้อนของข้อมูลได้

สรุปความหมายของคำว่า Competency ที่จะใช้ในบทความฉบับนี้ว่า คือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดง พฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็น และมีผลทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ดีกว่าผู้อื่น Competency ของคนซึ่งเกิดได้จาก 3 ทาง (ณรงค์วิทย์ แสนทอง : 2547) คือ
1. เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2. เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
3. เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา


องค์ประกอบของสมรรถนะทั้ง ๕ ประการนี้ เมื่อนำมาจัดกลุ่มภายใต้เกณฑ์ของพฤติกรรมที่
แสดงออกและสังเกตเห็นได้ง่ายจำนวน ๒ ส่วน คือ
1) ส่วนที่สังเกตได้หรือเห็นได้ (Visible) ได้แก่ ความรู้
(Knowledge) ทักษะ (Skill) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่มีโอกาสพัฒนาได้โดยง่าย และ
2) ส่วนที่อยู่ลึกลงไปหรือ
ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล (Hidden) ได้แก่ แรงจูงใจ (Motive) คุณลักษณะส่วนบุคคล (Trait) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก
ต่อการวัดและพัฒนา นอกจากนี้ ยังมี แนวคิดของตนเอง (Self Concept) ได้แก่ ทัศนคติ และค่านิยม ซึ่งเป็น
สมรรถนะที่ถึงแม้จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาได้ด้วยการฝึกอบรม การใช้หลักจิตวิทยา หรือการสั่งสม
ประสบการณ์ หากแต่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา


การพัฒนาขีดความสามารถ

การทำงานหรือการให้บริการมีผลดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกันในระยะเวลาที่ผ่านมา อาจไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ได้รับความสำเร็จ การวัดอาจจำเป็นต้อง กำหนดค่าเป็นตัวเลข จึงต้องวัดจากจำนวนการร้องเรียนของผู้ใช้บริการว่าลดลง เป็นสัดส่วนเท่าใดกับข้อร้องเรียนเดิม การพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานและการให้บริการจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และมีความเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานหรือบุคคล ต่างก็มีขีดความสามารถไม่เหมือนกัน และมีขีดความสามารถต่างกันออกไปในแต่ละด้าน จึงต้องมีการวิเคราะห์ว่าหน่วยงานหรือบุคคลควรได้รับ การพัฒนาขีดความสามารถไปในด้านใดบ้าง
3C Model หรือ แบบจำลอง 3C จะช่วยให้สามารถพิจารณาขีดความสามารถได้ชัดเจนเป็นแต่ละด้าน

http://61.19.250.202/~kunkroo/competencydevelopment.doc

การพัฒนาสมรรถนะด้วย แบบจำลอง 3C
1. Capacity เป็นความสามารถที่จะรับงานได้มากน้อยเท่าใด ต่อชั่วโมง ต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือ
ต่อเดือน ตามความจุของงานที่จะทำได้ บางคนรับงานได้มาก บางคนรับงานได้น้อย
2. Capability เป็นความสามารถที่จะทำงานได้หลากหลายชนิด บางคนทำงานได้หลายชนิด
บางคนมีความสามารถเฉพาะ อย่าง ไม่สามารถพัฒนาทักษะให้มีหลายด้าน (multi-skill)
3. Caliber เป็นการพิจารณาขีดความสามารถว่าทำงานได้ในระดับยากมาก ยากปานกลาง หรือ
ไม่ยาก

ขีดความสามารถในการให้บริการที่จะนำไปสู่ การบรรลุผลสำเร็จของงานบริการต้องสูงกว่ามาตรฐานทั่วไปที่ใครๆ ก็ทำได้ เป็นลักษณะที่เรียกได้ว่า ความเก่ง จะต้องมีความรู้ความสามารถ พฤติกรรม ทักษะ และแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ และส่งผลต่อความสำเร็จของเป้าหมายในงานบริการ ซึ่งพฤติกรรม
หลัก (key behavior) จะมีความสำคัญต่องานบริการแต่ละอย่างต่างกัน


ขีดความสามารถโดยรวม
การพัฒนาขีดความสามารถของบริษัทจะต้องรู้ว่าบริษัทของเราเก่งในการให้บริการด้านใดอย่างไร ที่ทำให้บรรลุผลสำเร็จในการประกอบการ และทำให้บริษัทของเราแตกต่างจากบริษัทอื่น เป็นความสามารถหลัก (core competency) ที่อยู่กับเรามานาน ผู้อื่นลอกเลียนได้ยาก เป็นความสามารถซึ่งเป็น
ที่ยอมรับของผู้ใช้บริการโดยทั่วไป

ขีดความสามารถส่วนบุคคล คุณลักษณะของบุคคลที่ส่งผลต่อการให้บริการสูงกว่ามาตรฐานในการบริการทั่วๆ ไป จะเป็นในด้านงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งแต่ละบุคคลมีมากน้อยไม่เท่ากัน บางคนมีมากในด้านหนึ่ง แต่น้อยกว่าในอีกด้าน จึงต้องพิจารณาพัฒนาขีดความสามารถในด้านที่เป็นจุดแข็งให้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องจำกัดด้านที่เป็นจุดอ่อนให้หมดไป ด้วยวิธีการที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด ได้แก่ การฝึกอบรม และการสอนงานบริการในลักษณะการฝึกอบรมในงาน (On the Job Training: OJT)

เทคนิคการออกแบบและประยุกต์ใช้ “ Competency” เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

http://www.auditddc.org/images/1157514762/Technique%20of%20design.doc

Sunday, October 31, 2010

เตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรกับการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส?

เตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรกับการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส?
“สิ้นปีนี้บริษัทเราจะจ่ายโบนัสเท่าไหร่” “บริษัทคุณจะปรับค่าจ้างกี่เปอร์เซ็นต์” “ได้ข่าวว่าอุตสาหกรรมรถยนต์กำไรดี” คำถามยอดฮิตก่อนช่วงคริสต์มาสและปีใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือน


ไม่อยากคุดคุ้ยปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานให้มากกว่าเพราะทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เรามาคุยกันต่อเรื่องอนาคตกันดีกว่าว่าก่อนที่เทศกาลการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือพนักงานควรจะเตรียมตัวกันอย่างไรดี
มามองในแง่ของผู้บริหารก่อนนะครับว่าผู้บริหารควรจะเตรียมตัวอย่างไร
เตรียมข้อมูล ผู้บริหารควรจะให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเตรียมข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลการสำรวจค่าจ้างภายนอก ผลการดำเนินงานขององค์กร อัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม พร้อมกับเหตุผลการประกอบการตัดสินใจในการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส ถ้าองค์กรไหนมีสหภาพแรงงานก็อย่าลืมดูข้อตกลงกันไว้ด้วยนะครับ เดี๋ยวจะเสียเครดิตและเสียหน้า เพราะอย่าลืมนะครับว่าปัจจุบันองค์กรแรงงานเขาก้าวหน้ามาก ข้อมูลต่างๆเขาค้นหากันทางอินเตอร์เน็ตแล้ว อย่าให้ข้อมูลของฝ่ายบริษัทล่าหลังกว่าขององค์กรแรงงานก็แล้วกันนะครับ

เตรียมวิธีการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา เมื่อข้อมูลพร้อมแล้วก็ควรจะมีการกำหนดแผนงาน ขั้นตอนการดำเนินการให้รัดกุม อะไรที่เคยเกิดขึ้นมาในปีที่ผ่านมาก็ควรจะนำมาแก้ไขปรับปรุง เช่น ข่าวลือเรื่องโบนัส ข่าวรั่วจากผู้บริหารบางท่าน ควรจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบในการดำเนินการ ใครจะเป็นคนสื่อสารกับพนักงาน ควรจะประกาศเรื่องอัตราการปรับค่าจ้างเมื่อไหร่ จะประกาศอย่างไร ผมอยากจะแนะนำว่าผู้บริหารควรจะเตรียมกำหนดนโยบายไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าในปีต่อไปบริษัทจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร เช่น บางบริษัทก็บอกว่าปีต่อไปปัญหานี้จะน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีกเพราะบริษัทเราเตรียมที่จะนำเอาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบใหม่เข้ามาใช้ที่จะสามารถวัดผลงานได้ชัดเจนและเป็นธรรม ซึ่งจุดนี้จะช่วยลดกระแสความไม่พึงพอใจของพนักงานลงได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็พอมีความหวังสำหรับในปีต่อไปได้บ้าง

มามองในแง่ของพนักงานกันบ้างนะครับว่าเราในฐานะคนที่เขาจ้างมาเป็นลูก (ลูกจ้าง) ควรจะเตรียมตัว(รวมถึงเตรียมใจ)อย่างไรดี จึงจะทำเกิดสนิมทางอารมณ์ก่อนจะฉลองเทศกาลปีใหม่หรือบางองค์กรก็ปรับค่าจ้างกันก่อนสงกรานต์(ก็ยังเป็นปีใหม่ไทยอยู่นะครับ) คนที่เป็นหัวหน้าห้ามอ่านตอนนี้ครับ

เตรียมเก็บรวบรวมข้อมูลผลงาน ทั้งชิ้นโบแดงและโบดำของตัวเองว่าในรอบปีที่ผ่านมานั้นตัวเราได้ทำงานอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้อภิปราย(เรียกง่ายๆคือเถียง)กับหัวหน้าเราได้ตอนที่ถูกเรียกเข้าไปประเมินผลงาน ถ้าจะให้ดีผมว่าเราควรจะเตรียมตัวเชิงรุกคืออย่ารอให้หัวหน้าเรียกเข้าไปคุย เพราะถ้าถึงเวลานั้นอาจจะเปลี่ยนใจหัวหน้ายาก เพราะหัวหน้ามีลำดับไว้เรียบร้อยแล้ว เราอาจจะลองทำสรุปผลงานประจำปีให้หัวหน้าดูก่อน แต่อย่าเขียนเฉพาะผลงานที่ดีนะครับ ให้ทำทีเป็นเขียนสรุปผลงานเทียบกับแผน เพราะเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจหัวหน้าว่าสิ้นปีนี้เวลาปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสกรุณาชำเลืองดูข้อมูลและข้อเท็จจริงก่อนนะจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

เตรียมเสนอโครงการแนวคิดใหม่ๆ ถ้าผลงานในรอบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยเข้าตากรรมการ กรุณาเตรียมหาแนวคิด ไอเดียใหม่ๆและดีๆนำเสนอหัวหน้าในช่วงก่อนการประเมินผลงาน เพราะถ้าไอเดียถูกใจหัวหน้า เวลาจรดปากกาลงในใบประเมินผลก็อาจจะชำเลืองไปดูโครงการที่เรานำเสนอสำหรับปีหน้าแล้ว อาจจะพอช่วยได้บ้าง เพราะโครงการใหม่คืออนาคตของหัวหน้าเหมือนกัน

เตรียมใจ เป็นการเตรียมตัวครั้งสุดท้ายก่อนจะถูกตัดสิน ช่วงนี้ก็แอบไปสมัครงานที่อื่นไว้บ้าง เพื่อถ่วงดุลกับความเสียใจที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะบางครั้งพอไปสัมภาษณ์เขาไม่รับเราจะทำให้เราเกิดความทุกข์หนักกว่าเงินเดือนขึ้นน้อยหรือได้โบนัสน้อย (อยู่ที่นี่ต่อไปเหอะสงสัยไปไหนไม่ได้แน่ๆยังไงเสียที่นี่ก็ยังมีเงินเดือนสูงกว่าที่ใหม่ให้เรา) ในเมื่อเราไม่สามารถกำหนดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ผมคิดว่าแนวทางหนึ่งที่คนที่เป็นลูกจ้างควรจะทำคือเตรียมตัววางแผนพัฒนาตัวเองในปีต่อไป อย่ามัวแต่เสียใจกับผลที่เราไม่ได้กำหนด วันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราเก่งจริงไม่ต้องรอถึงการปรับเงินเดือนและโบนัสตอนสิ้นปีหรอกครับ เราจะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ก็ได้(ถ้าเก่งจริง)

สรุป ก่อนถึงสิ้นปีนี้แต่ละฝ่ายคงจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับสถานการณ์การปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส องค์กรไหนกำไรเยอะและแบ่งให้พนักงานเยอะก็เตรียมสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ แต่องค์กรไหนที่ได้กำไรเยอะหรือน้อย แต่...จ่ายน้อย ก็เตรียมตัวชี้แจงและพนักงานก็เตรียมทำใจไว้นะครับ สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนในองค์กรสื่อสารทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น องค์กรใดที่มีความโปร่งใส พนักงานเข้าใจ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปลายปีนี้ทุกคนคงจะมีความสุขกันถ้วนหน้ารับปีใหม่นะครับ

“ตลาดเขาปรับค่าจ้างกันกี่เปอร์เซ็นต์” “เราจะปรับค่าจ้างประจำปีอย่างไรดีจึงจะทำให้คนทำงานดีมีกำลังใจ” “ถ้าจ่ายโบนัสแบบนี้จะมีปัญหาอะไรมั๊ย” “บริษัทอื่นๆเขาปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสกันอย่างไรบ้าง” คำถามเหล่านี้ผู้บริหารมักจะฝากเป็นการบ้านให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ทุกปีเช่นกัน
การปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัสจริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะแค่เพียงกระจายเงินก้อนหนึ่งซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด(ทุกปี) ให้ฟิตกับผลงานของพนักงานในองค์กรเท่านั้นเอง แต่พอปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสทีไรเกือบทุกองค์กรมีปัญหาทุกครั้งไป บางบริษัทถึงกับมีการประท้วงกัน ในความเป็นจริงแล้วสาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่งบการปรับค่าจ้างที่จำกัด ไม่ได้อยู่ที่โบนัสมากหรือน้อย แต่อยู่ที่วิธีการในการประเมินผลงาน การประเมินผลที่จะนำไปใช้ในการจ่ายโบนัสมากกว่า เช่น ประเมินผลโดยใช้ดุลยพินิจมากกว่าข้อมูลและข้อเท็จจริง จ่ายโบนัสตามอายุงาน อะไรทำนองนี้

ที่มา
http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104751&Ntype=10

ทำอย่างไรไม่ให้มีงานค้างมากจนเกินไป

ปัญหาที่คนทำงานมักจะเจอคือทำงานไม่ทัน งานเยอะกว่าเวลาที่มีอยู่ หรือไม่ก็มีงานเยอะเป็นช่วงๆ แน่นอนว่าการเป็นลูกจ้าง เขาจ้างเรามาเป็นลูก ดังนั้น พ่อแม่(นายจ้าง) เขาคงจะไม่จ้างเรามานั่งว่างๆอยู่ที่ทำงานแน่นอน เขาจะพยายามหางานให้เท่ากับหรือมากกว่าที่จ่ายค่าจ้างให้เราอยู่แล้ว ดังนั้น การมีงานมากจึงไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ถ้าใครไม่มีงานให้ทำซิถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ(เขาอาจจะบังคับให้เราลาออกโดยทางอ้อมก็ได้ หรือไม่ก็สะกัดกั้นการเติบโตของเราก็ได้)


ถ้าต้องการทำงานให้เสร็จทันเวลาหรือต้องการให้มีงานค้างน้อยที่สุดควรจะมีเทคนิคในการทำงานดังนี้
• จัดลำดับความสำคัญของงานทุกครั้งที่มีงานใหม่เข้ามา เพราะงานที่เรามีอยู่อาจจะสำคัญน้อยกว่า อาจจะเร่งด่วนน้อยกว่างานใหม่ที่เข้ามา ดังนั้น จึงต้องมาจัดลำดับในการทำงานกันใหม่ทุกครั้ง และควรจะแบ่งงานออกเป็น 4 กองหรือส่วนดังนี้
1. งานสำคัญมากและเร่งด่วนมาก
2. งานสำคัญมากแต่เร่งด่วนน้อย
3. งานสำคัญน้อยแต่เร่งด่วนมาก
4. งานสำคัญน้อยและเร่งด่วนน้อย
เมื่อจัดลำดับความสำคัญแล้ว ให้ลงมือทำงานโดยเริ่มทำจากงานกองที่ 1 ก่อน เมื่องานกองที่ 1 เสร็จแล้ว ค่อยทำกองที่ 2 ส่วนงานกองที่ 3 ควรจะมอบหมายให้ลูกน้องที่ทำงานเร็วทำ และงานกองที่ 4 อาจจะมอบหมายให้ลูกน้องหรือคนอื่นทำก็ได้ เพราะเสียหายหรือผิดพลาดขึ้นมาก็ไม่มีผลมากนัก เพราะเป็นงานที่สำคัญน้อย
• เลิกนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง เมื่อมีงานเข้ามาและมีเวลา จงรีบทำงานนั้นๆให้เสร็จก่อนทุกครั้ง อย่ารอ... อย่าคิดว่าจะทำ... อย่าพูดว่าเดี๋ยวค่อยทำ...อย่าคิดว่าทำแป๊บเดียวก็เสร็จ เพราะในระหว่างที่เรารีรออยู่นั้นอาจจะมีงานอื่นที่สำคัญและเร่งด่วนกว่าเข้ามาแทรก ทำให้เราไม่มีเวลาทำงานก่อนหน้านั้นเลยก็ได้ สุดท้ายก็จะกลายเป็นงานค้างงานคาหาเวลาสะสางไม่ได้
• อย่าขยายเวลาและสถานที่ทำงานเมื่อมีงานมาก ถ้าทุกครั้งที่เรามีงานมากทำไม่ทันแล้วเราทำงานเกินเวลา หรือนำงานกลับไปทำที่บ้าน รับรองได้ว่าการทำงานแบบนี้จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติ เพราะเรามักจะคิดว่าเรามีเวลาทำงานมากขึ้นมีสถานที่ทำงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าบางช่วงงานไม่เยอะ แต่เราก็ยังติดอยู่กับการทำงานเกินเวลาและเอางานไปทำที่บ้าน ยิ่งจะทำให้การทำงานของเราขาดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จงอย่าคิดว่าเวลาและสถานที่ทำงานที่ใช้เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีงานเยอะเป็นมาตรฐานในการทำงาน
• จงอย่าอวดเก่งและหวงงาน คนทำงานส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองเก่งที่สุดในการทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ และมักจะคิดว่าคนอื่นทำได้ไม่ดีเท่ากับตัวเอง คนบางคนไม่ยอมแม้จะมอบหมายงานตัวเองให้ลูกน้องช่วยทำ ถ้าเป็นเช่นนี้รับรองได้ว่าเราจะมีงานมากขึ้นๆตามระดับหน้าที่ความรับผิดชอบ เมื่อตำแหน่งสูงขึ้นงานใหม่ก็มา ส่วนงานเดิมก็ยังอยู่(เพราะไม่ยอมปล่อยให้ลูกน้อง) สุดท้ายก็เก็บไว้คนเดียว ใครที่อยากจะทำงานให้เสร็จทันเวลาและไม่มีงานค้าง ก็จงฝึกเปิดใจให้คนอื่นช่วยงาน ทำงานแทนตัวเองบ้าง และต้องยอมลำบากใจในช่วงแรกๆที่เขายังไม่เก่ง แต่ถ้ามองกันไกลๆแล้ว รับรองได้เลยว่าเราจะสบายขึ้นเยอะเมื่อลูกน้องของเราเก่งขึ้น งานบางงานไม่จำเป็นต้องมอบหมายให้ลูกน้องทำเสมอไป อาจจะให้คนในหน่วยงานอื่น อาจจะให้บุคคลภายนอกทำให้ก็ได้
สรุป ถ้าไม่ต้องการเป็นคนบ้างานประเภทบ้าหอบฟาง(งาน)กลับบ้าน ก็ต้องพยายามหาหนทางลดงานหรือเร่งทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น จะด้วยวิธีการใดก็ตาม เพราะถ้าเรายิ่งทำงานไม่เสร็จหรือมีงานค้างอยู่บ่อยๆ นอกจากจะเป็นผลเสียต่อผลงานของเราแล้ว ยังจะนำไปสู่นิสัยเสียอีกด้วยนะครับ เพราะฉะนั้น ใครที่เป็นแบบนี้อยู่จงรีบแก้ไขด่วนครับ
ที่มา
http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104768&Ntype=10

ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การที่เราจะทำการใดให้ประสบความสำเร็จได้นั้น อาจจะต้องมีแรงจูงใจมาผลักดัน

แรงจูงใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท

คือ แรงจูงใจจากภายนอกและแรงจูงใจจากภายใน แรงจูงใจจากภายนอกมีอิทธิพลต่อทรรศนะของพวกเราที่มีต่อการงาน และการเสียสละต่าง ๆ และเป็นตัวคอยกระตุ้นให้คุณพยายามเอาชนะสิ่งต่าง ๆ ในขณะที่แรงจูงใจจากภายในเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเราสนุกสนานไปกับการงานและสนุกกับชีวิตของเราเอง

ถ้าคุณเป็นคนที่มีแรงจูงใจจากภายนอกเป็นตัวกระตุ้นซะเป็นส่วนใหญ่ คุณเป็นคนมีความทะเยอทะยานเหลือเฟือมากเกินพอดีเสียจนไม่ค่อยจะยอมสนุกสนานไปกับงาน หรือคุณภาพของงานที่คุณทำ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณมีเพียงว่า คนอื่นเขาจะประเมินความสำเร็จของคุณอย่างไร คุณเป็นคนที่ใช้เวลากับการทำงานมาก แต่ไม่ค่อยจะมีสมาธิในการทำงานสักเท่าไร เพราะคุณมีอันใช้เวลาเที่ยววิเคราะห์เรื่องราวความเป็นไปภายในที่ทำงานซะเป็นส่วนใหญ่ และก็มีคนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีแรงจูงใจจากภายในสูง หากคุณเป็นคนประเภทนี้ คุณจะรักงานของคุณ และไม่ค่อยแคร์ว่าคนอื่นเขาจะสนใจว่าคุณประสบความสำเร็จหรือไม่ ตัวคุณเองนั่นแหละที่เป็นคนประทับใจในผลงานของคุณ คุณไม่สนใจคำสรรเสริญเยินยอ แถมไม่สนใจจะแข่งขัน คุณไม่วางกลยุทธ์ระยะยาว แต่คุณจะพยายามต่อสู้เพื่อแสวงหาความท้าทายและความสนใจส่วนตัว ไม่ใส่ใจในเวลาที่คุณเสียสละใช้เพื่อนการงาน เพราะคุณสนุกสนานไปซะหมดกับสิ่งที่คุณทำอยู่

การแข่งขัน 3 รูปแบบ

- การแข่งขันเชิงรุก จุดประสงค์หลักที่ทำให้คนเรารุกบุกหน้า ก็เพื่อให้ตนเองก้าวล้ำนำหน้าคนอื่น ๆ แต่ความรู้สึกนี้จะจางหายไปได้ค่อนข้างจะเร็ว ใครก็ตามที่ตั้งใจแน่วแน่จะเอาชนะผู้ร่วมงานคนอื่นมักจะประสบความสำเร็จด้อยกว่า ความสำเร็จที่ว่านี้เขาวัดกันที่ตำแหน่งหน้าที่การงานเงินเดือน และการได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การต่อสู้แข่งขันเป็นตัวบ่งบอกลักษณะของคุณได้ ว่ากันว่าคนที่รักการแข่งขันเชิงรุก เป็นคนลึกลับ ไม่ไว้ใจคนอื่น ยักย้ายถ่ายเท และคอยคิดแต่จะเอาชนะมากกว่าที่จะตั้งใจทำงานของตัวเอง หรือร่วมงานกับคนอื่น แต่มันก็มีผลเสียตรงที่ความอยากจะเอาชนะกลับกลายเป็นตัวบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนอื่น

- การแข่งขันเชิงรับ จะเป็นรูปแบบการป้องกันตัวเองมากกว่าเที่ยวไปรุกรานชาวบ้านเขา รูปแบบนี้จะเป็นตัวจูงใจให้คุณประพฤติตัวเพื่อหวังผลเลิศ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันตัวคุณจากการถูกคนอื่นมาโจมตี แถมยังทำให้คุณคอยจับตามอง และเฝ้าระวังคู่ต่อสู้ ตลอดจนเรียนรู้ว่าคู่ต่อสู้ของคุณนั้นเขาทำอะไรกันอยู่บ้าง ทำให้คุณมีสายตาที่กว้างไกล แต่ถ้าจะมองกันในทางลบแล้ว การแข่งขันเชิงรับอาจเปลี่ยนเป็นความอิจฉาริษยา เมื่อใดก็ตามที่สภาพการงานของคุณคลอนแคลน หรือโดนคนอื่นก้าวล้ำหน้าไป กรณีนี้เกิดขึ้นได้กับคนที่อยากจะเอาแต่ชนะท่าเดียว

- การแข่งขันต่อสู้จากภายใน การแข่งขันนี้เป็นแรงจากภายในตัวคุณที่คอยผลักให้คุณดำเนินการใด ๆ ไปได้ แต่ความสนใจที่คุณมีต่อสิ่งใด ๆ นี้จะหมดไปในเวลาไม่นานนัก แรงจูงใจจากการแข่งขันนี้ทำให้คุณทำงานยากเย็นใด ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติของคุณที่มีต่อการงานชิ้นนั้นด้วย

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรเปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ขณะคุณโดนแรงแข่งขันพาคุณลิ่วสู้การงาน คุณอาจไม่ยอมรับคำแนะนำต่าง ๆ ของคนอื่น หรืออีกทีคุณอาจไม่ยอมรับความร่วมมือใด ๆ จะทำให้คุณได้ข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็นจากคนอื่นเขา ซึ่งจะช่วยเสริมให้คุณบรรลุเป้าหมายของคุณเองได้ รวมทั้งของคนอื่นด้วยยังไงล่ะ

คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน

ฤดูกาลนี้นอกจากจะเป็นห้วงเวลาปรับเปลี่ยน ผ่องถ่ายอำนาจทางการเมืองแล้ว ยังมีความสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าทำงานตามบริษัทห้างร้านต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาที่กำลังสำเร็จการเรียนจากสถาบันการศึกษาต่างๆ

"สามก๊ก" ฉบับที่ผู้เขียนเคยนำมาเผยแพร่เป็นตอนๆ ในคอลัมน์นี้ มีตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับเล่าปี่ และโอวาทที่เขาได้ให้กับนิสิตนักศึกษาของวิทยาลัยพาณิชย์ "ตงอู๋" ในพิธีปัจฉิมนิเทศก์ ซึ่งเล่าปี่ได้เน้นประเด็นเกี่ยวกับ "การเมืองในสำนักงาน" อันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดต่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าของพนักงานในบริษัท
ตามบันทึกการบรรยายในวันนั้น ปรากฏว่ามีนักศึกษาชื่อ โลซก และจิวยี่ ร่วมฟังอยู่ด้วย
เล่าปี่ได้ใช้ประสบการณ์ของตนเองในบู๊ลิ้มบรรยายให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการพัฒนาตนเองเป็น "ตุ๊กตาล้มลุก" ในสถานที่ทำงาน โดยอ้างอิงตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ศิลปดังกล่าว เช่น โจโฉ ตั๋งโต๊ะ และแม้แต่ตนเอง
เคล็ดลับความสำเร็จในสถานที่ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ "วัฒนธรรมของการทำงาน" อันประกอบด้วยพฤติกรรมของพนักงานภายใต้สี่หัวข้อใหญ่
ก.ข้อเตือนสติห้าประการ
เล่าปี่ชี้ให้เห็นว่า ในชีวิตประจำวันของพนักงานในบริษัทมักจะต้องเผชิญกับ "เรื่องขี้ประติ๋ว" กล่าวคือเรื่องหยุมหยิม ซึ่งมีผลในทางลบ เปรียบเสมือนจุดดำจุดหนึ่งบนกระดาษสีขาวที่สามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่องานรับผิดชอบ และอาจนำไปสู่การถูกพิจารณาให้ออกจากงานได้
เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว เล่าปี่ได้เสนอข้อเตือนสติห้าประการให้นักศึกษาพิจารณาคือ :-
1.อย่าพูดหรือฟังเรื่องไร้สาระระหว่างทำงาน ซึ่งจะทำให้คนอื่นเข้าใจไปว่าทั้งผู้พูดและผู้ฟังต่างว่าง ไม่มีงานทำ

2.อย่าเกียจคร้าน โดยต่อหน้าผู้บังคับบัญชาก็ทำเสมือนขยันหมั่นเพียร แต่ลับหลังกลับกลายเป็นคนละคน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ย่อมจะถูกจับได้ ไม่ช้าก็เร็ว
3.อย่านำเอาทรัพย์สินของบริษัทติดตัวกลับบ้านไป ไม่ว่าสิ่งของนั้นจะใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม การไม่ยักยอกสิ่งของเล็กน้อยเป็นการสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่ตนเอง(ซึ่งจะได้รับการตอบแทนจากบริษัทอย่างสมเกียรติในที่สุด) และไม่เสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงหรือเกียรติประวัติของตน
4.อย่าแต่งตัวแต่งกายนอกรูปแบบ การที่สุภาพสตรีแต่งกางเกงยีนส์ หรือสุภาพบุรุษรวบผมหางม้า เท่ากับสร้างบรรยากาศที่ไม่เข้ากับสถานที่ทำงาน หรือสร้างบรรยากาศที่แจ่มใสงดงาม แต่ทำลายเอกภาพของที่ทำงานด้วย
5.อย่าใช้เวลาทำงานไปทำเรื่องส่วนตัว เช่น ไปซื้อเสื้อผ้า เสริมสวย ตัดผม เป็นต้น
เล่าปี่สรุปว่า ไม่มีผู้บังคับบัญชาหรือเถ้าแก่คนไหนจะชอบเห็นพนักงานของตนละเมิดข้อเตือนสติทั้ง 5 ประการดังกล่าว พร้อมตบท้ายว่า "ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปในเวลาที่สำคัญหรือคนสำคัญในยามปกติ ก็สามารถเลี่ยงการกระทำสิ่งไร้สาระ"
เล่าปี่ให้โอวาทนักศึกษาต่อไปว่า พนักงานต้องตระหนักว่าแท้จริงแล้วทุกคนทำงานเพื่อตนเอง หามิใช่เพื่อเจ้าของหรือคนอื่นในบริษัท(แม้ว่างานที่ตนทำนั้นคนอื่นจะแบ่งปันหรือสั่งให้ทำก็ตาม) ฉะนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องเตรียมอาวุธประจำตัวห้าชนิดดังต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม
ข.อาวุธประจำตัวห้าชนิด
1.กล้ารับผิดชอบ พนักงานส่วนมากคิดแค่รับผิดชอบเฉพาะในสิ่งที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติ โดยหารู้ไม่ว่าทรรศนะดังกล่าวไม่ช่วยให้ตนได้รับการพิจารณาในตำแหน่งรับผิดชอบที่สูงขึ้น เล่าปี่อธิบายเพิ่มเติมว่า "ความกล้าในการรับผิดชอบ" ไม่ใช่ "การรับผิดชอบที่ไร้สติ" แต่เป็นการเข้าใจเกี่ยวกับ "การรับผิดชอบต่อตัวเอง"
2.สามารถค้นพบความสุขในการทำงาน ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่มาจากประสบการณ์ในการทำงาน พนักงานต้องไม่ทำหน้าเศร้าหมองในการปฏิบัติ ซึ่งมีผลทางลบต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้ การเข้าใจความหมายของงานที่ได้รับมอบหมายจะช่วยทำให้รู้ซึ้งถึงความเหมาะสมของตน ต่องานนั้นๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขได้
3.แม้งานที่ตนชอบทำอาจยากลำบาก แต่ทรรศนะของตนต่องานนั้นจะช่วยการต่อสู้หรือเผชิญหน้ากับความยากดังกล่าว นี่ก็คือการพัฒนาทัศนคติที่สร้างสรรค์ เพื่อเผชิญหน้ากับการท้าทายต่างๆ ทัศนคติดังกล่าวจะนำไปสู่การเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาและความไม่หวาดผวาต่อการท้าทายต่างๆ
4.สร้างจิตสำนึกแห่งเอกภาพที่เข้มแข็ง เล่าปี่ได้ยกตัวอย่างการผนึกกำลังระหว่างตัวเขา กวนอู กับเตียวหุย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อความสำเร็จแห่งการสร้างอาณาจักรของตน
5.ปลูกฝังนิสัยการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต เล่าปี่เตือนสติผู้ฟังว่า บางบริษัทได้ออกคำเตือนถึงพนักงานว่า "หากไม่เปลี่ยนสมองก็ต้องเปลี่ยนคน" ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์แห่งการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นนั้น "ตลาดสามารถทอดทิ้งบริษัท และบริษัทก็สามารถทอดทิ้งพนักงาน" ดังนั้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง พนักงานจึงต้องปรับปรุงเรียนวิชาการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ค.การจัดการกับประเภทบุคคลปัญหาในที่ทำงาน
เล่าปี่บรรยายต่อไปว่า ความสำเร็จในการทำงานยังต้องอาศัยมนุษยสัมพันธ์ที่ได้ผล เล่าปี่ได้ให้ตัวอย่างลักษณะการร่วมงานกับคนอื่นในสถานที่ทำงานที่อาจต้องเผชิญหน้ากับปัญหา ดังนี้
1.มีพวกที่ชอบซุบซิบนินทาใส่ความ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในกรณีนี้จะต้องพยายามปิดปาก ให้ความสำคัญความน่าเชื่อถือต่อคำพูดในหมู่เพื่อนร่วมงาน
2.มีพวกช่างบ่น ชอบแสดงความไม่พอใจ ในสภาพการณ์เช่นนี้ พนักงานต้องปรับจิตใจของตนรับฟังคำบ่นบ้าง แต่พยายามอย่าทำตัวเป็นคนขี้บ่น สร้างความรำคาญให้กับคนอื่น
3.มีพวกชอบแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทั้งๆ ที่ตนเองรู้เพียงผิวๆ เผินๆ (พวก "น้ำส้มสายชูครึ่งขวด" (ป้านผิงชู่)) บุคคลเหล่านี้พยายามสร้างความประทับใจโดยแทรกตัวเองเข้าไปทุกเรื่อง วิธีแก้คือพยายามหุบปาก และใช้เวลาไปแสวงหาข้อเท็จจริงแทน การค้นพบความจริงโดยเอาเวลาจากการไปพูดแทรกที่อื่นจะทำให้เกิดการวางตัวที่ดีขึ้น บุคคลจำพวกนี้ต้องตระหนักว่าการไม่แสดงว่าตนรู้ (ทั้งๆ ที่ไม่รู้แท้จริง) ไม่ได้หมายความว่าจะสูญเสีย ความเคารพหรือความเชื่อถือไป
4.พวกที่เอาใจเบื้องบนแต่ดูถูกรังแกเบื้องล่าง (พวก "ตบตูดม้า" (ไพหม่าพี่)) สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า "คนจริงไม่เปิดโปงโฉมหน้าที่แท้จริง" ต้องหัดมองและปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานในระดับเท่าเทียมกัน
5.พวก "นางสุนัขจิ้งจอก" (หูหลีจิง) ซึ่งสถานที่ทำงานไม่ควรเป็นสถานที่แสดงมารยาร้อยเล่มเกวียน

10 อุปนิสัยที่ไม่ควรแสดงในที่ทำงาน
ทำอย่างไรเมื่อคุณไม่มีความสุขในการทำงาน
หลักคิด คติพจน์และปรัชญาในการทำงาน

ผู้เีขียน : สารสิน วีระผล
ที่มา : คอลัมน์ คลื่นความคิด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548
http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538767074&Ntype=121

15วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ

เงินแต่ละบาท กว่าจะหามาได้ ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ
ได้มาแล้ว ต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานาน เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น

1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย
แค 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้

2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล
แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน

3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์
แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน
เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้
(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )

4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด
อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ
ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ

5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค
ใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี

6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน
พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก

7. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ
ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต

8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม
ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ

9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ

10. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ

11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัล
ที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้

12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า)
ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ

13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)

14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่

15. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น
เมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่ง
พาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ

ที่มา - deedeejung.com

การตั้งเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ

* การกำหนดเป้าหมาย
เราควรจะกำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจนว่าอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้า
เราต้องการจะ "เป็นอะไร" "มีอะไร" มากน้อยเพียงใด และควรจะมีการทบทวนเป้าหมายเป็นระยะๆ เช่น
ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี เพราะเป้าหมายคือ จุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์
และสิ่งที่เราจะต้องทำการกำหนดเป้าหมายจะต้องมีความท้าทาย ไม่ใช่ง่ายหรือยากจนเกินไป
เพราะเป้าหมายที่ท้าทายนอกจากจะมีความหมายต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราแล้ว
ยังเป็นบ่อเกิดแห่งความภูมิใจในอนาคตด้วยหลังจากที่เราบรรลุหรือถึงแม้จะไม่บรรลุเป้าหมายก็ตาม
ถ้าเป้าหมายของเราง่ายจนเกินไป เมื่อเราบรรลุเป้าหมายแล้ว เราจะไม่มีความภูมิใจอะไรหลงเหลืออยู่เลย เช่น
ถ้ามีใครมาบอกเราว่า ถ้ามีเวลาให้เรา 1 ปีในการฝึกซ้อมเพื่อไปวิ่งแข่ง 100 เมตร โดยให้เราเลือกว่า
เราจะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกหรือแชมป์นักเรียนอนุบาล เราคิดว่าเราจะเลือกไปวิ่งแข่งกับใคร
แน่นอนทุกคนคงจะเลือกที่จะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกอย่างแน่นอน
เพราะถึงแม้จะแพ้ก็ยังมีความภาคภูมิใจกว่าชนะเด็กอนุบาล


* สร้างแรงจูงใจ
ในระยะสั้นเราอาจจะสร้างแรงจูงใจโดยใช้ปัจจัยภายนอกก่อนก็ได้ เช่น
ขยันทำงานเพราะต้องการเงิน เพราะต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
แรงจูงใจภายนอกจะเป็นแรงจูงใจในระยะสั้นได้ค่อนข้างดี
แต่แรงจูงใจนี้จะไม่จีรังยั่งยืน มันจะลดระดับความรุนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องดูอื่นไกลให้ดูว่า
เวลามีการปรับเงินเดือนประจำปี คนจะมีไฟในการทำงานเพียงเดือนสองเดือนที่ได้เงินเดือนใหม่
พอเวลาผ่านไปหลายๆเดือนเงินเดือนใหม่ที่ได้ไม่ถือเป็นแรงจูงใจอีกต่อไป

แรงจูงใจที่จะอยู่กับเรานานและพลังงานไม่มีวันหมดคือแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองภายใน เช่น
แรงจูงใจที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตที่เกิดจากแรงบันดาลใจบางสิ่งบางอย่าง
คนบางคนแรงจูงใจอยู่ที่ได้ทำงานที่ตัวเองชอบ คนบางคนมีแรงจูงใจที่เกิดจากความยากลำบากในชีวิต


สรุป การที่เราจะนำพาชีวิตไปขึ้นแท่นแห่งความสำเร็จนั้น
สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่เราได้กำหนดเป้าหมายชีวิตได้ถูกต้องและชัดเจนมากน้อยเพียงใด เป้าหมายมีความท้าทายหรือไม่
นอกจากนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างพลังงานขับเคลื่อนชีวิตไปสู่เป้าหมาย
โดยการสร้างแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน
ถ้าต้องการเพิ่มระดับความแรงของแรงจูงใจขึ้นไปอีก อาจจะต้องสร้างพันธสัญญาโดยการบอกับคนรอบข้างว่า
เป้าหมายในชีวิตเราคืออะไร เพราะพันธสัญญานี้คือแรงจูงใจ(เชิงบังคับ) ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เราลด ละ
หรือเลิกล้มความตั้งใจที่จะไปสู่เป้าหมายที่ได้ให้สัญญาไว้ได้นะครับ

" สูตรความสำเร็จของชีวิต = ความท้าทายของเป้าหมาย x ระดับแรงจูงใจ"

ที่มา
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=07-2009&date=16&group=27&gblog=167

Working SMART (การทำงานอย่างชาญฉลาด)

Working SMART (การทำงานอย่างชาญฉลาด)

การประสบความสำเร็จในงานไม่ได้อยู่ที่คุณทำงานหนักเพียงใด แต่อยู่ที่คุณทำงานได้อย่างชาญฉลาด หรือ smart แค่ไหน ....อย่าแค่พยายามทำตัวให้ busy ตลอดเวลา เหมือนกับมดที่มันวิ่งวุ่นๆ แต่ควรจะรู้ว่าคุณกำลัง busy อยู่กับเรื่องอะไร

การจัดสรรเวลาการทำงานคนเราอาจจะจัดได้ 5 สไตล์ ลองดูสิว่าเราอยู่ประเภทไหน

1. ทำสิ่งที่เร่งด่วน หรือเสียงดัง ก่อน ... (Urgent-Loud things first)
ในชีวิตการทำงานของเรา เราก็ต้องเจอเสียง complaint หรือ request ต่างๆที่เข้ามาซึ่งแต่ละเรื่องก็บอกว่าเป็นเรื่องด่วนๆทั้งนั้น หรือเป็นเรื่องที่มาจากคนที่มีเสียงดัง บางอย่างก็เป็นเรื่องเร่งด่วนจริงที่เราควรให้เวลากับมัน แต่บ่อยครั้งมันก็ไม่ด่วนจริง .....ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า เรื่องใดที่เราสมควรให้เวลากับมัน เรื่องใดที่คนอื่นสามารถทำได้ หรือ เรื่องใดที่ไม่ว่าให้เวลากับมันเท่าไรก็ไม่เกิดประโยชน์...แยกแยะให้ได้ว่าเรื่องใดด่วนจริง หรือ ไม่ด่วนจริง

2. ทำสิ่งยากๆ ก่อน (Unpleasant – Hard things first)
บางครั้งคนเราก็มีเหตุจูงใจที่คิดว่าการทำงานยากๆก่อน เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือท้าทาย ดังนั้นธรรมชาติของคนนั้นก็คือจะนำสิ่งที่ยากไว้อยู่บนสุดของ list งานที่ต้องทำ แต่ ก่อนที่จะเริ่มทำงานยากๆนั้น ให้คิดถึง value ของสิ่งนั้นก่อน ถ้าเราพบว่า การที่เราไปทำงานที่ง่ายกว่าก่อนนั้นเป็นการใช้เวลาของเราที่คุ้มค่ากว่าก็ทำสิ่งนั้นเถอะ อย่าพึ่งไปจมอยู่กับงานยากๆเลย

3. ทำสิ่งที่ยังค้างคาก่อน (Unfinished – Last things first)
ถ้าคนเราทำงานแบบ day-to-day schedule เราก็จะพบว่างานใน list หางว่าว ส่วนใหญ่นั้นได้ทำไปแล้ว จะเหลือเพียงงานส่วนน้อยที่อยู่ท้ายๆ ที่อาจจะยังไม่ได้ทำ เช่น มีงานที่ต้องทำ 10 อย่าง วันนี้ทำไปแล้ว 8 อย่าง เหลืออีก 2 อย่างที่ไท้ได้ทำในวันนี้ ...เราจะทำอย่างไรดี…………..

แนวโน้มก็คือ คนเราจะเอา 2 งานที่เหลือไปทำก่อนอื่นๆในวันรุ่งขึ้น ....ซึ่งบางครั้งมันไม่ใช่วิธีการใช้เวลาที่ดีที่สุด ..............สาเหตุเพราะ สิ่งที่อยู่ท้ายๆของ list ที่ไม่ได้เป็น top priority ของวันนี้ ที่เราไม่ได้ทำก็ไม่น่าจะเป็น top priority ในวันถัดไป ...ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำงานที่ค้างคาอยู่ ให้ compare priority กับงานที่ต้องทำใหม่อีกทีหนึ่งว่าสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ....ถ้าไม่สำคัญ ก็ใส่ต่อท้าย list ไปว่าเป็นงานที่ควรทำท้ายๆ อีก ........ แล้วเราไปทำงานที่สำคัญกว่าก่อน

4. ทำสิ่งที่ไม่ต้องใช้สมองก่อน (Unfulfilling – Dull things first)
ในบรรดา 5 style นั้น แบบนี้อาจจะเป็นแบบที่คนทั่วไปใช้เวลา ก็คือ การทำงานง่ายๆ ที่ไม่ค่อยได้ใช้สมองมากนัก หรืองานน่าเบื่อ ก่อนที่จะเริ่มทำงานสำคัญๆ เช่น อ่านอีเมล์ , ส่ง fax , หรือ copy เอกสาร ...ถึงแม้ว่างานเหล่านี้เป็นงานที่ต้องทำ แต่มันก็ไม่น่าจะเป็นงานที่มี priority สูง....

เค้ากล่าวว่า เหตุผลที่เป้าหมายหลักๆไม่บรรลุ ก็เพราะคนเราไปเสียเวลาทำสิ่งที่สมควรทำทีหลังก่อน แทนที่จะกระโดดเข้าไปทำงานที่สำคัญที่สุดก่อน

5. ทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน (Ultimate – First thing first)
โดยปกติพวกเราใช้เวลาให้กับสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนหรือไม่...............
ไม่ว่าเราจะทำมันก่อน ทำอันดับสอง หรือทำมันในอันดับสุดท้าย ....ไม่ว่าเวลาไหนก็ตามที่เราทำ มันก็สำเร็จได้ด้วยเรา ……….
ขอให้เราทุกคน มุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะให้เวลาที่ดีที่สุดของเราตั้งแต่บัดนี้และในอนาคต กับงานที่สำคัญที่สุดก่อน

ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูดีน่าชมเชยในการที่เราขยันขันแข็งและทำงานหนัก hard working ….แต่การทำงานอย่าง smart เป็นสิ่งที่น่าจะดีกว่า ...........
การที่เราจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่อยู่ที่การที่เรา check งานใน list ว่าเราทำครบ check list ในแต่ละวันหรือยัง .........
เราจัดลำดับความสำคัญของเวลาของเรา เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายสำคัญของงานเรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย Dr. John C. Maxwell
ที่มา : http://coachlikeapro.tripod.com/basketball/id70.html

Friday, October 8, 2010

เรียนรู้ที่จะคิด สร้างผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/2007-10-26-seminar-kon-kaen

จัดการขยะ

ที่มา
http://gotoknow.org/blog/pranee-board/76314

จัดการขยะที่ดีที่สุด จะต้องไม่นำขยะออกจากบ้าน โดยที่ยังไม่ได้จัดการกับขยะให้ถึงที่สุด ที่สำคัญคือตัวเราร่วมกันสร้างสำนึก ในการคัดแยกขยะ มีข้อปฏิบัติเพื่อการกำจัดขยะด้วยตนเองทีทำได้ง่าย ดังนี้

1. การลดการใช้ ( Reduce ) เช่น เวลาทีเราไปตลาดก็ใช้ตะกร้าหรือกระเป๋าผ้าไปจ่ายตลาด การใช้ปิ่นโตห่อข้าว แทนถุงพลาสติก ก็ดูน่ารักไปอีกแบบ

2. การใช้ซ้ำ ( Reuse )เช่น แยกถุงพลาสติกที่ไม่สกปรกมาใช้ได้อีก กระดาษทีใช้น่าเดียวก็นำมาใช้ทั้ง 2 ด้าน

3. การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม ( Refill ) ได้แก่ เครื่องสำอางค์ น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ช่วยลดทรัพยากรในการผลิตได้ด้วย แถมราคาถูก

4. การซ่อมแซมเพื่อใช้ใหม่ ( Repair ) เช่นเสื้อผ้า โด๊ะ เตียง แทนการซื้อใหม่ ที่สำคัญช่วยประหยัดได้ด้วย

5. เลือกใช้วัสดุที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ( Return ) เช่น เครื่องดื่มที่สามารถแลกคืนขวดได้

6. การรีไซเคิล ( Recycle )เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านร้านรับซื้อของเก่า อาจนำไปแลกไข่ได้ บางครั้งขายได้เงิน ซึ่งก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวทาวหนึ่ง

7. การหยุดยั้งหลีกเลี่ยง ( Reject ) จากวัสดุที่ย่อยยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ถ่านไฟฉายเลือกแบบชาร์ตไฟได้ก็ดีเยี่มเลย

ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ลองนำไปใช้กับตนเองก่อน แล้วบอกต่อเล่าสู้กันฟัง จาก 1 คนก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่กับเราไปนานๆๆ

7 ' R

ที่มา
http://ptjsw.blogspot.com/2009/08/blog-post_05.html

โดยยึดหลัก 7 R ในการ เตรียมตัวรับการวิพากย์ ของคณะกรรมการ คือ
7 R ในการวิพากย์งานวิจัย ประกอบด้วย
1. Research Idea
2. Research Problem
3. Research Question
4. Research Objective
5. Research Design
6. Research Framework
7. Research Title
ส่วนใครที่ทำเรื่องวิจัยเชิงคุณภาพ การวิพากย์ งานวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องที่นี่ คุณ มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขาเสนอไว้เป็นวิทยาทานให้กับทุกคน

http://gotoknow.org/blog/phddiary/96953

เรื่อง วิธีวิพากษ์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (1) เธอเขียนสรุปย่อๆได้ดังนี้

คนที่ไม่ได้ทำงานวิจัยด้านนี้ ไม่เคยเรียนด้านนี้มาเลยก็น่าจะได้ประโยชน์จากบันทึกนี้ค่ะ จุดประสงค์ของบันทึกนี้คือการทำหน้าที่เป็น "โพย" ค่ะ ผู้เขียนจะ list เป็นข้อๆไปว่า เวลาอ่านบทความวิจัยเชิงคุณภาพนั่นควรคิดถามอะไรตัวเองในใจไปด้วย บทความแบบไหนเป็นประโยชน์ (usefulness) แบบไหนน่าเชื่อถือ (credibility)
1. คำถามวิจัย/จุดประสงค์งานวิจัยฟังดูมีเหตุผล มากพอที่ควรจะเสียเวลาเสียทรัพยากรมาหาคำตอบหรือไม่ งานนี้เป็นการเติมเต็มให้ gap of knowledge ได้จริงหรือไม่นั่นเอง

2. คำถามแบบนี้เหมะสมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรึเปล่า

3. อธิบายว่าเป็นงานเชิงวิจัยประเภทไหน เช่น เป็น phenomenology, ethnography, case study, grounded theory, action research, participatory action research ฯลฯ (เอาวิธีมาผสมผสานกันก็ได้ค่ะ แถมแต่ละแบบก็มีโรงเรียนย่อยไปอีก เช่น traditional ethnography, interpretive ethnography เป็นต้น)

4. นักวิจัยมีีกรอบแนวคิดเบื้องหลังงานนี้อย่างไร บ้าง มีการแสดงออกอย่างชัดเจนในจุดยืนของเขาว่ามีความเชื่อเรื่อง epistemology อย่างไร เช่น เขาใช้แนวคิดแบบ post-postivisit หรือ critical theorist หรือ post-modernist นอกจากนั้นยังมีมุมมองในเรื่องนั่นๆอย่างไร ต้องประกาศออกมาให้ชัดเจน เช่น เป็น feminist ทำงานวิจัยเรื่องสิทธิสตรี หรือ เป็นหมอทำงานวิจัยเรื่องสิทธิของคนไข้ เป็นต้น คนอ่านจะได้รู้ว่านักวิจัยมาจากมุมมองไหน (เพราะงานวิจัยเชิงคุณภาพเชื่อว่า เราไม่มีทางกำจัด bias ได้ นักวิจัยทุกคนมี preconception ในเรื่องที่กำลังศึกษา เราไม่ควรเสแสร้งพยายามจะกำจัด bias แต่ควรประกาศให้รู้แต่เนิ่นๆไปเลยว่าคิดยังไง ให้คนอ่านวิพาษ์เอง)

5. มีวิธีเก็บข้อมูลกี่วิธี อะไรบ้าง (individual interview, focused group discussion, observation, document analysis ฯลฯ) ถ้ามีหลายวิธี นักวิจัยได้นำข้อมูลจากแต่ละแหล่ง แต่ละเวลามาเทียบกันหรือไม่ (triangulation) ถ้าใช่งานก็น่าเชื่อถือมากขึ้น (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่จุดประสงค์การวิจัยค่ะ บางกรณีแค่สัมภาษณ์คนเดียวแต่ได้ข้อมูลลึกซึ้ง นำมาเขียนเป็นอัตชีวประวัติก็มีประโยชน์มากมาย กว่างานวิจัยที่ส่งใบสอบถามหาคนเป็นพันๆได้)

6. มีเกณฑ์การเลือก สถานที่ เลือก participant หรือ เลือกกรณีศึกษา อย่างไร (เช่น snowball sampling, theoretical sampling, typical case sampling, extreme case sampling, opportunistic sampling ฯลฯ) ไม้ต้องมองหาว่า random sampling หรือ มีจำนวน subject สูงค่ะ แต่ต้องดูว่า ที่เลือกมาเนี่ยะเหมาะสมกับคำถามวิจัยหรือไม่ แล้วคนๆนั้น หรือ กรณีนั้นๆ หรือ องค์กรนั้นๆ มีข้อมูลที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหานั้นๆมากขึ้น ลึกซึ้งขึ้นหรือไม่

7. ถ้าใช้การสังเกตการณ์ (observation) ให้ดูว่าใช้วิธีไหน แบบมีส่วนร่วมหรือไม่มีหรือกึ่งๆ

8. การเก็บข้อมูลมี follow-up interview, member check หรือ participant validation ไม๊ คืิอ มีการเอาผลวิจัยขั้นต้นกลับไปให้ participant ดูหรือไม่ participant ได้มีโอกาสชี้แจ้งหรือวิจารณ์ผลหรือไม่

9. มีการจัดการกับข้อมูลอย่างไร
• 9.1 ถอดเทปแบบไหน เช่น ถอดคำต่อคำ ถอดแบบละเอียดยิบ คือ คนตอบหยุดเงียบไป ก็ให้บันทึกไว้ด้วย เราจะวิเคราะห์ได้ว่าคนตอบลังเล ในงานวิจัยด้านนิติศาสตร์ หรือ ภาษาศาสตร์ นั้นบางครั้งจำเป็นมาที่ต้องเก็บรายละเอียดเหล่านี้ไว้ให้หมด (ใน transcript จะใช้จุดๆ "......" 6 จุดแปลว่าหยุดเงียบไป 6 วินาทีเป็นต้น) แต่งานวิจัยโดยทั่วไปจะถอดเทปแบบ verbatim ค่ะ อย่างมากก็มีการบันทึก non-verbal gestures ด้วย
• 9.2 field note บันทึกอะไรไว้บ้าง
• 9.3 ข้อมูลที่เป็นความลับ เก็บไว้อย่างไร มีล็อค หรือมี keyword หรือไม่ เช่น ข้อมูลเรื่องชื่อคนที่เราสัมภาษณ์ถูกเก็บเป็นความลับหรือไม่ ถ้าเราให้ confidentiality แก่ participant มาก participant อาจเปิดใจคุยมากกว่า

10. งานนี้ผ่าน ethical approval หรือไม่ participants มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ เรื่องที่วิจัยsensitiveไม๊ เช่น การสัมภาษณ์คนไข้ที่โดนข่มขืนมา เราก็ต้องดูลึกลงไปว่าคำถามท่ี
่สัมภาษณ์ กระทบกระเทือนจิตใจคนไข้ไม๊ เป็นต้น ถ้างานนี้ผ่านคณะกรรมการด้าน ethic แล้วก็น่าเชื่อถือมากกว่างานที่ไม่กล่าวถึง ethic งานวิจัย

11. วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร (open coding หรือ framework coding) มีผู้วิเคราะห์กี่คน ใช้ computer software อะไรช่วยด้วยหรือไม่ แล้ววิเคระห์พวก deviant case ด้วยหรือไม (ถ้ามีจึงดี)

12. การนำเสนอข้อมูลอย่างไร เป็น theme เป็น category เป็น model อ่านแล้วเข้าใจง่ายไม๊ make senseไม๊ มีlogical flowไม๊ ตอบคำถามวิจัยไม๊ ถ้าเป็นกรณีศึกษาก็ดูว่าบรรยายละเอียดไม๊ มีการบรรยายบริบทของงานหรือไม่ แล้วเป็นแค่การรายงานผลว่า participantพูดอะไร หรือเป็นการวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก (ยิ่งลึกยิ่งดี)

13. มีการเขียน implication for policy หรือ implication for practice หรือไม่ คนอ่านจะนำความรู้ไปใช้ต่อได้อย่างไร (transferability)

14. มีการวิพากษ์จุดอ่อนของตัวเอง
เหล่านี้คือตัวอย่างการวิจารณ์ค่ะ อาจมีไม่ครบทุกข้อก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ

15. ผลงานวิจัยนี้ทำประโยชน์อะไรให้แก่วงการ

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ” โดย นางสาววนิษา เรซ

ที่มา
http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/2007-11-29-seminar03-4/


สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ” โดย นางสาววนิษา เรซ ในการสัมมนาเครือข่ายสัมพันธ์ครั้งที่ 2 “เตรียมคนไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นนทบุรี



ภารกิจหลักของสมองที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่สมองอยู่ในร่างกายนั้น สมองของมนุษย์มีคนละ 1 ก้อน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้

- ส่วนคิด ส่วนเปลือกสมองใหม่ อยู่ตรงส่วนท้ายทอยเติบโตมาช้าที่สุด เก็บข้อมูลที่เป็นความทรงจำระยะยาวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นมนุษย์ บุคลิกภาพ การทำงาน การวางแผนระยะยาว ลิงชิมแปนซีซึ่งมีดีเอ็นเอซ้ำกับมนุษย์ถึง 99.5 % ก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

- ส่วนอารมณ์ อยู่ในเปลือกสมองใหม่ มีองค์ประกอบเยอะมาก เป็นชิ้นเล็กๆ เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมอารมณ์ทุกชนิด ดีใจ โกรธ เศร้า มีความหวัง มีความทุกข์ ความสุข ทำงานไม่มีวันหยุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

- ส่วนอัตโนมัติ ก้านสมองต่อจากระดูกสันหลัง ดูแลเรื่องระบบอัตโนมัติ เราควบคุมไม่ได้เพราะเขาทำงานเอง เช่นการ หายใจ การสูบฉีดโลกหิต ระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย จะอยู่ในนี้ สัตว์เลื้อยคลานก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

ความจำระยะสั้น

เมื่อเราลืมตาตื่นขึ้นมาสมองส่วนทีเก็บความจำระยะสั้นก็จะเริ่มทำงานเ ก็บข้อมูลช่วงสั้น 30 วินาทีต่อเนื่องทั้งวัน เก็บข้อมูลได้ครั้ง 3-7 ข้อมูล หากเกินกว่า 30 วินาที เราจะจำไม่ได้ เราก็ต้องจด สมองนี้อยู่ในส่วนคิด และจะถูกปิดทันทีเมื่อระบบหลัก คือการเอาชีวิตรอดทำงาน
Amygdala

สมองส่วนนี้มีลักษณะเหมือนเมล็ดอัลมอนด์ จะอยู่นิ่งๆ ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการเอาตัวรอด ประเมินสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีลักษณะที่คุกคาม ประเมินทางจิตวิทยา ที่อาจจะเป็นอันตรายกับชีวิตได้ เมื่อพบแล้วจะมีปรากฏการณ์ อามิดาลาไฮแจ็ค เกิดขึ้นในสมองส่วนอื่นๆเพื่อหยุดกระบวนการคิด และเกิดกระบวนการเอาตัวรอด สภาพร่างกายจะอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะหนีหรือต่อสู้ สารเคมีในการต่อสู้หลั่งออกมา คือสารอดรีนาลิน จะตกค้างอยู่ในระบบ ทำให้หัวใจเต้นแรงไม่มีความสงบมีแต่ความหวาดกลัว ร่างกายจะถูกบังคับให้เคลื่อนไหวโดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำในลักษณะของการเคลื่อนไหว
สมอง 3 ส่วน อีกรูปแบบหนึ่ง

รูปแบบนี้จะอธิบายกระบวนการรับและจัดการข้อมูลของสมองที่มีลักษณะเป็น network โดยส่งข้อมูลเป็นประจุไฟฟ้าและสารเคมี

1. Recognition network คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองส่วนนี้เริ่มจากท้ายทอยต่อจากด้านสมอง ขึ้นมาทางกกหูของเรา ภาพที่ทุกคนมองอยู่จะตกกระทบที่ตาและถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนของสมองที่ลึกที่สุด ภาพที่เรามองเห็นมาตั้งแต่เด็ก จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำระยะยาวที่นี่ ส่วนเสียงจะเก็บไว้ใกล้ๆที่กกหู

2. Strategic Network เมื่อเรารับข้อมูล มาจากสภาพแวดล้อมแล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยบัญชาการข้อมูล ที่หน้าผาก มาถึงประมาณ กลางกระหม่อม เป็นสมองส่วนหน้าสุด เป็นสมองส่วนของหัวหน้า เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

3. Affective Network อยู่ในเปลือกสมอง อยู่ส่วนกลาง บัญชาการอารมณ์ทั้งหมด ทุกการทำงาน ทุกการตัดสินใจ ทุกลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ สมองส่วนอารมณ์เป็นตัวที่เริ่มตัดสินใจให้เราก่อน แล้วจึงมาที่สมองส่วนคิด สมอง 2 ส่วนแรก ทำงานไม่ได้ ถ้าสมองส่วนนี้ทำงานไม่สมประกอบ

เซลล์สมองและเส้นใยสมอง

ประกอบไปด้วยนิวเคลียสและเส้นประสาท หน้าที่หลักคือประมวลผลข้อมูล โดยทำการส่งข้อมูลในสมองทุกอย่างที่เราทำในชีวิต ทุกการตัดสินใจ ทุกการคิด เกิดขึ้นในเซลล์สมอง เกิดจากการส่งปฏิกิริยาเคมี และส่งประจุไฟฟ้าเล็กๆ โดยเซลล์สมอง มีเส้นใยสมองทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับเส้นใยอื่นๆเหมือนกับสายโทรศัพท์ 1 เซลล์มี 1 หมื่นเส้น สามารถติดต่อกับเซลล์อื่นได้ 1 หมื่นเซลล์ เซลล์สมองของคนมี 1 แสนล้านเซลล์ สามารถทำงานพร้อมกันได้มากกว่า 10 โปรแกรม โดยไม่ทำให้การทำงานช้าลง การส่งข้อมูลเกิดขึ้นทุกวินาที แม้ในเวลาเราหลับหรือในเวลาที่ป่วยแบบไม่รู้สึกตัว ซึ่งเซลล์สมองและเส้นใยสมองสามารถสร้างได้ใหม่ทุกวัน

กระบวนการบันทึกข้อมูลในสมองลงสู่ความจำ มี 5 กระบวนการด้วยกัน

1. รับข้อมูลผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. ข้อมูลไม่สำคัญสมองจะผ่านไป เช่น บิลบอร์ดที่อยู่ข้างทางที่เรามองเห็น อยู่ริมถนนสมองจะชะล้างข้อมูลนั้นออกไปถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้อยู่ในความสนใจของเรา
3. ถ้าสมองเราคิดและตัดสินใจแล้วว่าน่าสนใจ จะส่งข้อมูลไปที่ Hippocampus อวัยวะที่ทำหน้าที่บันทึกจากความทรงจำระยะสั้น ลงสู่ความทรงจำระยะยาว
4. Amygdala จะเป็นตัวบอกว่าข้อมูลนี้มีประจุทางอารมณ์สูงหรือน้อยแค่ไหน ข้อมูลที่ถูกเก็บได้ดีจะมีประจุทางอารมณ์สูงมากไม่ว่าจะเป็นอารมณ์บวกหรือลบ ทุกข้อมูลต้องผ่าน อามิดาลาหมด
5. ท้ายที่สุดจะส่งไป Hippocampus อีกครั้งหนึ่งเพื่อบันทึกความจำลงสู่เปลือกสมองด้านนอกหรือ Cortex หรือ การเก็บข้อมูลความทรงจำระยะยาว โดยสถานที่เก็บข้อมูลต่างๆมักจะแยกกันอยู่ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาพจะถูกเก็บไว้ที่ท้ายทอย ข้อมูลเสียงจะถูกเก็บที่ใกล้กกหู ข้อมูลการเคลื่อนไหวของร่างกายจะถูกเก็บอยู่ที่สมองน้อย

ถ้าข้อมูลถูกบันทึกมาถึงขั้นตอนที่ 5 เราสามารถดึงข้อมูลนั้นมาใช้ได้ตลอดชีวิต แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ของมนุษย์เราจะเดินทางไม่ถึงขั้นตอนที่ 5 จะค้างอยู่ขั้นที่ 3 หรือขั้น ที่ 2

กระบวนการจำมี 3 ขั้นตอน

1. Registration การรับข้อมูลเข้าสู่สมอง การรับข้อมูลผ่านการมอง ฟัง และการสัมผัส แต่ละบุคคลมีการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้การรับรู้จึงแตกต่างกัน
2. Retention เก็บเอาไว้
3. Retrieval ดึงออกมาใช้

Adoping a Brain-friendly Lifestye

วิธีการใช้ชีวิตที่จำเป็นสำหรับการใช้สมองในชีวิตประจำวัน

สังคมในปัจจุบัน การทำงาน การเดินทาง ทั้งหมดนี้เป็นการรุมทำร้ายสมองมาก สมองเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นมาก แต่ก็บอบบางมาก การดูแลเป็นเรื่องที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการใช้ความคิด สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

• Goal setting

การวางเป้าหมายในชีวิต ทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่ สมองชอบมาก สมองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการมีชีวิตรอด หากเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน จะเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะสมองชอบสิ่งที่ปลอดภัย คาดเดาได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนและเป้าหมายในชีวิต ที่จะบอกล่วงหน้าว่าเราจะทำอะไร การวางเป้าหมายเป็นการทำให้สมองไม่กลัวการถูกคุกคามและสามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มที่

• Eating right

การกินอาหารที่ถูกต้อง สมองเราแบ่งอาหารออกเป็น 2 หมวด คือ Good-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์ดี และ Bad-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์เสีย หากเราอารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ ให้มองกลับไปว่าก่อนหน้าที่เรากินอะไร การแยกอาหารสองชนิดนี้คือ Slow-release สมองของเราหากได้รับประทานอาหารที่ปล่อยพลังงานช้าๆ สมองจะมีการรับคลื่นพลังงานอย่างช้าๆ ต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ ถ้าเรากินอาหารที่ให้พลังงานสูงและเร็วมาก เช่น น้ำตาลทรายขาว คลื่นพลังงานของเราจะขึ้นมาสูงมาก นาทีที่คลื่นขึ้นสูง เราจะสันดาปอาหารทันที พลังงานก็จะตกทันที เมื่อพลังงานตกทันที เราจำเป็นต้องเสริมพลังงานใหม่เข้าไป คลื่นก็จะขึ้นสูงอีกครั้งและตกทันที ลักษณะที่คลื่นขึ้นสูง-ต่ำ ผิดธรรมชาติแบบนี้ หากเรากินแบบนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายมาก หากเป็นเด็กมีอารมณ์แปรรวนและจะฝังอยู่ในความทรงจำของเขา ทำให้เขากลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายตลอดชีวิต







Good-mood food Bad-mood food
- Cereal & milk
- ข้าวซ้อมมือหรือขนมปังโฮลวีท
- นมไม่พร่องมันเนย
- แพนเค้ก
- ผลไม้
- ผักสด
- ผักปรุง
- พืชหัว เมล็ดพืช
- เครื่องดื่มผลไม้ เครื่องดื่มซ่อมแซมโปรตีน - คุ้กกี้
- ขนมหวานมากๆ
- ชาปริมาณมากๆ
- กาแฟปริมาณมากๆ
- ชีสจำนวนมาก
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
- น้ำตาลทรายขาว

ดังนั้นเราจึงต้องบำรุงสมองด้วยวิตามินดังนี้
- วิตามิน B12 และ Folate มีในส้ม ผักโขม ผักบร็อคโคลี่ ช่วยซ่อมแซมและดูแลการเสื่อมของเซลล์สมอง
- ธาตุเหล็ก มีในตับ และผักใบเขียวจัด ช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
เมื่อสมองประกอบไปด้วย โปรตีน 8 % ไขมัน 10 % และ น้ำ 72 % ดังนั้นในการดูแลสมองเราจึงควรจิบน้ำตลอดทั้งวัน เป็นการเติมน้ำให้สมอง เพราะเซลล์สมองต้องการน้ำ หากมีน้ำไปเลี้ยงน้อย จะมีอาการเดียวกับพืชขาดน้ำ คือหดเล็กลง ช่องที่จะส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ก็จะกว้างขึ้น ทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้ามาก เวลาที่เราคิดอะไรไม่ออกเป็นไปได้ว่าเราลืมดื่มน้ำ การดื่มน้ำจึงจำเป็นมาก
สารเคมีอีกชนิดที่ใช้สำหรับการดูแลสมองคือ “ออกซิเจน” ทำได้ด้วยท่าการนั่งและท่าการยืน ถ้าเรานั่งนานตัวเราจะงอลง มีผลต่อปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอย่างมาก ท่าที่ถูกต้องก็คือการยืดตัว หรือการยืนตัวตรงหลังไหล่ไม่ค้อม ทำให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น 20%
• Exercising regularly
ออกกำลังกายเป็นประจำ 1. จำเป็นมากสำหรับการดูแลเรื่องเส้นเลือดในสมอง ถ้าฝึกเป็นประจำโอกาสที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบจะน้อยมากเมื่อเราอายุมากขึ้น 2. เมื่อเราออกกำลังกาย สมองของเราจะหลั่งสารเคมีเอนโดรฟินหรือความสุขออกมา มีลักษณะเสพติดได้คล้ายยาเสพติด ชื่อ มอร์ฟีน ซึ่งมีโครงสร้างเดียวกันกับ เอนโดรฟิน จะทำให้มีความสุขและมีความหวังไปพร้อมๆกัน ช่วยในการมองอนาคตระยะยาว
หากเราออกกำลังกายเป็นประจำแล้วหยุด การไม่ได้ออกกำลังจะหงุดหงิดมาก เป็นอาการเดียวกับการถอนยาหรือลงแดง เพราะสมองเราไม่ได้รับสารเคมีในเวลาที่ควรจะได้รับ และจะต้องออกกำลังได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการออกกำบังกายนี้ ช่วยในการสร้างเซลล์สมองใหม่ใน Hippocampus และมีออกซิเจนในเลือดมากขึ้น และเซลล์สมองถูกฆ่าได้ด้วยสารเคมีที่เกิดจากความเครียด ถ้าเซลล์สมองนี้ตายไปมากจะเป็นโรคความจำเสื่อม
• Learning new things
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยธรรมชาติแล้วเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้ใหญ่
เมื่อเราอายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของสมองน้อยลง แต่เราสามารถหลอกสมองได้ ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวันเป็นประจำ สมองจะคิดว่า สภาพแวดล้อมต้องเรียนรู้เยอะมาก เพราะต้องมีชีวิตรอด ต้องเรียนรู้ใหม่ทุกวันเพื่อเก็บ Brain practice ให้อยู่กับเราได้นานๆ

KM guru Mr. Ludo Pyis

http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/mrludo-16-20-24-26-51/

thank you.

ปรับระบบความคิด พิชิตอัจฉริยะ โดย วนิษา เรซ

ที่มา
http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/2007-10-26-seminar-vanisa/

สรุปการบรรยายเรื่อง ปรับระบบความคิด พิชิตอัจฉริยะ โดย วนิษา เรซ จากการสัมมนาเครือข่ายสัมพันธ์สัญจรสู่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “เรียนรู้ที่จะคิด สร้างผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน” วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2550 ณ โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จ.ขอนแก่น




วันนี้การเป็นอัจฉริยะจะไม่ใช่เรื่องยาก และไกลตัวอย่างที่ใครหลายคนคิด คนทุกเพศทุกวัย สามารถพัฒนาตนเองจนก้าวขึ้นเป็นอัจฉริยะได้ ซึ่งหัวใจของการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นอัจฉริยะนั้น ต้องเริ่มต้นที่ “สมอง” ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลเสมือนหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ สมองเปรียบเสมือนคลังแห่งการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์มากมายในการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้กับชีวิต

ที่สำคัญสมองทำอะไรได้มากกว่าที่คิด เพราะสมองเกิดขึ้นมาพร้อมกับการคิดค้นและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นอยู่กับตัวของเราเองว่าจะดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ของสมองออกมาใช้ได้อย่างไร ซึ่งหนูดีกล่าวถึงศักยภาพของสมองว่า..

“คนเรามีเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์นี้เป็นเซลล์อัจฉริยะมาก เพราะว่าในหนึ่งแสนล้านเซลล์ แต่ละเซลล์ซึ่งส่งข้อมูลถึงกันมีจุดเชื่อมต่อประมาณหนึ่งหมื่นจุด ดังนั้นเราจะบอกว่าเซลล์สมองของเรามีจำนวนมากกว่าดวงดาวในจักรภพเสียอีก สมองของทุกคนในโลกนี้มีความอัศจรรย์อันนี้อยู่ และสามารถทำงานได้ในส่วนที่เราไม่นึกเลยว่าเขาจะทำงานได้”

จากทฤษฎีของ Dr.Howard Gardner อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นดั่งเบ้าหลอมแนวคิดอันสำคัญ และถ่ายทอดความรู้ในด้านการจัดการสมองให้กับคุณวนิษาจนก้าวขึ้นเป็นผู้เข้าใจด้านอัจฉริยภาพอย่างแท้จริงคนแรกของเมืองไทย

“อัจฉริยภาพต้องผ่านการฝึกฝนนานมาก หลายคนคิดว่าคนเราเกิดมาแล้วเป็นอัจฉริยะ จริงๆไม่ใช่ มันอยู่ที่เราเลือกสิ่งที่เราชอบที่จะทำ และเราตั้งใจทำในสิ่งนั้น ไม่แปรเปลี่ยน หรือเลือกทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน แล้วทำให้ได้ดีหนึ่งหรือสองอย่าง แล้วอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบในการเปิดเวลาที่ให้อัจฉริยภาพด้านอื่นๆได้เติบโตในระหว่างที่เราพัฒนาด้านหลัก”

จากการบ่มเพาะนิสัยรักการเรียนรู้มาตั้งแต่ในวัยเด็กทำให้ วนิษา เรซ เข้าใจถึง “การเรียนรู้เพื่อพัฒนา” ได้เป็นอย่างดี เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดไว้เพียงแค่ในห้องเรียน การปลดปล่อยความคิด จินตนาการ และศักยภาพในการเรียนรู้นอกกรอบก็ได้เริ่มขึ้น ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นในการสร้างอัจฉริยะตัวน้อย ที่ครั้งหนึ่งได้สร้างให้คุณวนิษาเป็นผู้เปิดประตูแห่งความลับสู่การเป็นอัจฉริยภาพบนความเชื่อว่า

คนธรรมดาคนหนึ่งก็สามารถเป็นอัจฉริยะได้

ไม่ต่างอะไรกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

“หนูดีเรียนมาด้านสมอง และทำวิจัยด้านสมอง เพราะฉะนั้นหนูดีจะทราบว่า โดยธรรมชาติสมองมนุษย์ทำงานอย่างไร และถ้าเราจะเรียนรู้ เรียนรู้อย่างไรถึงได้ผล ให้เกิดศักยภาพสูงที่สุดในตัวผู้เรียนและในตัวคนสอนด้วย ดังนั้นจะบอกว่าโรงเรียนนี้เป็นลักษณะของโรงเรียนที่สอนตามธรรมชาติของสมองก็น่าจะเป็นได้”

การได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ค้นพบและได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆด้วยตนเองของเด็กๆใน โรงเรียนวนิษา อาจดูเหมือนไร้สาระ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นรู้แบบ “การเรียนรู้แบบบูรณาการ” ที่นำเอาเรื่องราวที่เด็กสนใจมาให้เด็กได้ลองทำ แล้วค่อยๆ สอดแทรกความรู้ทางวิชาการเข้าไปเชื่อมโยง เพื่อทำให้เด็กๆ ได้มีความสุขไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ มากกว่าการนั่งท่องจำในห้องเรียน เพราะที่โรงเรียนแห่งนี้เชื่อว่า..

การเรียนรู้ที่ดีต้องเริ่มต้นจากความสุข

“ถ้าเราไม่รู้การทำงานตามธรรมชาติของสมอง เราอาจจะบังคับให้เด็กต้องท่องจำเยอะๆ และไม่มีเทคนิคในการช่วย บังคับให้เด็กท่องอย่างเดียว เสร็จแล้วก็มีข้อสอบยากๆ และเหมือนกับการบังคับโดยไม่รู้ตัวให้เด็กต้องท่องหนังสือก่อนวันสอบ และไม่มีเวลาพักผ่อนที่แท้จริง แต่ถ้าเราเรียนด้านสมองเราจะทราบว่าอวัยวะบันทึกความจำของสมองจะทำงานเมื่อเราหลับ เพราะฉะนั้นถ้าเราบังคับให้เด็กท่องเยอะๆแต่ไม่ให้เขาพักผ่อนเพียงพอ เขาก็จะไม่สามารถมีความทรงจำระยะยาวได้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน พอเรียนแล้วก็สอบเสร็จก็ลืม ซึ่งก็เป็นลักษณะปกติของนักเรียนทั่วไป คือสอบเสร็จแล้วลืม”

“แต่ว่าโรงเรียนของเราจะป้องกันไม่ให้เกิดตรงนั้น เพราะเราทราบว่าสมองทำงานอย่างไรในเรื่องความจำ หรือในเรื่องของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และอัจฉริยภาพ อารมณ์ต้องมาก่อน คือต้องมีอารมณ์ชอบ อารมณ์รักเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน เพราะว่าสมองส่วนอารมณ์หรือที่เรียกว่า limbic system ซึ่งเป็นตัวควบคุมสมองส่วนคิด เรียกว่า Executive Function ถ้าสมองส่วนอารมณ์ทำงานไม่สมประกอบ ไม่สมบูรณ์ สมองส่วนคิดก็ทำงานไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะให้เด็กเรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราก็ต้องทำให้เขามีความรู้สึกอยากเรียนก่อน แล้วเมื่อเรียนเขาจะเรียนได้เต็มที่ ใช้สมองได้เต็มที่ทั้งก้อน เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ทราบ ก็จะคิดว่าสมองกับอารมณ์เป็นคนละเรื่อง จริงๆแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน” คุณวนิษากล่าว

ในวัยเด็ก หนูดี เป็นนักเรียนคนแรกของโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งมีคุณแม่เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน เพื่อฉีกหนีจากระบบการศึกษาของไทยที่ยังยึดติดอยู่ในกรอบแบบเดิมๆ จากจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน และคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เด็กของคุณวนิษา ทำให้เธอเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ มุมมองและแนวคิดที่แตกต่าง

ด้วยความต้องการจะเป็นคนเก่ง ฉลาด และต้องการรู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นแรงจูงใจที่ทำให้คุณวนิษาเดินทางมาศึกษาต่อปริญญาโทด้านการพัฒนาสมอง ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจกับระบบการทำงานของสมอง และค้นหาวิถีทางในการพัฒนาคนให้เป็นอัจฉริยะ และที่นี่เองที่ทำให้คุณวนิษารู้ว่า..

การพัฒนาตนเองให้เป็นอัจฉริยะ ไม่ใช่เรื่องยากหรือไกลเกินตัว

จากนักเรียนคนแรกในโรงเรียนที่สอนให้คิดนอกกรอบของคุณแม่ วันนี้หนูดีได้ก้าวขึ้นเป็นผู้บริหาร ทำหน้าที่จัดวางหลักสูตรการสอนที่เหมาะสมกับการทำงานของสมอง วางรากฐานในอนาคตให้กับเยาวชนตัวน้อยๆ ของชาติ ซึ่งจะเติบโตเป็นอัจฉริยะที่มีความสุข ซึ่งการศึกษาด้านการพัฒนาสมองทำให้หนูดีค้นพบว่า...

“สมองของเราทำอะไรได้อีกหลายอย่างมากที่เราไม่เคยรู้ และสมองมีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ดีมาก ศัพท์วิชาการเรียกว่า Plasticity คือความยืดหยุ่นของสมอง เช่นถ้าหนูดีเกิดความทุกข์ขึ้นในใจอย่างหนึ่ง แล้วรู้สึกไม่เห็นทางออกเลย หนูดีไม่รู้ว่าจะคิดยังไงให้หนูดีหายทุกข์ได้”

“แต่หนูดีรู้ว่าข้อมูลทางสมองบอกว่า ในการเปลี่ยนแปลงเส้นใยสมองเราจะใช้เวลาประมาณ 21 วันถึงหนึ่งเดือน ดังนั้นหนูดีก็จะคิดว่าเรื่องนี้มันใหญ่มาก อยากจะปล่อยให้ตัวเองทุกข์ได้ซักนิดนึง แต่หนูดีจะค่อยๆปรับแบบแผนพฤติกรรมของหนูดีเพื่อสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆให้หนูดีคิดอย่างมีความสุขมากขึ้น และมันก็ได้พิสูจน์ว่ามันทำได้ทุกครั้ง เลยรู้ว่าจริงๆแล้วถ้าคนเรารู้เรื่องสมอง จะรู้ว่าไม่มีอะไรต้องกลัวเลย เพราะสมองเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และเราสามารถทำให้มันดีขึ้นได้ มีความสุขขึ้นได้ทุกวัน” หนูดีกล่าวถึงศักยภาพของสมองซึ่งทุกคนสามารถสร้างและพัฒนาสมองด้วยตนเองได้

นั่นแสดงให้เห็นว่าการเป็นอัจฉริยะนั้นสามารถสร้างและพัฒนาขึ้นมาได้ การเป็นอัจฉริยะไม่ได้เกิดมาจากพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หากแต่เกิดมาจากการเรียนรู้และฝึกฝน คนทุกคนมีความสามารถจะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอัจฉริยะได้ โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญ

การค้นหาความเป็นอัจฉริยะในตัวของเราเองนั้น จะต้องเริ่มต้นจาก “ค้นหาใจตัวเอง ว่าเรานั้นชอบอะไร และอยากทำอะไร” เพราะสิ่งเหล่านั้นจะเป็นบันไดขั้นแรกที่นำเราไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ดังที่คุณวนิษากล่าวไว้ว่า...

“ถ้าพูดตามทฤษฎีอัจฉริยภาพก็จะบอกว่าคนเรามีอัจฉริยภาพในตัวอยู่แล้วทุกคน ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพื่อไปเอาความเก่งมา หน้าที่ของเราคือจัดสภาพแวดล้อมให้มันเอื้อให้อัจฉริยภาพนั้นๆ แสดงตัวออกมา ยกตัวอย่างเช่น หนูดีเป็นคนชอบเต้น ชอบใช้ร่างกาย ชอบเล่นกีฬา ถ้าหนูดีไม่จัดเวลาของหนูดีให้ได้ยิงธนู ให้ได้พายเรือแคนู ให้ได้เล่นโยคะ ให้ได้เต้นบัลเล่ต์ หนูดีก็จะไม่รู้ว่าหนูดีมีอัจฉริยภาพด้านนั้นอยู่ ก็เท่ากับว่ามันก็ปิด เก็บล็อคอยู่ในตัวหนูดี หรือสมมติถ้าหนูดีไม่บินไปอเมริกา ไม่ไปเรียนด้านสมอง หนูดีก็ไม่รู้ว่าหนูดีทำได้ เพราะฉะนั้นทั้งหมดอยู่ที่เราจัดสถานการณ์ให้มันแสดงสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้มันแสดงออกมา”

หลายคนอาจไม่รู้ว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมๆกับอัจฉริยภาพทั้งแปดด้าน และความเป็นอัจฉริยะที่มีก็ไม่ได้อยู่ไกลตัวอย่างที่คิด แม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันของเราที่เป็นอยู่ หากเราเปิดมุมมองการเรียนรู้อย่างหลากหลายก็สามารถพัฒนาตัวเองสู่การเป็นอัจฉริยะได้

“ความเป็นอัจฉริยะที่อาจารย์ Howard Gardner พบทั้ง 8 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 1.อัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร 2.อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 3.อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และการจิตนาการ 4.อัจฉริยภาพด้ายตรรกะและคณิตศาสตร์ 5.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง 6.อัจฉริยภาพด้านมนุษย์สัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น 7.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ และ 8.อัจฉริยภาพด้านดนตรีและจังหวะ อัจฉริยภาพ 7 ใน 8 ด้านที่ค้นพบเป็นเรื่องของ How to เช่น ทำอย่างไรถึงจะเก่งภาษา ทำอย่างไรถึงจะเก่งคณิตศาสตร์ ทำอย่างไรถึงจะเคลื่อนไหวร่างกายเก่ง ทำอย่างไรถึงจะร้องเพลงเก่ง เป็นต้น แต่มีอยู่ด้านเดียวซึ่งเป็นคำว่า Why คือทำไม ซึ่งนั่นก็คือ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง”

“ถ้าเรามีอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง ไม่ต้องกังวลเลยว่าสังคมนี้จะมีคนเก่งและก็เอาเปรียบ เห็นแก่ตัว ทำร้ายกัน เพราะถ้าเราเข้าใจตนเอง เราก็จะเข้าใจสังคม เราเข้าใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างที่ไม่สามารถตัดขาดออกจากกันได้ และเราจะรู้ว่าเราควรทำอะไรต่อไปในชีวิต เราจะมีความสามารถในการนั่งลงนิ่งๆ แล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่าชีวิตเราดำเนินมาถึงจุดนี้แล้วเรายังจะดำเนินต่อไปในเส้นทางนี้หรือไม่ หรือมีเส้นทางอื่นให้เราเดิน ในระหว่างทางที่เราเดิน เราจะจูงมือใครไปด้วยบ้าง เราจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครได้บ้าง ใครจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้บ้าง”

“หนูดีว่าถ้าทุกคนมีอัจฉริยะด้านการเข้าใจตนเอง สามารถทำให้สังคมเป็นสังคมซึ่งมีคุณภาพมาก และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยที่สามารถใช้สมองได้อย่างเต็มศักยภาพ”

แนวคิดและกระแสอัจฉริยะสร้างได้ของ คุณวนิษา เรซ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการจุดประกายในการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพบุคคลทุกๆวงการ ไม่ว่าจะเป็นคนในบริษัททั้งของภาครัฐและเอกชน หรือแม้กระทั่งวงการศึกษาก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรไม่แพ้กัน ซึ่งในการบรรยายเรื่องที่เกี่ยวกับอัจฉริยะสร้างได้ของคุณวนิษา แต่ละครั้งมักจะมีผู้เข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

การได้เป็นแรงบันดาลใจให้คนในสังคมได้หันมาสนใจและใส่ใจเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของตนเอง การฝึกฝนและพัฒนาความสามารถอย่างหลากหลาย เป็นสิ่งที่คุณวนิษาตั้งเป้าหมายไว้ เพราะสำหรับเธอแล้วการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ...การได้พัฒนาคน

ถึงแม้ว่าดอกผลแห่งความทุ่มเทของคุณวนิษา ทั้งในโรงเรียนวนิษาและในการกระตุ้นให้คนในสังคมไทยตื่นตัวในเรื่องของการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นอัจฉริยะ จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ของการดำเนินการอย่างชัดเจน แต่ในวันนี้ คุณวนิษา เรซ นับได้ว่าเป็นต้นแบบแนวคิด และเป็นแรงบันดลใจที่สำคัญในการจุดไฟแห่งการพัฒนาศักยภาพของคนในสังคมให้ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในแนวทางของการพัฒนาคน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

เทคนิคการเป็นอัจฉริยะ

ที่มา
http://www.rpca56.com/thread-581-1-1.html

อัจฉริยะกับ 9 เทคนิคฝึกสมองไบรท์
ชื่อของ "หนูดี" วนิษา เรซ ครูอนุบาลสาวสวยลูกครึ่งไทย-อเมริกันวัย 30 ปี หลายคนอาจจะพอคุ้นๆหูและหน้าตาเธอขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากออกรายการจับเข่าคุยกับสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวสุดฮอต ยิ่งส่งผลให้เธอดังเป็นพลุแตกกับความสวยรวยความเก่ง มากไปด้วยความสามารถของเธอ


"คุณหนูดี-วนิษา เรซ" ดีกรีผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของโรงเรียนและสถาบันอัจฉริยะสร้างได้ อีกทั้งยังเป็นคนแรกที่ทำอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ ซึ่งไปถามใครที่ไหนเชื่อเถอะว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักอาชีพนี้ เพราะเมื่อเอ่ยถึงการฝึกความอัจฉริยะหรือการพัฒนาสมองเรามักจะนึกถึงเด็ก เล็กๆ ซึ่งน่าจะเหมาะกับการพัฒนาและฝึกฝนมากกว่าผู้ใหญ่ แท้ที่จริงแล้วผู้ใหญ่ทุกคนก็สามารถสร้างความเป็นอัจฉริยะได้ อย่างที่คุณหนูดีกล่าวว่า "สมองของเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอน์สไตน์ " เพียงแค่ดูแลสมองให้มีสุขภาพดี ด้วยเทคนิคที่ควรเอ็กเซอร์ไซส์ให้สมองไบรท์ดังต่อไปนี้
1. จิบน้ำบ่อย ๆสมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออกแต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดีคนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมันซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทน ส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวมน้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็น เสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไป เรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นกินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดีๆทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดีตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึก ๆ สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยาย
อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนตามเทคนิคง่ายๆทั้ง 9 ข้อนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดอัจฉริยะข้ามคืนได้เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการ เรียนรู้ แต่สิ่งที่ได้ในเบื้องต้นคือการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจแบบชนิดที่เรียกว่า "สวยทั้งภายในและภายนอก" อย่างแน่นอน้

Wednesday, September 29, 2010

โรคไมเกรน (MIGRAINE) : เคล็ดลับ 9 ประการ

ที่มา http://www.oknation.net/blog/healthforyou/2009/09/06/entry-2

1.โรคไมเกรน (MIGRAINE) คืออะไร? และทำไมจึงเรียกไมเกรน (MIGRAINE)?

โรคไมเกรนคือโรคที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย

โรคไมเกรนนี้ รู้จักกันมานานตั้งแต่สมัย GALEN คือ ราวสองพันปีมาแล้ว คำว่าไมเกรน (Migraine) นี้มาจากคำสองคำคือ HEMI + CRANIUM คำ HEMI แปลว่า ครึ่งซีก ส่วน RANIUM แปลว่า ศีรษะหรือหัว เมื่อคำสองคำมาผสมกันเป็น HEMICRANIUM แต่ยาวเกินไป จึงตัด "HE" ส่วนหน้าออกและ "IUM" ส่วนหลังทิ้ง จึงเหลือ "MICRAN" ในภาษาลาติน ภาษาอังกฤษมาแปลงใหม่เป็น MIGRANE ในภาษาไทยมีคำแปลว่า "โรคตะกัง" แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแต่อย่างใด, จึงมักเรียกทับศัพท์กันว่า "โรคไมเกรน (MIGRAINE)"

2.โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน?

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อาการปวดหัวหรือปวดศีรษะนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในประชาชนทั่วๆไป จนเรียกได้ว่าไม่มีใครที่จะไม่เคยปวดหัวเลย อาการปวดหัวนั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆมากมาย เช่น โรคที่พบบ่อยได้แก่ ตัวร้อนหรือเป็นไข้ เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดฟัน ตาแดง หูอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ตลอดจนโรคที่พบน้อยแต่มีอันตราย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมองและเลือดออกในสมอง เป็นต้น

ในทางการแพทย์แบ่งอาการปวดศีรษะออกเป็น 2 ชนิดคือ :

1.ปวดศีรษะชนิดเฉียบพลัน, ซึ่งมักจะมีสาเหตุจากการอักเสบ หรือติดเชื้อในบริเวณโพรงจมูก คอ ปาก หูและตาดังกล่าวแล้ว

2.ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งมักมีสาเหตุใหญ่ๆเพียง 2 ชนิดคือ

ก.โรคไมเกรน

ข.โรคปวดศีรษะจากความเครียด

ส่วนภาวะเนื้องอกในสมอง หรือการตกเลือดในสมองนั้น พบได้น้อยมากไม่ถึง 0.01 % ของผู้ที่มีอาการปวดหัวทั้งหมด ดังนั้น ถ้าใครปวดหัวและกังวลว่าตัวเองจะมีเนื้องอกในสมองหรือมีเลือดออกในสมองนั้นมีโอกาสเป็นจริงน้อยมาก แต่มักจะปวดศีษะจากความเครียด หรือโรคไมเกรน มากกว่า

มีคนถามว่า โรคไมเกรนกับโรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้นอย่างไหนจะพบมากกว่ากัน

คำตอบคือ โรคไมเกรนจะพบราว 7% ของประชากร, ส่วนโรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐฐานะ และสภาพของสังคม ในเมืองหลวงจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่าในชนบท ปัจจุบันนี้คงยอมรับว่า เกือบทุกคนมีความเครียด แต่ใครจะปวดหัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบต่างๆ ของการแสดงออกของอาการเครียด เช่น ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ หงุดหงิด เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ ตลอดจนท้อแท้เบื่อหน่ายได้

3.โรคไมเกรนมีอาการอย่างไร?

โรคไมเกรน ความจริงไม่น่าจะจัดว่าเป็นโรคแต่อย่างใด, เพราะเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปรกติ ในคนปกติหลอดเลือดแดงเหล่านี้ซึ่งมีอยู่มากมายในสมองก็จะมีบีบตัวและคลายตัวอยู่เป็นประจำแต่ไม่มากจึงไม่ปวดหัว ในผู้ป่วยไมเกรนจะไม่พบพยาธิสภาพใดๆในหลอดเลือดแดงของสมอง จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการแต่อย่างใด

อาการของโรคไมเกรน ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้ :

1.ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกัน หรือเป็นสลับข้างกันได้

2.ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากจะปวดตุ๊บๆ นานครั้งหนึ่งๆเกิน 20 นาที (ยกเว้นจะได้รับประทานยา) แต่บางครั้งถ้าเป็นรุนแรงอาจปวดนานเป็นวันๆ หรือสัปดาห์ก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆสลับกับปวดตุ๊บๆในสมองก็ได้

3.อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะมีคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะ ก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนรับประทานอะไรไม่ได้

4.อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อนหรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำหน้ามาก่อน



4.ใครบ้างที่เป็นโรคไมเกรน?

โรคไมเกรนพบบ่อยในผู้หญิงวัยสาว ระหว่าง 20-40 ปี ในเด็ก และผู้สูงอายุพบน้อย ผู้ชายพบว่าเป็นไมเกรนน้อยกว่าผู้หญิง 3-4 เท่าตัว แต่ถ้าผู้ชายเป็นมักจะมีอาการรุนแรงกว่า โดยมีอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง น้ำตาไหล ตาแดง ปวดรุนแรงมากติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ และอาจเป็นซ้ำบ่อยๆทุก 6-12 เดือน โรคไมเกรนมักพบบ่อยกับสมาชิกอื่นๆในครอบครัวที่เป็นผู้หญิง เช่น แม่ น้องสาว น้า ป้า เป็นต้น

5.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้โรคไมเกรนเป็นมากขึ้น?

เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวกระตุ้นหรือทำให้เกิดอาการของโรคไมเกรนมากขึ้นได้แก่

1.ภาวะเครียด
2.การอดนอน
3.การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป
4.ขณะมีระดู หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
5.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
6.อาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไมเกรนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆเหล่านี้ ผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตตัวเองว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรนในตนเองเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและแก้ไขได้ตรงจุด

6.เมื่อไรโรคไมเกรนจึงหาย?

เป็นที่ยอมรับกันว่า โรคไมเกรนก่อให้เกิดภาวะปวดศีรษะเรื้อรังนานเป็นปีๆ บางรายอาจนานเป็นสิบๆปี จึงมักทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลว่า ทำไมตัวเองจึงไม่ยอมหายจากภาวะปวดศีรษะนั้น และวิตกว่าจะมีความผิดปรกติในสมองต่างๆ เช่น เนื้องอกหรือเลือดคั่งในสมอง หรือเกรงว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการตามมาภายหลัง

ในกรณีนี้จะทำให้อาการปวดศีรษะเลวลงเพราะจะเกิดอาการปวดศีรษะจากภาวะเครียดเพิ่มขึ้นมาทับถมอีก การปวดศีรษะจากภาวะเครียดนั้นพูดโดยย่อ จะปวดแบบตื้อๆ หนักศีรษะทั่วทั้งศีรษะบางรายจะบอกว่าปวดเหมือนมีอะไรมาบีบรัดโดยรอบหัว อาการนี้จะเป็นมากตอนบ่ายๆ หรือสายๆ ช่วงเช้าไม่ค่อยปวด หลังนอนพักอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้เพราะเกิดจากการบีบเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบศีรษะและบริเวณคอ

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไมเกรนจะไม่มีอันตรายใดๆที่จะก่อให้เกิดการพิการหรือทุพพลภาพตามมาแต่อย่างใด โดยปรกติอาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนนี้จะลดความรุนแรงลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเลยวัยหมดระดูไปแล้ว จะพบผู้ป่วยไมเกรนน้อยมาก

7.ผู้ป่วยโรคไมเกรนต้องรับการตรวจวินิจฉัยอย่างไรบ้าง?

โรคไมเกรนเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด ไม่มีวิธีการวินิจฉัยทางอื่นใด ดังนั้น การเจาะเลือด เอกซเรย์ หรือการตรวจคอมพิวเตอร์สมองจึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด กลับจะเจ็บตัวและอาจเป็นอันตรายหรือเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น

8.โรคไมเกรนรักษาอย่างไร?

การปวดศีรษะจากโรคไมเกรน มักรักษาไม่หายด้วยยาแก้ปวดพาราเซตตามอลธรรมดา ยาที่ได้ผลดีคือยาแก้ปวดแอสไพริน ขนาด 2 เม็ด ในขณะปวด แต่ข้อระวังห้ามรับประทานแอสไพรินในขณะท้องว่าง และผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารห้ามรับประทานแอสไพรินเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเลือดออกในกระเพาะได้มากๆ และอาจทำให้ถึงแก่กรรมได้ ในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคกระเพาะหรือไม่ให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารหรือนมร่วมด้วย ก็จะป้องกันการระคายเคืองของแอสไพรินต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารได้

9.จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคไมเกรนได้อย่างไร?

ในผู้ป่วยโรคไมเกรนที่นานๆ เป็นครั้ง เช่นปีละ 2-3 หนไม่จำเป็นต้องกินยาป้องกันแต่อย่างใด แต่ถ้าผู้ป่วยโรคไมเกรนที่เกิดอาการปวดศีรษะบ่อยๆ เช่นเกือบทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน จำเป็นต้องให้การป้องกันโดยการหลีก เลี่ยงปัจจัยส่งเสริมให้เกิดดังกล่าวแล้ว ในกรณีที่ไม่มีปัจจัยส่งเสริมดังกล่าวอาจจำเป็นต้องให้ยาป้องกัน ซึ่งแบ่งได้หลายชนิด เช่น

ก. ERGOT ALKALOIDS เป็นยาป้องกันมิให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว
ข. BETA BLOCKER
ค. CALCIUM CHANNEL BLOCKER
ง. ANTIDEPRESSANT เป็นต้น
จ. SEROTONIN ANTAGONIST เป็นต้น

ยาในกลุ่มดังกล่าวเป็นยาอันตราย และมีผลข้างเคียงทุกชนิด จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้และรับประทานตามกำหนดในช่วงเวลาจำกัด การซื้อใช้เองอาจเกิดผลร้ายได้

โรคไมเกรน

อาจเกิดจากอาการเครียดจากหน้าที่การงาน หรือโรคภัยอย่างอื่น
เป็นไมเกรน หรือไม่เป็น ควรหยุดงานสักวัน และ อ่านขัอมูลข้างล่าง

นายภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) กล่าวถึงอาการไมเกรนที่พบผู้ป่วยเป็นกันมาก ว่า ไมเกรน คือ โรคปวดศีรษะที่เกิด จากการหดและขยายตัวอย่างผิดปกติของเส้นเลือดแดงบริเวณศีรษะ
ผู้ที่เป็นไมเกรนจะมีอาการปวดศีรษะตุบๆตามชีพจร ปวดอยู่ข้างเดียว บางครั้งอาจสลับข้าง น้อยรายที่พบว่าจะปวดศีรษะ 2 ข้างพร้อมกัน บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น มือไม้ เย็น รู้สึกไวต่อแสงสว่างและเสียงด้วย ซึ่งอาการปวดศีรษะที่เป็นอาจคงอยู่เป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือนานเป็นเดือนก็มี ไมเกรนส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นปัญหาของวัยรุ่น และคนหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงอายุหลายเท่า
นายภักดีกล่าวว่า สำหรับสาเหตุและกลไกการเกิดอาการของไมเกรนยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก จึงยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแค่ยาบรรเทา หรือป้องกันอาการปวดได้ โดยอาจรับประทานยากลุ่มบรรเทาปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ฯลฯ ซึ่งเป็นยาที่ทุกครอบครัวมักมีอยู่ประจำบ้าน
นายภักดีกล่าวต่อว่า ยังมีวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน ลด และบรรเทาอาการปวด โดยไม่ต้องพึ่งยาด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

ประการแรก ต้องพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ไม่นอนดึกจนเกินไป เพราะหากพักผ่อนน้อย นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนแล้ว ยังจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้ออีกด้วย

ประการที่สอง ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิก หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาทีติดต่อกัน

ประการที่สาม ต้องมีการควบคุม หรือวิธีการขจัดความเครียด โดยการหาเวลานั่งพัก หลับตา หยุดคิดเรื่องราวต่างๆ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือการทำสมาธิ ฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก อย่างมีสติ

ประการที่สี่ ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ อย่าอดอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน จำพวกแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์แดง รวมทั้งหลีกเลี่ยงผงชูรส เนย นม ช็อกโกแลต กล้วยหอม ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟ และชา

ประการที่ห้า หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้ เช่น สถานที่ที่มีแดดจัด อากาศร้อน เสียงดัง ไฟกะพริบ หรือหลีกเลี่ยงกลิ่นที่รุนแรง เช่น กลิ่นน้ำหอม และกลิ่นบุหรี่ เป็นต้น ประการที่หก งดการสูบบุหรี่

และประการสุด ท้าย หากเกิดอาการปวด ควรลดหรือบรรเทาอาการปวดไมเกรน โดยรีบใช้ น้ำแข็งประคบ โดยนำผ้าขนหนูห่อก้อนน้ำแข็งไว้ แล้วนำมาลูบช้าๆ บริเวณที่ปวด ก็จะทำให้ รู้สึกดีขึ้นได้ หรือจะใช้ น้ำมันสะระแหน่นวดบริเวณที่ปวด.
.........................................................................................................................................................

“ปวดหัว” หรือ “ปวดศีรษะ” ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการของโรคหลายอย่าง ซึ่งบางครั้งกว่าจะหาสาเหตุได้ก็ต้องใช้เวลานาน
อาการปวดหัวที่มีสาเหตุจากโรคที่ร้ายแรง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นโลหิตแตก พยาธิ อาการมักเป็นรวดเร็วและรุนแรงขึ้น ทำให้ต้องรีบไปหาแพทย์รักษา แต่ปวดหัวจากความวิตกกังวล ความเครียด ความคิดถึง ความเป็นทุกข์ นอกจากจะหาตำแหน่งและเวลาปวดที่แน่นอนไม่ค่อยได้ ยังเกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับ กินไม่ได้ หงุดหงิด

การช่วยเหลือถ้ามีบุคคลในบ้านปวดหัว ปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ใหญ่ให้รับประทานยาแก้ปวด พาราเซตามอล 2 เม็ด สำหรับเด็กกินครั้งละ 1 เม็ด ถ้ายังไม่หายรับประทานซ้ำได้อีกห่างจากครั้งแรก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกิน 3 วัน

2. ถ้าอากาศร้อน ให้อยู่ในที่ลมโกรก หรือเปิดพัดลม หรือเปิดเครื่องปรับอากาศ นั่งเอน หลับตา หรือนอนหลับตาสักครู่ อาจทำให้หลับไปหายจากอาการปวดหัวได้

3.ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือผ้าเย็นวางบริเวณที่ปวด

4. หาสาเหตุจากการซักถาม ได้แก่

- ปวดฟันหรือไม่ เพราะถ้าปวดฟันหรือฟันผุ การเจ็บปวดจะติดต่อถึงกันได้ รักษาฟัน ปวดหัวก็หาย

- กำลังมีประจำเดือนหรือไม่ เพราะระยะมีประจำเดือนระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนไป อาจปวดหัวได้ ให้ยาแก้ปวดหัว พอหมดระยะประจำเดือนก็หาย

- รับประทานยาคุมกำเนิดหรือไม่ เพราะบางคนอาจปวดหัวจากปฏิกิริยาของฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด ที่รับประทานนานเกินไป หรือเพิ่งรับประทานใหม่ๆ ซึ่งถ้าเป็นบ่อย ไม่ทุเลาลงควรเปลี่ยนวิธีหรือถ้ามีบุตรเพียงพอแล้ว แนะนำให้ทำหมันเลย

- อดนอนหรือไม่ การอดนอนทำให้ประสาทตึงเครียด

- หิวข้าวหรือไม่ บางครั้งการอดอาหารทำให้น้ำตาลไปเลี้ยงสมองไม่พอเกิดการปวดหัว ให้ดื่มน้ำหวานหรืออมทอฟฟี่ แล้วรับประทานอาหาร ถ้าหายก็แสดงว่าใช่

- มีอาการตามัว ตาพร่า อาเจียนพุ่ง ต้องรีบนำส่งสถานพยาบาล เพราะอาจเกิดจากโรคของสมองได้

- วิตกกังวลหรือไม่ เศร้าเสียใจหรือไม่ ข้อนี้ต้องมีวิธีการซักถาม เพราะบางครั้งผู้ถูกถามอาจจะสะเทือนใจหรืออาย จึงปิดบังไม่ตอบความจริง แต่ถ้าอยู่บ้านเดียวกัน อาจทราบเหตุการณ์ดี ดังนั้นเมื่อให้กินพาราเซตามอลแล้ว อาจให้ไดอะซีแพม 2 มิลลิกรัม 1 เม็ดก่อนนอนด้วย และพยายามปลอบโยน ใช้สมาธิและปัญญาเข้าช่วย

- สายตาผิดปกติหรือไม่ ประเภทนี้มักปวดหัวตอนอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ แนะนำให้ไปตรวจสายตา
- เจ็บคอ เป็นหวัด เป็นไข้ แพ้อากาศ เหล่านี้ต้องรักษาให้หาย

5. ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุ ถ้าเป็นโรคให้รักษา ถ้าไม่ใช่ให้หลีกเลี่ยงหรือสู้

6. ถ้าปวดหัวแล้วกลับจากงานอาจเกิดจากอ่อนเพลีย เมารถ เมาอากาศ ให้อาบน้ำสระผม และนั่งพักอาการจะดีขึ้น ถ้าคร่ำเคร่งกับหนังสือกับหนังสือให้ลุกขึ้นเดิน สูดหายใจเข้ายาวๆ มองไปไกลๆ ถ้าเป็นทุ่งนา ทุ่งหญ้ายิ่งดี และกลอกตาไปมาเป็นการบริหารกล้ามเนื้อตาที่เครียดด้วย

7. แต่ถ้าแนะนำทั้งหมดแล้วยังเหมือนเดิม ควรแนะนำต่อไปคือ ให้ไปสถานพยาบาลเพื่อได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง

Tuesday, September 14, 2010

การพัฒนาบุคลิกภาพ

http://www.tice.ac.th/Online/Online2-2549/bussiness/nantapon/n7.htm

การพัฒนาบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ คือ ลักษณะท่าทางซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความรู้สึกนึกคิด ที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจ ฉะนั้น การที่บุคคลจะได้รับการยอมรับนับถือ การสนับสนุน ความไว้วางใจ และความประทับใจจากผู้อื่นนั้น ก็ควรที่จะแสดงบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมให้ผู้อื่นเห็น เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง

1. ความหมายและความสำคัญของบุคลิกภาพ
คำว่า "บุคลิกภาพ" หมายถึง คุณลักษณะทางกาย ทางจิตใจ และความรู้สึกนึกคิดที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจมากน้อยเพียงใด

มีความสำคัญคือ บุคลิกภาพนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง จึงส่งผลต่อการยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ การสนับสนุน และความไว้วางใจจากผู้อื่น

2. ประเภทของบุคลิกภาพ
2.1 บุคลิกภาพภายนอก คือ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคน สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น 4 หมวด คือ
1. รูปร่างหน้าตา
2. การแต่งกาย
3. กิริยาท่าทาง
4. การพูด
2.2 บุคลิกภาพภายใน คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แก้ไขได้ยาก เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง
2. ความซื่อสัตย์สุจริต
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. ความรับผิดชอบ

3. หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
การยืน เดิน นั่ง เป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล งามอิริยาบถ คือ การเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่าง ๆ การไปเยี่ยมคนป่วย การมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือ ไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี

4. แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
4.1 การรักษาสุขภาพอนามัย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดผิดปกติ
- ละเว้นการสูบบุหรี่หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
- ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.
- รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

4.2 การดูแลร่างกาย
- รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน
- ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
- โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขริบให้เรียบร้อย
- รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน
- รักษากลิ่นตัว
- รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม
- ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
- ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน
- ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี
- เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์

4.3 การแต่งกาย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ
- สีสันไม่ฉูดฉาด ควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง
- กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี สีเรียบ สำรวจส้นรองเท้าจัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
- แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางค์ที่มีคุณภาพดี
- เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลาง ๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู
- ผม หมั่นสระให้สะอาด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า
- เครื่องประดับ ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด
- ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
- ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

4.4 อารมณ์
รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ
ฉะนั้น บุคคลใดที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้น จะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น

4.5 ความเชื่อมั่นในตนเอง
- ยอมรับในความสามารถของตนเอง
- อย่าเล็งผลเลิศในการทำงานจนเกินไป
- อย่าถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องดีที่สุด
- อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง
- หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้

5. การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี ไม่มองคนในแง่ร้าย จิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้น เลขานุการจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
1. มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
2. มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
3. มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
4. มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
6. มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
7. มีความรอบรู้
8. ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
9. มีความจำแม่น
10. วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ

6. การพัฒนาบุคลิกภาพด้านกายบริหารทรวดทรง
องค์ประกอบของทรวดทรง ขึ้นอยู่กับกลไกของการเคลื่อนไหวของร่างกายและโครงสร้างของร่างกายไม่ว่าหญิงหรือชายก็ชอบที่จะมีรูปร่างงามทั้งนั้น ผู้ชายก็ต้องการมีรูปร่างสมาร์ท ผู้หญิงก็ต้องการมีเอวบาง ร่างน้อย มีสุขภาพดี การมีรูปร่างงาม สุขภาพดี เกิดจากการพัฒนาตัวเราเอง เราเป็นผู้วางแผนในชีวิตของเราเอง
ทรวดทรงอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต แต่ส่วนสัดและท่าทาง ทำให้คนทุกคนดูแตกต่างกันไป บุคลิกที่ไม่ดีแสดงว่าเจ้าของเรือนร่างขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ถ้าได้เรียนรู้วิธีเสริมสร้างเสน่ห์ให้กับบุคลิกภาพของตนเองแล้ว จะไม่เพียงทำให้มีรูปร่างสง่างามเท่านั้น ยังสามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่น งานก็มีประสิทธิภาพอีกด้วย ดังนั้นเลขานุการจึงควรใช้เวลาในการบริหารทรวดทรงของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะสุขภาพที่ดี และทรวดทรงที่งดงามอีกด้วย

การแบ่งเวลาและจัดสรรเวลาของตนเอง

ที่มา
http://www.tice.ac.th/Online/Online2-2549/bussiness/nantapon/n3.htm

การบริหารเวลา คือ การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลาและการทำงาน ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่รู้จักที่จะแบ่งเวลาและจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวันเวลาที่กำหนด

1. ขั้นตอนการวางแผนเวลา
- กำหนดแผนการทำงาน
- การจัดลำดับความสำคัญของงาน
- ตรวจสอบแผนการจัดสรรเวลา
- กำหนดและแจกจ่าย
- การควบคุมเวลา

2. เทคนิคการบริหารเวลา
1. ต้องทำบันทึก สิ่งที่ต้องบันทึก
2. แบ่งงานให้เหมาะสม
3. ลำดับสิ่งที่ต้องทำงานก่อนหลังในแต่ละวัน
4. หาเวลาที่สงบทุกวัน เพื่อช่วยในเรื่องระบบสมาธิ
5. บอกช่วงเวลาที่ว่าง
6. หามุมสงบ หรือเอางานไปทำที่บ้าน ถ้าไม่ทันจริง ๆ
7. หมั่นแวะเวียน เยี่ยมเยียนลูกน้องเป็นครั้งคราว
8. ไปตามเวลานัดหมาย
9. หาเวลาพักไม่ว่างานมากแค่ไหน
10. อย่านัดหมายหรือประชุมติดกันเกินไป

3. หลัก 10 ประการ การบริหารเวลา
1. วางแผนการทำงาน
2. มีความตั้งใจในการทำงาน
3. หยุดพักชั่วขณะ
4. หลีกเลี่ยงความไม่เป็นระเบียบ
5. ไม่เป็นผู้ที่ต้องการความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
6. ไม่ต้องกลัวที่จะกล่าวคำปฏิเสธ
7. อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
8. มีการผ่าตัด ปรับปรุงใหม่ในเรื่องการสูญเปล่าของเวลา
9. การแบ่งเวลา แบ่งงานและมอบหมายงานให้เหมาะสม
10. อย่าเป็นโรคเหมางาน

4. การใช้เวลาของเลขานุการ
เวลาเป็นสิ่งมีค่ายิ่งในชีวิต ถ้าปล่อยเวลาให้สูญเปล่าก็เท่ากับทำให้เวลาเสียไปโดยใช่เหตุ ต้องฟังคำพังเพยที่ว่า "เวลาวารีไม่เคยคอยใคร เวลาที่ล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่" ฉะนั้นเลขานุการเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อองค์การ ต้องใช้เวลาในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
1. ช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานให้มากที่สุด
2. ให้นายถูกขัดจังหวะน้อยที่สุด
3. ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแทน
4. จัดการนัดหมายให้เหมาะสม
5. ไม่รบกวนด้วยเรื่องที่ไม่จำเป็น
6. เลือกแขกที่จะเข้าพบ และโทรศัพท์ที่จำเป็น
7. มีข้อมูลที่ถูกต้องพร้อมอยู่เสมอ
8. ช่วยรักษาอารมณ์
9. ทำงานถูกต้อง เรียบร้อย
10. จัดสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย

5. ระบบการบริหารเวลา
การบริหารเวลา คือ การจัดเวลาในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างน่าพอใจ
5.1 การกำหนดความสำคัญ (Set Priorities) โดยใช้สัญลักษณ์แทนดังนี้
A = งานที่มีความสำคัญต้องทำก่อน
B = งานที่มีความสำคัญเช่นกัน แต่รองลงไป ถ้าหากว่ามีเวลาก็ควรทำ
C = แม้ไม่ทำขณะนี้คงไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
5.2 วางแผน (Planning) คือ การตระเตรียมการสำหรับปฏิบัติงานตามแผน โดยไม่จำแนกว่าเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ การวางแผนมีความยากง่ายสลับซับซ้อนแตกต่างกันตามขอบข่ายของงานที่จะปฏิบัติ อาจทำในรูปแบบของตารางปฏิบัติงาน
5.3 การปฏิบัติตามตารางที่กำหนด (Projecting Schedule Time) คือ การทำงานตามแบบแผนที่กำหนดไว้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับอนาคตหลาย ๆ คำถาม แล้วคิดหาคำตอบและเหตุผลประกอบคำถามต่าง ๆ เหล่านั้น
ขั้นที่ 2 กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวที่เป็นจริงได้

6. กลยุทธ์การบริหารเวลา
6.1 เวลาและความสำคัญ
- ทบทวนดูว่าเสียเวลาไปกับงานนั้นมากเพียงใด คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปหรือไม่
- งานที่ต้องยืมอุปกรณ์ผู้อื่นทำ ให้รีบทำงานชิ้นนั้นก่อน
- ช่วงเวลาที่มีความสดชื่น ขอให้ปฏิบัติงานที่มีความยุ่งยากในช่วงนั้น
- ในกรณีที่มีการประชุม ควรใช้เทปบันทึกการประชุมแทน
- การรับโทรศัพท์ ควรพูดให้สั้น กระทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความสมบูรณ์
- พิจารณาเอกสารต่าง ๆ ที่มาถึงให้เสร็จสิ้นในครั้งเดียว
- อย่าลังเลในการตัดสินใจ
- ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
- หากต้องการขอข้อมูลจากผู้อื่น ควรขอข้อมูลไว้ก่อนแม้ว่าจะไม่ถึงเวลาก็ตาม
- งานใดที่ต้องปฏิบัติใช้สมาธิมาก ๆ ควรกระทำช่วงเวลาที่มีความพร้อมที่สุด
6.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียเวลา
- ถูกขัดจังหวะในการโทรศัพท์
- ถูกขัดจังหวะโดยบุคคลต่าง ๆ
- การประชุมไม่มีประสิทธิภาพ
- การสื่อสารขาดประสิทธิภาพ
- ขาดการวางแผนที่ดี
- ปฏิเสธผู้อื่นไม่เป็น
- ให้ความสนใจไปเสียทุกเรื่อง
- ไม่ปฏิบัติงานให้เสร็จเป็นเรื่อง ๆ ไป
- ขาดวินัยในตนเอง
- ใช้เวลาในการอ่านเอกสารมากเกินไป
6.3 เทคนิคการควบคุมการใช้เวลา
- มีสมาธิในการปฏิบัติงาน มีสติ
- จัดลำดับความสำคัญของงานก่อน-หลัง
- แบ่งงานที่ทำออกเป็นช่วง ๆ
- สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้เวลาราคาถูกทดแทนเวลาราคาแพง
- การใช้เครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ
- ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- ลดงานเอกสารลง
- ลดการลงนามในเอกสาร
- ลดรูปแบบที่ไม่จำเป็นที่ไม่เกิดประโยชน์ออกไป

Sunday, August 22, 2010

โปรแกรมระบบเครือข่าย

MRTG
http://www.paessler.com/prtg/download

SNIFFER
http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/com_network/sheet/sniffer_ethereal.htm

CISCO Network Magic Pro Edition
http://www.purenetworks.com/download/
http://www.msit.mut.ac.th/newweb/phpfile/show.php?Qid=4980

ตอบคำถาม
1.MRTG อำนวยความสะดวกในด้านใด (ตอบ 3 ข้อ)
2.SNIFFER (ใช้ทำอะไร 3 ข้อ)
3.CISCO Network Magic มีคุณสมบัติอย่างไร (3ข้อ)
4. สรุปบทความจาก
http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/com_network/sheet/sniffer_ethereal.htm

Saturday, August 21, 2010

เทคนิคการพัฒนาตนเอง : ข้อคิดในการบริหารชีวิตเชิงมิติ

ที่มา

http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104570&Ntype=7

เทคนิคการพัฒนาตนเอง : ข้อคิดในการบริหารชีวิตเชิงมิติ

หลายคนเกิดคำว่า “เสียดาย” ขึ้นในจิตใจ บางคนถึงกับบ่นออกมาว่า “ไม่น่าเลย รู้อย่างนี้น่าจะทำให้ดีกว่านี้”สาเหตุสำคัญเกิดจากความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของมิติแห่งชีวิต การขาดการเชื่อมโยงเหตุและผลของกิจกรรมในชีวิตในแต่ละช่วงเวลา

ชีวิตของคนเรามีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนคือ ร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม และมี 3 มิติคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งทั้ง 3 ส่วนและ 3 มิตินี้ จะมีความสัมพันธ์กันชนิดที่แยกออกจากกันไม่ได้เลยทีเดียว



ถ้ามองในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ่ต่างๆแล้ว จะเห็นว่าถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบ เช่น จิตใจหดหู่ ย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายและสังคม ในทางกลับกันถ้าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์จิตใจเข้มแข็ง แต่ถ้าต้องอยู่ภายในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มี โอกาสที่จะทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอก็มีมากเหมือนกัน



ถ้ามองในแง่ของมิติของชีวิตจะพบว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ มีอยู่ ในปัจจุบันนั้น เป็นผลพวงที่เกิดจากมิติในอดีตทั้งนั้นเลย เช่น การที่เรามีงานทำเกิดจากการที่เรามีความรู้จากการศึกษา จากประสบการณ์ก่อนหน้านี้ การที่เรามีบ้านในวันนี้เป็นเพราะเราเก็บเงินสร้างบ้านมาเมื่อหลายปีก่อน ถ้าเราไม่มีเมื่อวาน เราก็คงไม่มีวันนี้



ในขณะเดียวกันสิ่งที่เรากำลังทำ เป็นอยู่ มีอยู่ ในปัจจุบันนี้คือสะพานหรือรากฐานที่จะบันดาลอนาคตของเราเช่นเดียวกันกับที่อดีตสร้างปัจจุบันให้เรา งานที่เราทำอยู่ทุกวันนี้นี้คือบันไดแห่งความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นในอนาคต ชีวิตครอบที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้คือรากฐานของครอบครัวลูกหลานในวันหน้า ความรู้และประสบการณ์ในวันนี้คือบทเรียนในวันพรุ่งนี้



คนที่ต้องการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จในชีวิตนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารชีวิตบนพื้นฐานของการสร้างความสมดุลของ 3 ส่วนและ 3 มิติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ผมคงไม่สามารถเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเหมือนเรื่องอื่นๆได้ เพราะชีวิตใครก็ชีวิตใคร ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับเจ้าของชีวิต ผมเพียงแต่อยากจะให้ข้อคิดเพื่อสะกิดใจให้กับท่านผู้อ่านในบางประเด็นเท่านั้น เชน

ได้อย่างเสียหลายอย่าง เราจะเห็นว่าคนทำงานที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหลายคน มักจะประสบกับความล้มเหลวด้านร่างกาย เพราะในขณะที่ทุ่มเททำงานหนักเพื่อความสำเร็จอยู่นั้น ขาดการดูแลร่างกาย ขาดการดูแลครอบครัวและสังคมรอบข้าง วันหนึ่งเมื่อความสำเร็จในหน้าที่การงานมาเยือน มันจะชักชวนเพื่อนที่เป็น “โรค” และ “ความล้มเหลวในชีวิตครอบครัว” มาด้วย เรื่องนี้คงจะพอเป็นข้อคิดให้กับผู้อ่านว่า “อย่าเอียง” ไปในด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ขอให้เดินทางสายกลาง เพราะวันหนึ่งสิ่งที่ได้มา (ทรัพย์สินเงินทอง หน้าที่การงาน) มันไม่สามารถมาชดเชยกันสิ่งที่จะเสียไป (การเจ็บป่วย ครอบครัวแตกแยก) ไม่ได้
อดีตคือประวัติศาสตร์ที่แก้ไม่ได้ คนหลายคนที่มีโอกาสที่ “เกือบจะ” ประสบความสำเร็จในชีวิตในด้านต่างๆมากมาย แต่เพราะ “อดีต” เป็นขวากหนามที่สำคัญ ทำให้พลาดโอกาสนั้นๆไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ผู้จัดการบางคนเป็นคนที่เก่งมาก ผลงานในตำแหน่งผู้จัดการดีมาก ถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ติดอยู่ที่ว่าเมื่อตอนที่เป็นพนักงาน เคยทำผิดในกรณีทุจริตเล็กน้อยมาก่อน หรือเพียงแค่มีข่าวแว่วๆมาว่าไม่ค่อยโปร่งใส เท่านี้ “ประตูชัยแห่งความสำเร็จ” ก็ปิดรับผู้จัดการคนนั้นไปเกือบสนิทเลยทีเดียว
คำนึงผลตอบแทนระยะสั้น ด้วยเงื่อนไข “ถ้า(If).......” คนทั่วไปมักจะดึงเอาศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ตามระดับของปัจจัยดึงดูดที่นิยมเรียกกันว่า “ผลตอบแทนระยะสั้น” หรือ “ระดับความพึงพอใจ” มากเกินไป เช่น ถ้าเงินเดือนขึ้นเยอะก็จะทุ่มเททำงานให้มากขึ้น ถ้าได้เลื่อนตำแหน่งจะพัฒนางานให้มากกว่านี้ ถ้าหัวหน้าด่ามากๆ จะทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม และมีอีกหลายถ้า...
ความสำเร็จคือผลสะท้อนกลับของการกระทำ การกระทำทางกาย วาจา ใจ ต่อตัวเองและผู้อื่นในอดีตจะถูกสะท้อนออกมาเป็นผลสำเร็จหรือล้มเหลวในปัจจุบัน เช่น เราเคยทำร้ายจิตใจคนอื่นมาก่อน วันนี้เขาอาจจะกลับมาทำร้ายร่างกายของเรา ทำลายอนาคตหน้าที่การงานของเรา เราเคยบาดเจ็บทางด้านจิตใจเนื่องจากมีปมด้อยมาก่อน ปมด้อยนั้นอาจจะเป็นแรงฮึดให้เรามาสู่ความสำเร็จในปัจจุบันก็ได้ เช่นเดียวกันกับการบริหารร่างกาย จิตใจ และสังคมของเราในปัจจุบัน จะส่งผลสะท้อนกลับมาหาเราในอนาคตได้เช่นเดียวกัน เช่น วันนี้เราดูแลร่างกายโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันหนึ่งในอนาคตอาจจะส่งผลให้เรามีร่างกายแข็งแรงเพียงพอที่จะขึ้นไปทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรก็ได้ เพราะคงไม่มีบริษัทไหนจ้างผู้บริหารที่เก่งมาก แต่เจ็บป่วยออดๆแอดๆมาทำงานวันเว้นวันหรอกนะครับ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อคิดเพียงเล็กๆน้อยๆ ที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าชีวิตเราไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่มิติใดมิติหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ชีวิตเราคือทุกสิ่งทุกอย่างทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เราจึงต้องให้ความสำคัญมากพอๆกัน

ก่อนจากกันในวันนี้ผมขอทิ้งท้ายให้คิดกันเล่นๆนะครับว่าในความเป็นจริงของชีวิตแล้ว เราจะพบว่า “ความสำเร็จ” ที่เราภาคภูมิใจมากที่สุดไม่ใช่ความสำเร็จที่เรา “คาดหวัง” แต่เป็นความสำเร็จที่ “ไม่คาดหวัง” มากกว่า เช่น เราทำงานหนักเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่ง เมื่อเราได้เลื่อนตำแหน่งเราก็ดีใจมาก แต่ถ้าเราได้รับการคัดเลือกให้เป็น “พนักงานดีเด่นประจำปี” ผมคิดว่าเราจะดีใจมากกว่าการได้เลื่อนตำแหน่งหลายเท่า ดังนั้น เพื่อแสวงหา “ความสำเร็จที่ไม่คาดหวัง” จึงอยากกระตุ้นให้ท่านผู้อ่านทุกคนจงทำงานทุกอย่างให้ดีที่สุดอย่างเต็มศักยภาพที่มีอยู่ แล้วความสำเร็จที่ท่านอยากได้ อยากเป็น จะมาพร้อมกับความสำเร็จที่ท่านไม่คาดหวังนะครับ