Sunday, November 7, 2010

วิธีในการพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร สามารถพัฒนาได้ 9 วิธี

วิธีในการพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร สามารถพัฒนาได้ 9 วิธี คือ

1. การเรียนรู้ในงาน / การสอนงาน (Coaching) หมายถึง การสอนงานให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน
มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะให้เป็นไปตามมาตรฐานของงาน

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.เลือกบุคคลที่จะเป็นพี่เลี้ยง
2.กำหนดระยะเวลาในการสอนงาน
3.ประเมินผลการสอนงานทั้งพี่เลี้ยงและบุคลากรที่เรียนรู้ระบบ

2. การประชุมแก้ปัญหา (Meeting) หมายถึง การประชุมเฉพาะเรื่องและเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้มีการพัฒนาและแสดงขีดความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา พัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหา ระบุความสามารถของแต่ละบุคคล
พัฒนาการมีส่วนร่วม
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.เลือกประเด็นปัญหาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
2.ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหาข้อสรุปและวิธีการแก้ปัญหา
3.สรุปวิธีการแก้ปัญหา
4.ดำเนินการแก้ปัญหา
5.ทำการจดบันทึกปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา
หมายเหตุ : การประชุมลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพต้องไม่กล่าวโทษว่าใคร คือ ผู้สร้างปัญหา
และต้องประชุมไม่เกิน 45 นาที

3.การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) หมายถึง การสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้บุคลากรปฏิบัติงานที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาให้มีความรู้กว้างขวางในงานที่หลากหลาย
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.กำหนดนโยบายหรือแนวทางในการหมุนเวียนงาน อาทิ ลักษณะงาน ระยะเวลาในการหมุนเวียนงาน
เป็นต้น
2.กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะหมุนเวียนงาน
3.ประเมินผลจากการหมุนเวียนงาน เพื่อที่จะนำมาสู่การปรับปรุง

4.การมอบหมายโครงการพิเศษ (Project Assignment) หมายถึง การมอบหมายโครงการ / งานพิเศษให้บุคลากรเป้าหมายได้ปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาความสามารถของตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะทางเทคนิค พัฒนาความเชี่ยวชาญและความชำนาญ
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.เลือกโครงการที่มีความท้าทาย
2.เลือกบุคลากรที่มีผลการประเมินขีดสมรรถนะที่สูงกว่ามาตรฐานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
3.ประเมินผลการปฏิบัติงานทุกๆ 3 เดือนจนกว่าโครงการจะเสร็จสิ้น

5.การมอบหมายงานเป็นทีม (Team Assignment) หมายถึง การมอบหมายงานให้กับกลุ่มบุคลากรไปปฏิบัติงานร่วมกัน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะนำและมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม พัฒนาทักษะการจัดการในเบื้องต้น
(Pre – Managerial)
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.เลือกโครงการที่มีความท้าทาย
2.เลือกกลุ่มบุคลากร

6.หลักสูตรการฝึกอบรมภายในองค์การ (In-house Training) หมายถึง การจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับบุคลากรในองค์การโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาเป็นวิทยากร หรืออาจจะมีการจัดบทเรียนออนไลน์
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.กำหนดแผนการพัฒนาขีดสมรรถนะตามผลการประเมิน
2.กำหนดโครงการพัฒนาบุคลากรตามแผนฯ ที่กำหนดไว้
3.คัดเลือกวิทยากรที่มีความชำนาญทั้งในและนอกองค์การ
4.จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
5.ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตร / รายวิชา และระยะเวลาที่กำหนด
6.ประเมินผลหลังการฝึกอบรม

7.หลักสูตรการฝึกอบรมภายนอกองค์การ (External Training) หมายถึง การส่งกลุ่มบุคลากรเป้าหมายไปอบรมภายนอกทั้งการอบรมระยะสั้น และระยะปานกลาง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.จัดทำฐานข้อมูลองค์การภายนอกที่มีความชำนาญในการฝึกอบรมโดยจะต้องสอดคล้องกับขีดสมรรถนะ
แต่ละด้านขององค์การ
2.คัดเลือกบุคลากรส่งไปอบรมกับองค์การภายนอก โดยพิจารณาจากผลการประเมิน Gap Analysis
ประเมินผลการฝึกอบรมของบุคลากร โดยให้บุคลากรจัดทำรายงาน และนำเสนอให้กับผู้บริหารและผู้สนใจเข้ารับฟัง



8.การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Access) หมายถึง บุคลากรเรียนรู้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน เพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรทุกระดับ
วิธีการ
1.องค์การจะต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด หรือบทเรียนบนออนไลน์
2.บุคลากรแต่ละคนจะต้องถูกกำหนดให้เสนอความรู้ใหม่ๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 15 – 20 นาที
ต่อ คน โดยการประชุมช่วงเช้า หรือการส่ง e – mail ให้ผู้ร่วมงาน

9.การศึกษาแบบทางการ (Education) หมายถึง การสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับสูง เช่น การศึกษาในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในกลุ่มขีดสมรรถนะยอดเยี่ยม (Excellence Group)
วิธีการ
1.กำหนดหลักสูตรการศึกษาระดับสูงที่เป็นเป้าหมายโดยจะต้องเกี่ยวข้องกับขีดสมรรถนะและภารกิจขององค์การ
2.พิจารณาคัดเลือกบุคลากรเป้าหมายที่ต้องการศึกษาต่อในระดับสูง โดยใช้เกณฑ์ขีดสมรรถนะเป็นปัจจัยในการพิจารณา

No comments: