Sunday, October 31, 2010

เตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรกับการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส?

เตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรกับการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส?
“สิ้นปีนี้บริษัทเราจะจ่ายโบนัสเท่าไหร่” “บริษัทคุณจะปรับค่าจ้างกี่เปอร์เซ็นต์” “ได้ข่าวว่าอุตสาหกรรมรถยนต์กำไรดี” คำถามยอดฮิตก่อนช่วงคริสต์มาสและปีใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือน


ไม่อยากคุดคุ้ยปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานให้มากกว่าเพราะทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เรามาคุยกันต่อเรื่องอนาคตกันดีกว่าว่าก่อนที่เทศกาลการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือพนักงานควรจะเตรียมตัวกันอย่างไรดี
มามองในแง่ของผู้บริหารก่อนนะครับว่าผู้บริหารควรจะเตรียมตัวอย่างไร
เตรียมข้อมูล ผู้บริหารควรจะให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเตรียมข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลการสำรวจค่าจ้างภายนอก ผลการดำเนินงานขององค์กร อัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม พร้อมกับเหตุผลการประกอบการตัดสินใจในการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส ถ้าองค์กรไหนมีสหภาพแรงงานก็อย่าลืมดูข้อตกลงกันไว้ด้วยนะครับ เดี๋ยวจะเสียเครดิตและเสียหน้า เพราะอย่าลืมนะครับว่าปัจจุบันองค์กรแรงงานเขาก้าวหน้ามาก ข้อมูลต่างๆเขาค้นหากันทางอินเตอร์เน็ตแล้ว อย่าให้ข้อมูลของฝ่ายบริษัทล่าหลังกว่าขององค์กรแรงงานก็แล้วกันนะครับ

เตรียมวิธีการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา เมื่อข้อมูลพร้อมแล้วก็ควรจะมีการกำหนดแผนงาน ขั้นตอนการดำเนินการให้รัดกุม อะไรที่เคยเกิดขึ้นมาในปีที่ผ่านมาก็ควรจะนำมาแก้ไขปรับปรุง เช่น ข่าวลือเรื่องโบนัส ข่าวรั่วจากผู้บริหารบางท่าน ควรจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบในการดำเนินการ ใครจะเป็นคนสื่อสารกับพนักงาน ควรจะประกาศเรื่องอัตราการปรับค่าจ้างเมื่อไหร่ จะประกาศอย่างไร ผมอยากจะแนะนำว่าผู้บริหารควรจะเตรียมกำหนดนโยบายไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าในปีต่อไปบริษัทจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร เช่น บางบริษัทก็บอกว่าปีต่อไปปัญหานี้จะน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีกเพราะบริษัทเราเตรียมที่จะนำเอาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบใหม่เข้ามาใช้ที่จะสามารถวัดผลงานได้ชัดเจนและเป็นธรรม ซึ่งจุดนี้จะช่วยลดกระแสความไม่พึงพอใจของพนักงานลงได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็พอมีความหวังสำหรับในปีต่อไปได้บ้าง

มามองในแง่ของพนักงานกันบ้างนะครับว่าเราในฐานะคนที่เขาจ้างมาเป็นลูก (ลูกจ้าง) ควรจะเตรียมตัว(รวมถึงเตรียมใจ)อย่างไรดี จึงจะทำเกิดสนิมทางอารมณ์ก่อนจะฉลองเทศกาลปีใหม่หรือบางองค์กรก็ปรับค่าจ้างกันก่อนสงกรานต์(ก็ยังเป็นปีใหม่ไทยอยู่นะครับ) คนที่เป็นหัวหน้าห้ามอ่านตอนนี้ครับ

เตรียมเก็บรวบรวมข้อมูลผลงาน ทั้งชิ้นโบแดงและโบดำของตัวเองว่าในรอบปีที่ผ่านมานั้นตัวเราได้ทำงานอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้อภิปราย(เรียกง่ายๆคือเถียง)กับหัวหน้าเราได้ตอนที่ถูกเรียกเข้าไปประเมินผลงาน ถ้าจะให้ดีผมว่าเราควรจะเตรียมตัวเชิงรุกคืออย่ารอให้หัวหน้าเรียกเข้าไปคุย เพราะถ้าถึงเวลานั้นอาจจะเปลี่ยนใจหัวหน้ายาก เพราะหัวหน้ามีลำดับไว้เรียบร้อยแล้ว เราอาจจะลองทำสรุปผลงานประจำปีให้หัวหน้าดูก่อน แต่อย่าเขียนเฉพาะผลงานที่ดีนะครับ ให้ทำทีเป็นเขียนสรุปผลงานเทียบกับแผน เพราะเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจหัวหน้าว่าสิ้นปีนี้เวลาปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสกรุณาชำเลืองดูข้อมูลและข้อเท็จจริงก่อนนะจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

เตรียมเสนอโครงการแนวคิดใหม่ๆ ถ้าผลงานในรอบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยเข้าตากรรมการ กรุณาเตรียมหาแนวคิด ไอเดียใหม่ๆและดีๆนำเสนอหัวหน้าในช่วงก่อนการประเมินผลงาน เพราะถ้าไอเดียถูกใจหัวหน้า เวลาจรดปากกาลงในใบประเมินผลก็อาจจะชำเลืองไปดูโครงการที่เรานำเสนอสำหรับปีหน้าแล้ว อาจจะพอช่วยได้บ้าง เพราะโครงการใหม่คืออนาคตของหัวหน้าเหมือนกัน

เตรียมใจ เป็นการเตรียมตัวครั้งสุดท้ายก่อนจะถูกตัดสิน ช่วงนี้ก็แอบไปสมัครงานที่อื่นไว้บ้าง เพื่อถ่วงดุลกับความเสียใจที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะบางครั้งพอไปสัมภาษณ์เขาไม่รับเราจะทำให้เราเกิดความทุกข์หนักกว่าเงินเดือนขึ้นน้อยหรือได้โบนัสน้อย (อยู่ที่นี่ต่อไปเหอะสงสัยไปไหนไม่ได้แน่ๆยังไงเสียที่นี่ก็ยังมีเงินเดือนสูงกว่าที่ใหม่ให้เรา) ในเมื่อเราไม่สามารถกำหนดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ผมคิดว่าแนวทางหนึ่งที่คนที่เป็นลูกจ้างควรจะทำคือเตรียมตัววางแผนพัฒนาตัวเองในปีต่อไป อย่ามัวแต่เสียใจกับผลที่เราไม่ได้กำหนด วันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราเก่งจริงไม่ต้องรอถึงการปรับเงินเดือนและโบนัสตอนสิ้นปีหรอกครับ เราจะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ก็ได้(ถ้าเก่งจริง)

สรุป ก่อนถึงสิ้นปีนี้แต่ละฝ่ายคงจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับสถานการณ์การปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส องค์กรไหนกำไรเยอะและแบ่งให้พนักงานเยอะก็เตรียมสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ แต่องค์กรไหนที่ได้กำไรเยอะหรือน้อย แต่...จ่ายน้อย ก็เตรียมตัวชี้แจงและพนักงานก็เตรียมทำใจไว้นะครับ สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนในองค์กรสื่อสารทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น องค์กรใดที่มีความโปร่งใส พนักงานเข้าใจ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปลายปีนี้ทุกคนคงจะมีความสุขกันถ้วนหน้ารับปีใหม่นะครับ

“ตลาดเขาปรับค่าจ้างกันกี่เปอร์เซ็นต์” “เราจะปรับค่าจ้างประจำปีอย่างไรดีจึงจะทำให้คนทำงานดีมีกำลังใจ” “ถ้าจ่ายโบนัสแบบนี้จะมีปัญหาอะไรมั๊ย” “บริษัทอื่นๆเขาปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสกันอย่างไรบ้าง” คำถามเหล่านี้ผู้บริหารมักจะฝากเป็นการบ้านให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ทุกปีเช่นกัน
การปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัสจริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะแค่เพียงกระจายเงินก้อนหนึ่งซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด(ทุกปี) ให้ฟิตกับผลงานของพนักงานในองค์กรเท่านั้นเอง แต่พอปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสทีไรเกือบทุกองค์กรมีปัญหาทุกครั้งไป บางบริษัทถึงกับมีการประท้วงกัน ในความเป็นจริงแล้วสาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่งบการปรับค่าจ้างที่จำกัด ไม่ได้อยู่ที่โบนัสมากหรือน้อย แต่อยู่ที่วิธีการในการประเมินผลงาน การประเมินผลที่จะนำไปใช้ในการจ่ายโบนัสมากกว่า เช่น ประเมินผลโดยใช้ดุลยพินิจมากกว่าข้อมูลและข้อเท็จจริง จ่ายโบนัสตามอายุงาน อะไรทำนองนี้

ที่มา
http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104751&Ntype=10

ทำอย่างไรไม่ให้มีงานค้างมากจนเกินไป

ปัญหาที่คนทำงานมักจะเจอคือทำงานไม่ทัน งานเยอะกว่าเวลาที่มีอยู่ หรือไม่ก็มีงานเยอะเป็นช่วงๆ แน่นอนว่าการเป็นลูกจ้าง เขาจ้างเรามาเป็นลูก ดังนั้น พ่อแม่(นายจ้าง) เขาคงจะไม่จ้างเรามานั่งว่างๆอยู่ที่ทำงานแน่นอน เขาจะพยายามหางานให้เท่ากับหรือมากกว่าที่จ่ายค่าจ้างให้เราอยู่แล้ว ดังนั้น การมีงานมากจึงไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ถ้าใครไม่มีงานให้ทำซิถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ(เขาอาจจะบังคับให้เราลาออกโดยทางอ้อมก็ได้ หรือไม่ก็สะกัดกั้นการเติบโตของเราก็ได้)


ถ้าต้องการทำงานให้เสร็จทันเวลาหรือต้องการให้มีงานค้างน้อยที่สุดควรจะมีเทคนิคในการทำงานดังนี้
• จัดลำดับความสำคัญของงานทุกครั้งที่มีงานใหม่เข้ามา เพราะงานที่เรามีอยู่อาจจะสำคัญน้อยกว่า อาจจะเร่งด่วนน้อยกว่างานใหม่ที่เข้ามา ดังนั้น จึงต้องมาจัดลำดับในการทำงานกันใหม่ทุกครั้ง และควรจะแบ่งงานออกเป็น 4 กองหรือส่วนดังนี้
1. งานสำคัญมากและเร่งด่วนมาก
2. งานสำคัญมากแต่เร่งด่วนน้อย
3. งานสำคัญน้อยแต่เร่งด่วนมาก
4. งานสำคัญน้อยและเร่งด่วนน้อย
เมื่อจัดลำดับความสำคัญแล้ว ให้ลงมือทำงานโดยเริ่มทำจากงานกองที่ 1 ก่อน เมื่องานกองที่ 1 เสร็จแล้ว ค่อยทำกองที่ 2 ส่วนงานกองที่ 3 ควรจะมอบหมายให้ลูกน้องที่ทำงานเร็วทำ และงานกองที่ 4 อาจจะมอบหมายให้ลูกน้องหรือคนอื่นทำก็ได้ เพราะเสียหายหรือผิดพลาดขึ้นมาก็ไม่มีผลมากนัก เพราะเป็นงานที่สำคัญน้อย
• เลิกนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง เมื่อมีงานเข้ามาและมีเวลา จงรีบทำงานนั้นๆให้เสร็จก่อนทุกครั้ง อย่ารอ... อย่าคิดว่าจะทำ... อย่าพูดว่าเดี๋ยวค่อยทำ...อย่าคิดว่าทำแป๊บเดียวก็เสร็จ เพราะในระหว่างที่เรารีรออยู่นั้นอาจจะมีงานอื่นที่สำคัญและเร่งด่วนกว่าเข้ามาแทรก ทำให้เราไม่มีเวลาทำงานก่อนหน้านั้นเลยก็ได้ สุดท้ายก็จะกลายเป็นงานค้างงานคาหาเวลาสะสางไม่ได้
• อย่าขยายเวลาและสถานที่ทำงานเมื่อมีงานมาก ถ้าทุกครั้งที่เรามีงานมากทำไม่ทันแล้วเราทำงานเกินเวลา หรือนำงานกลับไปทำที่บ้าน รับรองได้ว่าการทำงานแบบนี้จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติ เพราะเรามักจะคิดว่าเรามีเวลาทำงานมากขึ้นมีสถานที่ทำงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าบางช่วงงานไม่เยอะ แต่เราก็ยังติดอยู่กับการทำงานเกินเวลาและเอางานไปทำที่บ้าน ยิ่งจะทำให้การทำงานของเราขาดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จงอย่าคิดว่าเวลาและสถานที่ทำงานที่ใช้เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีงานเยอะเป็นมาตรฐานในการทำงาน
• จงอย่าอวดเก่งและหวงงาน คนทำงานส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองเก่งที่สุดในการทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ และมักจะคิดว่าคนอื่นทำได้ไม่ดีเท่ากับตัวเอง คนบางคนไม่ยอมแม้จะมอบหมายงานตัวเองให้ลูกน้องช่วยทำ ถ้าเป็นเช่นนี้รับรองได้ว่าเราจะมีงานมากขึ้นๆตามระดับหน้าที่ความรับผิดชอบ เมื่อตำแหน่งสูงขึ้นงานใหม่ก็มา ส่วนงานเดิมก็ยังอยู่(เพราะไม่ยอมปล่อยให้ลูกน้อง) สุดท้ายก็เก็บไว้คนเดียว ใครที่อยากจะทำงานให้เสร็จทันเวลาและไม่มีงานค้าง ก็จงฝึกเปิดใจให้คนอื่นช่วยงาน ทำงานแทนตัวเองบ้าง และต้องยอมลำบากใจในช่วงแรกๆที่เขายังไม่เก่ง แต่ถ้ามองกันไกลๆแล้ว รับรองได้เลยว่าเราจะสบายขึ้นเยอะเมื่อลูกน้องของเราเก่งขึ้น งานบางงานไม่จำเป็นต้องมอบหมายให้ลูกน้องทำเสมอไป อาจจะให้คนในหน่วยงานอื่น อาจจะให้บุคคลภายนอกทำให้ก็ได้
สรุป ถ้าไม่ต้องการเป็นคนบ้างานประเภทบ้าหอบฟาง(งาน)กลับบ้าน ก็ต้องพยายามหาหนทางลดงานหรือเร่งทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น จะด้วยวิธีการใดก็ตาม เพราะถ้าเรายิ่งทำงานไม่เสร็จหรือมีงานค้างอยู่บ่อยๆ นอกจากจะเป็นผลเสียต่อผลงานของเราแล้ว ยังจะนำไปสู่นิสัยเสียอีกด้วยนะครับ เพราะฉะนั้น ใครที่เป็นแบบนี้อยู่จงรีบแก้ไขด่วนครับ
ที่มา
http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104768&Ntype=10

ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การที่เราจะทำการใดให้ประสบความสำเร็จได้นั้น อาจจะต้องมีแรงจูงใจมาผลักดัน

แรงจูงใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท

คือ แรงจูงใจจากภายนอกและแรงจูงใจจากภายใน แรงจูงใจจากภายนอกมีอิทธิพลต่อทรรศนะของพวกเราที่มีต่อการงาน และการเสียสละต่าง ๆ และเป็นตัวคอยกระตุ้นให้คุณพยายามเอาชนะสิ่งต่าง ๆ ในขณะที่แรงจูงใจจากภายในเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเราสนุกสนานไปกับการงานและสนุกกับชีวิตของเราเอง

ถ้าคุณเป็นคนที่มีแรงจูงใจจากภายนอกเป็นตัวกระตุ้นซะเป็นส่วนใหญ่ คุณเป็นคนมีความทะเยอทะยานเหลือเฟือมากเกินพอดีเสียจนไม่ค่อยจะยอมสนุกสนานไปกับงาน หรือคุณภาพของงานที่คุณทำ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณมีเพียงว่า คนอื่นเขาจะประเมินความสำเร็จของคุณอย่างไร คุณเป็นคนที่ใช้เวลากับการทำงานมาก แต่ไม่ค่อยจะมีสมาธิในการทำงานสักเท่าไร เพราะคุณมีอันใช้เวลาเที่ยววิเคราะห์เรื่องราวความเป็นไปภายในที่ทำงานซะเป็นส่วนใหญ่ และก็มีคนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีแรงจูงใจจากภายในสูง หากคุณเป็นคนประเภทนี้ คุณจะรักงานของคุณ และไม่ค่อยแคร์ว่าคนอื่นเขาจะสนใจว่าคุณประสบความสำเร็จหรือไม่ ตัวคุณเองนั่นแหละที่เป็นคนประทับใจในผลงานของคุณ คุณไม่สนใจคำสรรเสริญเยินยอ แถมไม่สนใจจะแข่งขัน คุณไม่วางกลยุทธ์ระยะยาว แต่คุณจะพยายามต่อสู้เพื่อแสวงหาความท้าทายและความสนใจส่วนตัว ไม่ใส่ใจในเวลาที่คุณเสียสละใช้เพื่อนการงาน เพราะคุณสนุกสนานไปซะหมดกับสิ่งที่คุณทำอยู่

การแข่งขัน 3 รูปแบบ

- การแข่งขันเชิงรุก จุดประสงค์หลักที่ทำให้คนเรารุกบุกหน้า ก็เพื่อให้ตนเองก้าวล้ำนำหน้าคนอื่น ๆ แต่ความรู้สึกนี้จะจางหายไปได้ค่อนข้างจะเร็ว ใครก็ตามที่ตั้งใจแน่วแน่จะเอาชนะผู้ร่วมงานคนอื่นมักจะประสบความสำเร็จด้อยกว่า ความสำเร็จที่ว่านี้เขาวัดกันที่ตำแหน่งหน้าที่การงานเงินเดือน และการได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การต่อสู้แข่งขันเป็นตัวบ่งบอกลักษณะของคุณได้ ว่ากันว่าคนที่รักการแข่งขันเชิงรุก เป็นคนลึกลับ ไม่ไว้ใจคนอื่น ยักย้ายถ่ายเท และคอยคิดแต่จะเอาชนะมากกว่าที่จะตั้งใจทำงานของตัวเอง หรือร่วมงานกับคนอื่น แต่มันก็มีผลเสียตรงที่ความอยากจะเอาชนะกลับกลายเป็นตัวบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนอื่น

- การแข่งขันเชิงรับ จะเป็นรูปแบบการป้องกันตัวเองมากกว่าเที่ยวไปรุกรานชาวบ้านเขา รูปแบบนี้จะเป็นตัวจูงใจให้คุณประพฤติตัวเพื่อหวังผลเลิศ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันตัวคุณจากการถูกคนอื่นมาโจมตี แถมยังทำให้คุณคอยจับตามอง และเฝ้าระวังคู่ต่อสู้ ตลอดจนเรียนรู้ว่าคู่ต่อสู้ของคุณนั้นเขาทำอะไรกันอยู่บ้าง ทำให้คุณมีสายตาที่กว้างไกล แต่ถ้าจะมองกันในทางลบแล้ว การแข่งขันเชิงรับอาจเปลี่ยนเป็นความอิจฉาริษยา เมื่อใดก็ตามที่สภาพการงานของคุณคลอนแคลน หรือโดนคนอื่นก้าวล้ำหน้าไป กรณีนี้เกิดขึ้นได้กับคนที่อยากจะเอาแต่ชนะท่าเดียว

- การแข่งขันต่อสู้จากภายใน การแข่งขันนี้เป็นแรงจากภายในตัวคุณที่คอยผลักให้คุณดำเนินการใด ๆ ไปได้ แต่ความสนใจที่คุณมีต่อสิ่งใด ๆ นี้จะหมดไปในเวลาไม่นานนัก แรงจูงใจจากการแข่งขันนี้ทำให้คุณทำงานยากเย็นใด ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติของคุณที่มีต่อการงานชิ้นนั้นด้วย

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรเปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ขณะคุณโดนแรงแข่งขันพาคุณลิ่วสู้การงาน คุณอาจไม่ยอมรับคำแนะนำต่าง ๆ ของคนอื่น หรืออีกทีคุณอาจไม่ยอมรับความร่วมมือใด ๆ จะทำให้คุณได้ข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็นจากคนอื่นเขา ซึ่งจะช่วยเสริมให้คุณบรรลุเป้าหมายของคุณเองได้ รวมทั้งของคนอื่นด้วยยังไงล่ะ

คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน

ฤดูกาลนี้นอกจากจะเป็นห้วงเวลาปรับเปลี่ยน ผ่องถ่ายอำนาจทางการเมืองแล้ว ยังมีความสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าทำงานตามบริษัทห้างร้านต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาที่กำลังสำเร็จการเรียนจากสถาบันการศึกษาต่างๆ

"สามก๊ก" ฉบับที่ผู้เขียนเคยนำมาเผยแพร่เป็นตอนๆ ในคอลัมน์นี้ มีตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับเล่าปี่ และโอวาทที่เขาได้ให้กับนิสิตนักศึกษาของวิทยาลัยพาณิชย์ "ตงอู๋" ในพิธีปัจฉิมนิเทศก์ ซึ่งเล่าปี่ได้เน้นประเด็นเกี่ยวกับ "การเมืองในสำนักงาน" อันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดต่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าของพนักงานในบริษัท
ตามบันทึกการบรรยายในวันนั้น ปรากฏว่ามีนักศึกษาชื่อ โลซก และจิวยี่ ร่วมฟังอยู่ด้วย
เล่าปี่ได้ใช้ประสบการณ์ของตนเองในบู๊ลิ้มบรรยายให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการพัฒนาตนเองเป็น "ตุ๊กตาล้มลุก" ในสถานที่ทำงาน โดยอ้างอิงตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ศิลปดังกล่าว เช่น โจโฉ ตั๋งโต๊ะ และแม้แต่ตนเอง
เคล็ดลับความสำเร็จในสถานที่ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ "วัฒนธรรมของการทำงาน" อันประกอบด้วยพฤติกรรมของพนักงานภายใต้สี่หัวข้อใหญ่
ก.ข้อเตือนสติห้าประการ
เล่าปี่ชี้ให้เห็นว่า ในชีวิตประจำวันของพนักงานในบริษัทมักจะต้องเผชิญกับ "เรื่องขี้ประติ๋ว" กล่าวคือเรื่องหยุมหยิม ซึ่งมีผลในทางลบ เปรียบเสมือนจุดดำจุดหนึ่งบนกระดาษสีขาวที่สามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่องานรับผิดชอบ และอาจนำไปสู่การถูกพิจารณาให้ออกจากงานได้
เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว เล่าปี่ได้เสนอข้อเตือนสติห้าประการให้นักศึกษาพิจารณาคือ :-
1.อย่าพูดหรือฟังเรื่องไร้สาระระหว่างทำงาน ซึ่งจะทำให้คนอื่นเข้าใจไปว่าทั้งผู้พูดและผู้ฟังต่างว่าง ไม่มีงานทำ

2.อย่าเกียจคร้าน โดยต่อหน้าผู้บังคับบัญชาก็ทำเสมือนขยันหมั่นเพียร แต่ลับหลังกลับกลายเป็นคนละคน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ย่อมจะถูกจับได้ ไม่ช้าก็เร็ว
3.อย่านำเอาทรัพย์สินของบริษัทติดตัวกลับบ้านไป ไม่ว่าสิ่งของนั้นจะใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม การไม่ยักยอกสิ่งของเล็กน้อยเป็นการสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่ตนเอง(ซึ่งจะได้รับการตอบแทนจากบริษัทอย่างสมเกียรติในที่สุด) และไม่เสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงหรือเกียรติประวัติของตน
4.อย่าแต่งตัวแต่งกายนอกรูปแบบ การที่สุภาพสตรีแต่งกางเกงยีนส์ หรือสุภาพบุรุษรวบผมหางม้า เท่ากับสร้างบรรยากาศที่ไม่เข้ากับสถานที่ทำงาน หรือสร้างบรรยากาศที่แจ่มใสงดงาม แต่ทำลายเอกภาพของที่ทำงานด้วย
5.อย่าใช้เวลาทำงานไปทำเรื่องส่วนตัว เช่น ไปซื้อเสื้อผ้า เสริมสวย ตัดผม เป็นต้น
เล่าปี่สรุปว่า ไม่มีผู้บังคับบัญชาหรือเถ้าแก่คนไหนจะชอบเห็นพนักงานของตนละเมิดข้อเตือนสติทั้ง 5 ประการดังกล่าว พร้อมตบท้ายว่า "ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปในเวลาที่สำคัญหรือคนสำคัญในยามปกติ ก็สามารถเลี่ยงการกระทำสิ่งไร้สาระ"
เล่าปี่ให้โอวาทนักศึกษาต่อไปว่า พนักงานต้องตระหนักว่าแท้จริงแล้วทุกคนทำงานเพื่อตนเอง หามิใช่เพื่อเจ้าของหรือคนอื่นในบริษัท(แม้ว่างานที่ตนทำนั้นคนอื่นจะแบ่งปันหรือสั่งให้ทำก็ตาม) ฉะนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องเตรียมอาวุธประจำตัวห้าชนิดดังต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม
ข.อาวุธประจำตัวห้าชนิด
1.กล้ารับผิดชอบ พนักงานส่วนมากคิดแค่รับผิดชอบเฉพาะในสิ่งที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติ โดยหารู้ไม่ว่าทรรศนะดังกล่าวไม่ช่วยให้ตนได้รับการพิจารณาในตำแหน่งรับผิดชอบที่สูงขึ้น เล่าปี่อธิบายเพิ่มเติมว่า "ความกล้าในการรับผิดชอบ" ไม่ใช่ "การรับผิดชอบที่ไร้สติ" แต่เป็นการเข้าใจเกี่ยวกับ "การรับผิดชอบต่อตัวเอง"
2.สามารถค้นพบความสุขในการทำงาน ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่มาจากประสบการณ์ในการทำงาน พนักงานต้องไม่ทำหน้าเศร้าหมองในการปฏิบัติ ซึ่งมีผลทางลบต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้ การเข้าใจความหมายของงานที่ได้รับมอบหมายจะช่วยทำให้รู้ซึ้งถึงความเหมาะสมของตน ต่องานนั้นๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขได้
3.แม้งานที่ตนชอบทำอาจยากลำบาก แต่ทรรศนะของตนต่องานนั้นจะช่วยการต่อสู้หรือเผชิญหน้ากับความยากดังกล่าว นี่ก็คือการพัฒนาทัศนคติที่สร้างสรรค์ เพื่อเผชิญหน้ากับการท้าทายต่างๆ ทัศนคติดังกล่าวจะนำไปสู่การเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาและความไม่หวาดผวาต่อการท้าทายต่างๆ
4.สร้างจิตสำนึกแห่งเอกภาพที่เข้มแข็ง เล่าปี่ได้ยกตัวอย่างการผนึกกำลังระหว่างตัวเขา กวนอู กับเตียวหุย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อความสำเร็จแห่งการสร้างอาณาจักรของตน
5.ปลูกฝังนิสัยการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต เล่าปี่เตือนสติผู้ฟังว่า บางบริษัทได้ออกคำเตือนถึงพนักงานว่า "หากไม่เปลี่ยนสมองก็ต้องเปลี่ยนคน" ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์แห่งการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นนั้น "ตลาดสามารถทอดทิ้งบริษัท และบริษัทก็สามารถทอดทิ้งพนักงาน" ดังนั้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง พนักงานจึงต้องปรับปรุงเรียนวิชาการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ค.การจัดการกับประเภทบุคคลปัญหาในที่ทำงาน
เล่าปี่บรรยายต่อไปว่า ความสำเร็จในการทำงานยังต้องอาศัยมนุษยสัมพันธ์ที่ได้ผล เล่าปี่ได้ให้ตัวอย่างลักษณะการร่วมงานกับคนอื่นในสถานที่ทำงานที่อาจต้องเผชิญหน้ากับปัญหา ดังนี้
1.มีพวกที่ชอบซุบซิบนินทาใส่ความ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในกรณีนี้จะต้องพยายามปิดปาก ให้ความสำคัญความน่าเชื่อถือต่อคำพูดในหมู่เพื่อนร่วมงาน
2.มีพวกช่างบ่น ชอบแสดงความไม่พอใจ ในสภาพการณ์เช่นนี้ พนักงานต้องปรับจิตใจของตนรับฟังคำบ่นบ้าง แต่พยายามอย่าทำตัวเป็นคนขี้บ่น สร้างความรำคาญให้กับคนอื่น
3.มีพวกชอบแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทั้งๆ ที่ตนเองรู้เพียงผิวๆ เผินๆ (พวก "น้ำส้มสายชูครึ่งขวด" (ป้านผิงชู่)) บุคคลเหล่านี้พยายามสร้างความประทับใจโดยแทรกตัวเองเข้าไปทุกเรื่อง วิธีแก้คือพยายามหุบปาก และใช้เวลาไปแสวงหาข้อเท็จจริงแทน การค้นพบความจริงโดยเอาเวลาจากการไปพูดแทรกที่อื่นจะทำให้เกิดการวางตัวที่ดีขึ้น บุคคลจำพวกนี้ต้องตระหนักว่าการไม่แสดงว่าตนรู้ (ทั้งๆ ที่ไม่รู้แท้จริง) ไม่ได้หมายความว่าจะสูญเสีย ความเคารพหรือความเชื่อถือไป
4.พวกที่เอาใจเบื้องบนแต่ดูถูกรังแกเบื้องล่าง (พวก "ตบตูดม้า" (ไพหม่าพี่)) สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า "คนจริงไม่เปิดโปงโฉมหน้าที่แท้จริง" ต้องหัดมองและปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานในระดับเท่าเทียมกัน
5.พวก "นางสุนัขจิ้งจอก" (หูหลีจิง) ซึ่งสถานที่ทำงานไม่ควรเป็นสถานที่แสดงมารยาร้อยเล่มเกวียน

10 อุปนิสัยที่ไม่ควรแสดงในที่ทำงาน
ทำอย่างไรเมื่อคุณไม่มีความสุขในการทำงาน
หลักคิด คติพจน์และปรัชญาในการทำงาน

ผู้เีขียน : สารสิน วีระผล
ที่มา : คอลัมน์ คลื่นความคิด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548
http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538767074&Ntype=121

15วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ

เงินแต่ละบาท กว่าจะหามาได้ ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ
ได้มาแล้ว ต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานาน เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น

1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย
แค 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้

2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล
แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน

3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์
แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน
เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้
(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )

4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด
อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ
ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ

5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค
ใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี

6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน
พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก

7. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ
ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต

8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม
ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ

9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ

10. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ

11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัล
ที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้

12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า)
ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ

13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)

14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่

15. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น
เมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่ง
พาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ

ที่มา - deedeejung.com

การตั้งเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ

* การกำหนดเป้าหมาย
เราควรจะกำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจนว่าอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้า
เราต้องการจะ "เป็นอะไร" "มีอะไร" มากน้อยเพียงใด และควรจะมีการทบทวนเป้าหมายเป็นระยะๆ เช่น
ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี เพราะเป้าหมายคือ จุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์
และสิ่งที่เราจะต้องทำการกำหนดเป้าหมายจะต้องมีความท้าทาย ไม่ใช่ง่ายหรือยากจนเกินไป
เพราะเป้าหมายที่ท้าทายนอกจากจะมีความหมายต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราแล้ว
ยังเป็นบ่อเกิดแห่งความภูมิใจในอนาคตด้วยหลังจากที่เราบรรลุหรือถึงแม้จะไม่บรรลุเป้าหมายก็ตาม
ถ้าเป้าหมายของเราง่ายจนเกินไป เมื่อเราบรรลุเป้าหมายแล้ว เราจะไม่มีความภูมิใจอะไรหลงเหลืออยู่เลย เช่น
ถ้ามีใครมาบอกเราว่า ถ้ามีเวลาให้เรา 1 ปีในการฝึกซ้อมเพื่อไปวิ่งแข่ง 100 เมตร โดยให้เราเลือกว่า
เราจะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกหรือแชมป์นักเรียนอนุบาล เราคิดว่าเราจะเลือกไปวิ่งแข่งกับใคร
แน่นอนทุกคนคงจะเลือกที่จะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกอย่างแน่นอน
เพราะถึงแม้จะแพ้ก็ยังมีความภาคภูมิใจกว่าชนะเด็กอนุบาล


* สร้างแรงจูงใจ
ในระยะสั้นเราอาจจะสร้างแรงจูงใจโดยใช้ปัจจัยภายนอกก่อนก็ได้ เช่น
ขยันทำงานเพราะต้องการเงิน เพราะต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
แรงจูงใจภายนอกจะเป็นแรงจูงใจในระยะสั้นได้ค่อนข้างดี
แต่แรงจูงใจนี้จะไม่จีรังยั่งยืน มันจะลดระดับความรุนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องดูอื่นไกลให้ดูว่า
เวลามีการปรับเงินเดือนประจำปี คนจะมีไฟในการทำงานเพียงเดือนสองเดือนที่ได้เงินเดือนใหม่
พอเวลาผ่านไปหลายๆเดือนเงินเดือนใหม่ที่ได้ไม่ถือเป็นแรงจูงใจอีกต่อไป

แรงจูงใจที่จะอยู่กับเรานานและพลังงานไม่มีวันหมดคือแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองภายใน เช่น
แรงจูงใจที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตที่เกิดจากแรงบันดาลใจบางสิ่งบางอย่าง
คนบางคนแรงจูงใจอยู่ที่ได้ทำงานที่ตัวเองชอบ คนบางคนมีแรงจูงใจที่เกิดจากความยากลำบากในชีวิต


สรุป การที่เราจะนำพาชีวิตไปขึ้นแท่นแห่งความสำเร็จนั้น
สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่เราได้กำหนดเป้าหมายชีวิตได้ถูกต้องและชัดเจนมากน้อยเพียงใด เป้าหมายมีความท้าทายหรือไม่
นอกจากนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างพลังงานขับเคลื่อนชีวิตไปสู่เป้าหมาย
โดยการสร้างแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน
ถ้าต้องการเพิ่มระดับความแรงของแรงจูงใจขึ้นไปอีก อาจจะต้องสร้างพันธสัญญาโดยการบอกับคนรอบข้างว่า
เป้าหมายในชีวิตเราคืออะไร เพราะพันธสัญญานี้คือแรงจูงใจ(เชิงบังคับ) ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เราลด ละ
หรือเลิกล้มความตั้งใจที่จะไปสู่เป้าหมายที่ได้ให้สัญญาไว้ได้นะครับ

" สูตรความสำเร็จของชีวิต = ความท้าทายของเป้าหมาย x ระดับแรงจูงใจ"

ที่มา
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=07-2009&date=16&group=27&gblog=167

Working SMART (การทำงานอย่างชาญฉลาด)

Working SMART (การทำงานอย่างชาญฉลาด)

การประสบความสำเร็จในงานไม่ได้อยู่ที่คุณทำงานหนักเพียงใด แต่อยู่ที่คุณทำงานได้อย่างชาญฉลาด หรือ smart แค่ไหน ....อย่าแค่พยายามทำตัวให้ busy ตลอดเวลา เหมือนกับมดที่มันวิ่งวุ่นๆ แต่ควรจะรู้ว่าคุณกำลัง busy อยู่กับเรื่องอะไร

การจัดสรรเวลาการทำงานคนเราอาจจะจัดได้ 5 สไตล์ ลองดูสิว่าเราอยู่ประเภทไหน

1. ทำสิ่งที่เร่งด่วน หรือเสียงดัง ก่อน ... (Urgent-Loud things first)
ในชีวิตการทำงานของเรา เราก็ต้องเจอเสียง complaint หรือ request ต่างๆที่เข้ามาซึ่งแต่ละเรื่องก็บอกว่าเป็นเรื่องด่วนๆทั้งนั้น หรือเป็นเรื่องที่มาจากคนที่มีเสียงดัง บางอย่างก็เป็นเรื่องเร่งด่วนจริงที่เราควรให้เวลากับมัน แต่บ่อยครั้งมันก็ไม่ด่วนจริง .....ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า เรื่องใดที่เราสมควรให้เวลากับมัน เรื่องใดที่คนอื่นสามารถทำได้ หรือ เรื่องใดที่ไม่ว่าให้เวลากับมันเท่าไรก็ไม่เกิดประโยชน์...แยกแยะให้ได้ว่าเรื่องใดด่วนจริง หรือ ไม่ด่วนจริง

2. ทำสิ่งยากๆ ก่อน (Unpleasant – Hard things first)
บางครั้งคนเราก็มีเหตุจูงใจที่คิดว่าการทำงานยากๆก่อน เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือท้าทาย ดังนั้นธรรมชาติของคนนั้นก็คือจะนำสิ่งที่ยากไว้อยู่บนสุดของ list งานที่ต้องทำ แต่ ก่อนที่จะเริ่มทำงานยากๆนั้น ให้คิดถึง value ของสิ่งนั้นก่อน ถ้าเราพบว่า การที่เราไปทำงานที่ง่ายกว่าก่อนนั้นเป็นการใช้เวลาของเราที่คุ้มค่ากว่าก็ทำสิ่งนั้นเถอะ อย่าพึ่งไปจมอยู่กับงานยากๆเลย

3. ทำสิ่งที่ยังค้างคาก่อน (Unfinished – Last things first)
ถ้าคนเราทำงานแบบ day-to-day schedule เราก็จะพบว่างานใน list หางว่าว ส่วนใหญ่นั้นได้ทำไปแล้ว จะเหลือเพียงงานส่วนน้อยที่อยู่ท้ายๆ ที่อาจจะยังไม่ได้ทำ เช่น มีงานที่ต้องทำ 10 อย่าง วันนี้ทำไปแล้ว 8 อย่าง เหลืออีก 2 อย่างที่ไท้ได้ทำในวันนี้ ...เราจะทำอย่างไรดี…………..

แนวโน้มก็คือ คนเราจะเอา 2 งานที่เหลือไปทำก่อนอื่นๆในวันรุ่งขึ้น ....ซึ่งบางครั้งมันไม่ใช่วิธีการใช้เวลาที่ดีที่สุด ..............สาเหตุเพราะ สิ่งที่อยู่ท้ายๆของ list ที่ไม่ได้เป็น top priority ของวันนี้ ที่เราไม่ได้ทำก็ไม่น่าจะเป็น top priority ในวันถัดไป ...ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำงานที่ค้างคาอยู่ ให้ compare priority กับงานที่ต้องทำใหม่อีกทีหนึ่งว่าสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ....ถ้าไม่สำคัญ ก็ใส่ต่อท้าย list ไปว่าเป็นงานที่ควรทำท้ายๆ อีก ........ แล้วเราไปทำงานที่สำคัญกว่าก่อน

4. ทำสิ่งที่ไม่ต้องใช้สมองก่อน (Unfulfilling – Dull things first)
ในบรรดา 5 style นั้น แบบนี้อาจจะเป็นแบบที่คนทั่วไปใช้เวลา ก็คือ การทำงานง่ายๆ ที่ไม่ค่อยได้ใช้สมองมากนัก หรืองานน่าเบื่อ ก่อนที่จะเริ่มทำงานสำคัญๆ เช่น อ่านอีเมล์ , ส่ง fax , หรือ copy เอกสาร ...ถึงแม้ว่างานเหล่านี้เป็นงานที่ต้องทำ แต่มันก็ไม่น่าจะเป็นงานที่มี priority สูง....

เค้ากล่าวว่า เหตุผลที่เป้าหมายหลักๆไม่บรรลุ ก็เพราะคนเราไปเสียเวลาทำสิ่งที่สมควรทำทีหลังก่อน แทนที่จะกระโดดเข้าไปทำงานที่สำคัญที่สุดก่อน

5. ทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน (Ultimate – First thing first)
โดยปกติพวกเราใช้เวลาให้กับสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนหรือไม่...............
ไม่ว่าเราจะทำมันก่อน ทำอันดับสอง หรือทำมันในอันดับสุดท้าย ....ไม่ว่าเวลาไหนก็ตามที่เราทำ มันก็สำเร็จได้ด้วยเรา ……….
ขอให้เราทุกคน มุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะให้เวลาที่ดีที่สุดของเราตั้งแต่บัดนี้และในอนาคต กับงานที่สำคัญที่สุดก่อน

ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูดีน่าชมเชยในการที่เราขยันขันแข็งและทำงานหนัก hard working ….แต่การทำงานอย่าง smart เป็นสิ่งที่น่าจะดีกว่า ...........
การที่เราจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่อยู่ที่การที่เรา check งานใน list ว่าเราทำครบ check list ในแต่ละวันหรือยัง .........
เราจัดลำดับความสำคัญของเวลาของเรา เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายสำคัญของงานเรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย Dr. John C. Maxwell
ที่มา : http://coachlikeapro.tripod.com/basketball/id70.html

Friday, October 8, 2010

เรียนรู้ที่จะคิด สร้างผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/2007-10-26-seminar-kon-kaen

จัดการขยะ

ที่มา
http://gotoknow.org/blog/pranee-board/76314

จัดการขยะที่ดีที่สุด จะต้องไม่นำขยะออกจากบ้าน โดยที่ยังไม่ได้จัดการกับขยะให้ถึงที่สุด ที่สำคัญคือตัวเราร่วมกันสร้างสำนึก ในการคัดแยกขยะ มีข้อปฏิบัติเพื่อการกำจัดขยะด้วยตนเองทีทำได้ง่าย ดังนี้

1. การลดการใช้ ( Reduce ) เช่น เวลาทีเราไปตลาดก็ใช้ตะกร้าหรือกระเป๋าผ้าไปจ่ายตลาด การใช้ปิ่นโตห่อข้าว แทนถุงพลาสติก ก็ดูน่ารักไปอีกแบบ

2. การใช้ซ้ำ ( Reuse )เช่น แยกถุงพลาสติกที่ไม่สกปรกมาใช้ได้อีก กระดาษทีใช้น่าเดียวก็นำมาใช้ทั้ง 2 ด้าน

3. การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม ( Refill ) ได้แก่ เครื่องสำอางค์ น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ช่วยลดทรัพยากรในการผลิตได้ด้วย แถมราคาถูก

4. การซ่อมแซมเพื่อใช้ใหม่ ( Repair ) เช่นเสื้อผ้า โด๊ะ เตียง แทนการซื้อใหม่ ที่สำคัญช่วยประหยัดได้ด้วย

5. เลือกใช้วัสดุที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ( Return ) เช่น เครื่องดื่มที่สามารถแลกคืนขวดได้

6. การรีไซเคิล ( Recycle )เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านร้านรับซื้อของเก่า อาจนำไปแลกไข่ได้ บางครั้งขายได้เงิน ซึ่งก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวทาวหนึ่ง

7. การหยุดยั้งหลีกเลี่ยง ( Reject ) จากวัสดุที่ย่อยยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ถ่านไฟฉายเลือกแบบชาร์ตไฟได้ก็ดีเยี่มเลย

ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ลองนำไปใช้กับตนเองก่อน แล้วบอกต่อเล่าสู้กันฟัง จาก 1 คนก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่กับเราไปนานๆๆ

7 ' R

ที่มา
http://ptjsw.blogspot.com/2009/08/blog-post_05.html

โดยยึดหลัก 7 R ในการ เตรียมตัวรับการวิพากย์ ของคณะกรรมการ คือ
7 R ในการวิพากย์งานวิจัย ประกอบด้วย
1. Research Idea
2. Research Problem
3. Research Question
4. Research Objective
5. Research Design
6. Research Framework
7. Research Title
ส่วนใครที่ทำเรื่องวิจัยเชิงคุณภาพ การวิพากย์ งานวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องที่นี่ คุณ มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขาเสนอไว้เป็นวิทยาทานให้กับทุกคน

http://gotoknow.org/blog/phddiary/96953

เรื่อง วิธีวิพากษ์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (1) เธอเขียนสรุปย่อๆได้ดังนี้

คนที่ไม่ได้ทำงานวิจัยด้านนี้ ไม่เคยเรียนด้านนี้มาเลยก็น่าจะได้ประโยชน์จากบันทึกนี้ค่ะ จุดประสงค์ของบันทึกนี้คือการทำหน้าที่เป็น "โพย" ค่ะ ผู้เขียนจะ list เป็นข้อๆไปว่า เวลาอ่านบทความวิจัยเชิงคุณภาพนั่นควรคิดถามอะไรตัวเองในใจไปด้วย บทความแบบไหนเป็นประโยชน์ (usefulness) แบบไหนน่าเชื่อถือ (credibility)
1. คำถามวิจัย/จุดประสงค์งานวิจัยฟังดูมีเหตุผล มากพอที่ควรจะเสียเวลาเสียทรัพยากรมาหาคำตอบหรือไม่ งานนี้เป็นการเติมเต็มให้ gap of knowledge ได้จริงหรือไม่นั่นเอง

2. คำถามแบบนี้เหมะสมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรึเปล่า

3. อธิบายว่าเป็นงานเชิงวิจัยประเภทไหน เช่น เป็น phenomenology, ethnography, case study, grounded theory, action research, participatory action research ฯลฯ (เอาวิธีมาผสมผสานกันก็ได้ค่ะ แถมแต่ละแบบก็มีโรงเรียนย่อยไปอีก เช่น traditional ethnography, interpretive ethnography เป็นต้น)

4. นักวิจัยมีีกรอบแนวคิดเบื้องหลังงานนี้อย่างไร บ้าง มีการแสดงออกอย่างชัดเจนในจุดยืนของเขาว่ามีความเชื่อเรื่อง epistemology อย่างไร เช่น เขาใช้แนวคิดแบบ post-postivisit หรือ critical theorist หรือ post-modernist นอกจากนั้นยังมีมุมมองในเรื่องนั่นๆอย่างไร ต้องประกาศออกมาให้ชัดเจน เช่น เป็น feminist ทำงานวิจัยเรื่องสิทธิสตรี หรือ เป็นหมอทำงานวิจัยเรื่องสิทธิของคนไข้ เป็นต้น คนอ่านจะได้รู้ว่านักวิจัยมาจากมุมมองไหน (เพราะงานวิจัยเชิงคุณภาพเชื่อว่า เราไม่มีทางกำจัด bias ได้ นักวิจัยทุกคนมี preconception ในเรื่องที่กำลังศึกษา เราไม่ควรเสแสร้งพยายามจะกำจัด bias แต่ควรประกาศให้รู้แต่เนิ่นๆไปเลยว่าคิดยังไง ให้คนอ่านวิพาษ์เอง)

5. มีวิธีเก็บข้อมูลกี่วิธี อะไรบ้าง (individual interview, focused group discussion, observation, document analysis ฯลฯ) ถ้ามีหลายวิธี นักวิจัยได้นำข้อมูลจากแต่ละแหล่ง แต่ละเวลามาเทียบกันหรือไม่ (triangulation) ถ้าใช่งานก็น่าเชื่อถือมากขึ้น (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่จุดประสงค์การวิจัยค่ะ บางกรณีแค่สัมภาษณ์คนเดียวแต่ได้ข้อมูลลึกซึ้ง นำมาเขียนเป็นอัตชีวประวัติก็มีประโยชน์มากมาย กว่างานวิจัยที่ส่งใบสอบถามหาคนเป็นพันๆได้)

6. มีเกณฑ์การเลือก สถานที่ เลือก participant หรือ เลือกกรณีศึกษา อย่างไร (เช่น snowball sampling, theoretical sampling, typical case sampling, extreme case sampling, opportunistic sampling ฯลฯ) ไม้ต้องมองหาว่า random sampling หรือ มีจำนวน subject สูงค่ะ แต่ต้องดูว่า ที่เลือกมาเนี่ยะเหมาะสมกับคำถามวิจัยหรือไม่ แล้วคนๆนั้น หรือ กรณีนั้นๆ หรือ องค์กรนั้นๆ มีข้อมูลที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหานั้นๆมากขึ้น ลึกซึ้งขึ้นหรือไม่

7. ถ้าใช้การสังเกตการณ์ (observation) ให้ดูว่าใช้วิธีไหน แบบมีส่วนร่วมหรือไม่มีหรือกึ่งๆ

8. การเก็บข้อมูลมี follow-up interview, member check หรือ participant validation ไม๊ คืิอ มีการเอาผลวิจัยขั้นต้นกลับไปให้ participant ดูหรือไม่ participant ได้มีโอกาสชี้แจ้งหรือวิจารณ์ผลหรือไม่

9. มีการจัดการกับข้อมูลอย่างไร
• 9.1 ถอดเทปแบบไหน เช่น ถอดคำต่อคำ ถอดแบบละเอียดยิบ คือ คนตอบหยุดเงียบไป ก็ให้บันทึกไว้ด้วย เราจะวิเคราะห์ได้ว่าคนตอบลังเล ในงานวิจัยด้านนิติศาสตร์ หรือ ภาษาศาสตร์ นั้นบางครั้งจำเป็นมาที่ต้องเก็บรายละเอียดเหล่านี้ไว้ให้หมด (ใน transcript จะใช้จุดๆ "......" 6 จุดแปลว่าหยุดเงียบไป 6 วินาทีเป็นต้น) แต่งานวิจัยโดยทั่วไปจะถอดเทปแบบ verbatim ค่ะ อย่างมากก็มีการบันทึก non-verbal gestures ด้วย
• 9.2 field note บันทึกอะไรไว้บ้าง
• 9.3 ข้อมูลที่เป็นความลับ เก็บไว้อย่างไร มีล็อค หรือมี keyword หรือไม่ เช่น ข้อมูลเรื่องชื่อคนที่เราสัมภาษณ์ถูกเก็บเป็นความลับหรือไม่ ถ้าเราให้ confidentiality แก่ participant มาก participant อาจเปิดใจคุยมากกว่า

10. งานนี้ผ่าน ethical approval หรือไม่ participants มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ เรื่องที่วิจัยsensitiveไม๊ เช่น การสัมภาษณ์คนไข้ที่โดนข่มขืนมา เราก็ต้องดูลึกลงไปว่าคำถามท่ี
่สัมภาษณ์ กระทบกระเทือนจิตใจคนไข้ไม๊ เป็นต้น ถ้างานนี้ผ่านคณะกรรมการด้าน ethic แล้วก็น่าเชื่อถือมากกว่างานที่ไม่กล่าวถึง ethic งานวิจัย

11. วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร (open coding หรือ framework coding) มีผู้วิเคราะห์กี่คน ใช้ computer software อะไรช่วยด้วยหรือไม่ แล้ววิเคระห์พวก deviant case ด้วยหรือไม (ถ้ามีจึงดี)

12. การนำเสนอข้อมูลอย่างไร เป็น theme เป็น category เป็น model อ่านแล้วเข้าใจง่ายไม๊ make senseไม๊ มีlogical flowไม๊ ตอบคำถามวิจัยไม๊ ถ้าเป็นกรณีศึกษาก็ดูว่าบรรยายละเอียดไม๊ มีการบรรยายบริบทของงานหรือไม่ แล้วเป็นแค่การรายงานผลว่า participantพูดอะไร หรือเป็นการวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก (ยิ่งลึกยิ่งดี)

13. มีการเขียน implication for policy หรือ implication for practice หรือไม่ คนอ่านจะนำความรู้ไปใช้ต่อได้อย่างไร (transferability)

14. มีการวิพากษ์จุดอ่อนของตัวเอง
เหล่านี้คือตัวอย่างการวิจารณ์ค่ะ อาจมีไม่ครบทุกข้อก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ

15. ผลงานวิจัยนี้ทำประโยชน์อะไรให้แก่วงการ

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ” โดย นางสาววนิษา เรซ

ที่มา
http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/2007-11-29-seminar03-4/


สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ” โดย นางสาววนิษา เรซ ในการสัมมนาเครือข่ายสัมพันธ์ครั้งที่ 2 “เตรียมคนไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นนทบุรี



ภารกิจหลักของสมองที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่สมองอยู่ในร่างกายนั้น สมองของมนุษย์มีคนละ 1 ก้อน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้

- ส่วนคิด ส่วนเปลือกสมองใหม่ อยู่ตรงส่วนท้ายทอยเติบโตมาช้าที่สุด เก็บข้อมูลที่เป็นความทรงจำระยะยาวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นมนุษย์ บุคลิกภาพ การทำงาน การวางแผนระยะยาว ลิงชิมแปนซีซึ่งมีดีเอ็นเอซ้ำกับมนุษย์ถึง 99.5 % ก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

- ส่วนอารมณ์ อยู่ในเปลือกสมองใหม่ มีองค์ประกอบเยอะมาก เป็นชิ้นเล็กๆ เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมอารมณ์ทุกชนิด ดีใจ โกรธ เศร้า มีความหวัง มีความทุกข์ ความสุข ทำงานไม่มีวันหยุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

- ส่วนอัตโนมัติ ก้านสมองต่อจากระดูกสันหลัง ดูแลเรื่องระบบอัตโนมัติ เราควบคุมไม่ได้เพราะเขาทำงานเอง เช่นการ หายใจ การสูบฉีดโลกหิต ระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย จะอยู่ในนี้ สัตว์เลื้อยคลานก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

ความจำระยะสั้น

เมื่อเราลืมตาตื่นขึ้นมาสมองส่วนทีเก็บความจำระยะสั้นก็จะเริ่มทำงานเ ก็บข้อมูลช่วงสั้น 30 วินาทีต่อเนื่องทั้งวัน เก็บข้อมูลได้ครั้ง 3-7 ข้อมูล หากเกินกว่า 30 วินาที เราจะจำไม่ได้ เราก็ต้องจด สมองนี้อยู่ในส่วนคิด และจะถูกปิดทันทีเมื่อระบบหลัก คือการเอาชีวิตรอดทำงาน
Amygdala

สมองส่วนนี้มีลักษณะเหมือนเมล็ดอัลมอนด์ จะอยู่นิ่งๆ ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการเอาตัวรอด ประเมินสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีลักษณะที่คุกคาม ประเมินทางจิตวิทยา ที่อาจจะเป็นอันตรายกับชีวิตได้ เมื่อพบแล้วจะมีปรากฏการณ์ อามิดาลาไฮแจ็ค เกิดขึ้นในสมองส่วนอื่นๆเพื่อหยุดกระบวนการคิด และเกิดกระบวนการเอาตัวรอด สภาพร่างกายจะอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะหนีหรือต่อสู้ สารเคมีในการต่อสู้หลั่งออกมา คือสารอดรีนาลิน จะตกค้างอยู่ในระบบ ทำให้หัวใจเต้นแรงไม่มีความสงบมีแต่ความหวาดกลัว ร่างกายจะถูกบังคับให้เคลื่อนไหวโดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำในลักษณะของการเคลื่อนไหว
สมอง 3 ส่วน อีกรูปแบบหนึ่ง

รูปแบบนี้จะอธิบายกระบวนการรับและจัดการข้อมูลของสมองที่มีลักษณะเป็น network โดยส่งข้อมูลเป็นประจุไฟฟ้าและสารเคมี

1. Recognition network คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองส่วนนี้เริ่มจากท้ายทอยต่อจากด้านสมอง ขึ้นมาทางกกหูของเรา ภาพที่ทุกคนมองอยู่จะตกกระทบที่ตาและถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนของสมองที่ลึกที่สุด ภาพที่เรามองเห็นมาตั้งแต่เด็ก จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำระยะยาวที่นี่ ส่วนเสียงจะเก็บไว้ใกล้ๆที่กกหู

2. Strategic Network เมื่อเรารับข้อมูล มาจากสภาพแวดล้อมแล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยบัญชาการข้อมูล ที่หน้าผาก มาถึงประมาณ กลางกระหม่อม เป็นสมองส่วนหน้าสุด เป็นสมองส่วนของหัวหน้า เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

3. Affective Network อยู่ในเปลือกสมอง อยู่ส่วนกลาง บัญชาการอารมณ์ทั้งหมด ทุกการทำงาน ทุกการตัดสินใจ ทุกลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ สมองส่วนอารมณ์เป็นตัวที่เริ่มตัดสินใจให้เราก่อน แล้วจึงมาที่สมองส่วนคิด สมอง 2 ส่วนแรก ทำงานไม่ได้ ถ้าสมองส่วนนี้ทำงานไม่สมประกอบ

เซลล์สมองและเส้นใยสมอง

ประกอบไปด้วยนิวเคลียสและเส้นประสาท หน้าที่หลักคือประมวลผลข้อมูล โดยทำการส่งข้อมูลในสมองทุกอย่างที่เราทำในชีวิต ทุกการตัดสินใจ ทุกการคิด เกิดขึ้นในเซลล์สมอง เกิดจากการส่งปฏิกิริยาเคมี และส่งประจุไฟฟ้าเล็กๆ โดยเซลล์สมอง มีเส้นใยสมองทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับเส้นใยอื่นๆเหมือนกับสายโทรศัพท์ 1 เซลล์มี 1 หมื่นเส้น สามารถติดต่อกับเซลล์อื่นได้ 1 หมื่นเซลล์ เซลล์สมองของคนมี 1 แสนล้านเซลล์ สามารถทำงานพร้อมกันได้มากกว่า 10 โปรแกรม โดยไม่ทำให้การทำงานช้าลง การส่งข้อมูลเกิดขึ้นทุกวินาที แม้ในเวลาเราหลับหรือในเวลาที่ป่วยแบบไม่รู้สึกตัว ซึ่งเซลล์สมองและเส้นใยสมองสามารถสร้างได้ใหม่ทุกวัน

กระบวนการบันทึกข้อมูลในสมองลงสู่ความจำ มี 5 กระบวนการด้วยกัน

1. รับข้อมูลผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. ข้อมูลไม่สำคัญสมองจะผ่านไป เช่น บิลบอร์ดที่อยู่ข้างทางที่เรามองเห็น อยู่ริมถนนสมองจะชะล้างข้อมูลนั้นออกไปถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้อยู่ในความสนใจของเรา
3. ถ้าสมองเราคิดและตัดสินใจแล้วว่าน่าสนใจ จะส่งข้อมูลไปที่ Hippocampus อวัยวะที่ทำหน้าที่บันทึกจากความทรงจำระยะสั้น ลงสู่ความทรงจำระยะยาว
4. Amygdala จะเป็นตัวบอกว่าข้อมูลนี้มีประจุทางอารมณ์สูงหรือน้อยแค่ไหน ข้อมูลที่ถูกเก็บได้ดีจะมีประจุทางอารมณ์สูงมากไม่ว่าจะเป็นอารมณ์บวกหรือลบ ทุกข้อมูลต้องผ่าน อามิดาลาหมด
5. ท้ายที่สุดจะส่งไป Hippocampus อีกครั้งหนึ่งเพื่อบันทึกความจำลงสู่เปลือกสมองด้านนอกหรือ Cortex หรือ การเก็บข้อมูลความทรงจำระยะยาว โดยสถานที่เก็บข้อมูลต่างๆมักจะแยกกันอยู่ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาพจะถูกเก็บไว้ที่ท้ายทอย ข้อมูลเสียงจะถูกเก็บที่ใกล้กกหู ข้อมูลการเคลื่อนไหวของร่างกายจะถูกเก็บอยู่ที่สมองน้อย

ถ้าข้อมูลถูกบันทึกมาถึงขั้นตอนที่ 5 เราสามารถดึงข้อมูลนั้นมาใช้ได้ตลอดชีวิต แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ของมนุษย์เราจะเดินทางไม่ถึงขั้นตอนที่ 5 จะค้างอยู่ขั้นที่ 3 หรือขั้น ที่ 2

กระบวนการจำมี 3 ขั้นตอน

1. Registration การรับข้อมูลเข้าสู่สมอง การรับข้อมูลผ่านการมอง ฟัง และการสัมผัส แต่ละบุคคลมีการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้การรับรู้จึงแตกต่างกัน
2. Retention เก็บเอาไว้
3. Retrieval ดึงออกมาใช้

Adoping a Brain-friendly Lifestye

วิธีการใช้ชีวิตที่จำเป็นสำหรับการใช้สมองในชีวิตประจำวัน

สังคมในปัจจุบัน การทำงาน การเดินทาง ทั้งหมดนี้เป็นการรุมทำร้ายสมองมาก สมองเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นมาก แต่ก็บอบบางมาก การดูแลเป็นเรื่องที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการใช้ความคิด สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

• Goal setting

การวางเป้าหมายในชีวิต ทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่ สมองชอบมาก สมองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการมีชีวิตรอด หากเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน จะเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะสมองชอบสิ่งที่ปลอดภัย คาดเดาได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนและเป้าหมายในชีวิต ที่จะบอกล่วงหน้าว่าเราจะทำอะไร การวางเป้าหมายเป็นการทำให้สมองไม่กลัวการถูกคุกคามและสามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มที่

• Eating right

การกินอาหารที่ถูกต้อง สมองเราแบ่งอาหารออกเป็น 2 หมวด คือ Good-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์ดี และ Bad-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์เสีย หากเราอารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ ให้มองกลับไปว่าก่อนหน้าที่เรากินอะไร การแยกอาหารสองชนิดนี้คือ Slow-release สมองของเราหากได้รับประทานอาหารที่ปล่อยพลังงานช้าๆ สมองจะมีการรับคลื่นพลังงานอย่างช้าๆ ต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ ถ้าเรากินอาหารที่ให้พลังงานสูงและเร็วมาก เช่น น้ำตาลทรายขาว คลื่นพลังงานของเราจะขึ้นมาสูงมาก นาทีที่คลื่นขึ้นสูง เราจะสันดาปอาหารทันที พลังงานก็จะตกทันที เมื่อพลังงานตกทันที เราจำเป็นต้องเสริมพลังงานใหม่เข้าไป คลื่นก็จะขึ้นสูงอีกครั้งและตกทันที ลักษณะที่คลื่นขึ้นสูง-ต่ำ ผิดธรรมชาติแบบนี้ หากเรากินแบบนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายมาก หากเป็นเด็กมีอารมณ์แปรรวนและจะฝังอยู่ในความทรงจำของเขา ทำให้เขากลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายตลอดชีวิต







Good-mood food Bad-mood food
- Cereal & milk
- ข้าวซ้อมมือหรือขนมปังโฮลวีท
- นมไม่พร่องมันเนย
- แพนเค้ก
- ผลไม้
- ผักสด
- ผักปรุง
- พืชหัว เมล็ดพืช
- เครื่องดื่มผลไม้ เครื่องดื่มซ่อมแซมโปรตีน - คุ้กกี้
- ขนมหวานมากๆ
- ชาปริมาณมากๆ
- กาแฟปริมาณมากๆ
- ชีสจำนวนมาก
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
- น้ำตาลทรายขาว

ดังนั้นเราจึงต้องบำรุงสมองด้วยวิตามินดังนี้
- วิตามิน B12 และ Folate มีในส้ม ผักโขม ผักบร็อคโคลี่ ช่วยซ่อมแซมและดูแลการเสื่อมของเซลล์สมอง
- ธาตุเหล็ก มีในตับ และผักใบเขียวจัด ช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
เมื่อสมองประกอบไปด้วย โปรตีน 8 % ไขมัน 10 % และ น้ำ 72 % ดังนั้นในการดูแลสมองเราจึงควรจิบน้ำตลอดทั้งวัน เป็นการเติมน้ำให้สมอง เพราะเซลล์สมองต้องการน้ำ หากมีน้ำไปเลี้ยงน้อย จะมีอาการเดียวกับพืชขาดน้ำ คือหดเล็กลง ช่องที่จะส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ก็จะกว้างขึ้น ทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้ามาก เวลาที่เราคิดอะไรไม่ออกเป็นไปได้ว่าเราลืมดื่มน้ำ การดื่มน้ำจึงจำเป็นมาก
สารเคมีอีกชนิดที่ใช้สำหรับการดูแลสมองคือ “ออกซิเจน” ทำได้ด้วยท่าการนั่งและท่าการยืน ถ้าเรานั่งนานตัวเราจะงอลง มีผลต่อปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอย่างมาก ท่าที่ถูกต้องก็คือการยืดตัว หรือการยืนตัวตรงหลังไหล่ไม่ค้อม ทำให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น 20%
• Exercising regularly
ออกกำลังกายเป็นประจำ 1. จำเป็นมากสำหรับการดูแลเรื่องเส้นเลือดในสมอง ถ้าฝึกเป็นประจำโอกาสที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบจะน้อยมากเมื่อเราอายุมากขึ้น 2. เมื่อเราออกกำลังกาย สมองของเราจะหลั่งสารเคมีเอนโดรฟินหรือความสุขออกมา มีลักษณะเสพติดได้คล้ายยาเสพติด ชื่อ มอร์ฟีน ซึ่งมีโครงสร้างเดียวกันกับ เอนโดรฟิน จะทำให้มีความสุขและมีความหวังไปพร้อมๆกัน ช่วยในการมองอนาคตระยะยาว
หากเราออกกำลังกายเป็นประจำแล้วหยุด การไม่ได้ออกกำลังจะหงุดหงิดมาก เป็นอาการเดียวกับการถอนยาหรือลงแดง เพราะสมองเราไม่ได้รับสารเคมีในเวลาที่ควรจะได้รับ และจะต้องออกกำลังได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการออกกำบังกายนี้ ช่วยในการสร้างเซลล์สมองใหม่ใน Hippocampus และมีออกซิเจนในเลือดมากขึ้น และเซลล์สมองถูกฆ่าได้ด้วยสารเคมีที่เกิดจากความเครียด ถ้าเซลล์สมองนี้ตายไปมากจะเป็นโรคความจำเสื่อม
• Learning new things
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยธรรมชาติแล้วเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้ใหญ่
เมื่อเราอายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของสมองน้อยลง แต่เราสามารถหลอกสมองได้ ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวันเป็นประจำ สมองจะคิดว่า สภาพแวดล้อมต้องเรียนรู้เยอะมาก เพราะต้องมีชีวิตรอด ต้องเรียนรู้ใหม่ทุกวันเพื่อเก็บ Brain practice ให้อยู่กับเราได้นานๆ

KM guru Mr. Ludo Pyis

http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/mrludo-16-20-24-26-51/

thank you.

ปรับระบบความคิด พิชิตอัจฉริยะ โดย วนิษา เรซ

ที่มา
http://www.thaihrhub.com/index.php/seminars/view/2007-10-26-seminar-vanisa/

สรุปการบรรยายเรื่อง ปรับระบบความคิด พิชิตอัจฉริยะ โดย วนิษา เรซ จากการสัมมนาเครือข่ายสัมพันธ์สัญจรสู่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “เรียนรู้ที่จะคิด สร้างผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน” วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2550 ณ โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จ.ขอนแก่น




วันนี้การเป็นอัจฉริยะจะไม่ใช่เรื่องยาก และไกลตัวอย่างที่ใครหลายคนคิด คนทุกเพศทุกวัย สามารถพัฒนาตนเองจนก้าวขึ้นเป็นอัจฉริยะได้ ซึ่งหัวใจของการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นอัจฉริยะนั้น ต้องเริ่มต้นที่ “สมอง” ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลเสมือนหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ สมองเปรียบเสมือนคลังแห่งการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์มากมายในการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้กับชีวิต

ที่สำคัญสมองทำอะไรได้มากกว่าที่คิด เพราะสมองเกิดขึ้นมาพร้อมกับการคิดค้นและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นอยู่กับตัวของเราเองว่าจะดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ของสมองออกมาใช้ได้อย่างไร ซึ่งหนูดีกล่าวถึงศักยภาพของสมองว่า..

“คนเรามีเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์นี้เป็นเซลล์อัจฉริยะมาก เพราะว่าในหนึ่งแสนล้านเซลล์ แต่ละเซลล์ซึ่งส่งข้อมูลถึงกันมีจุดเชื่อมต่อประมาณหนึ่งหมื่นจุด ดังนั้นเราจะบอกว่าเซลล์สมองของเรามีจำนวนมากกว่าดวงดาวในจักรภพเสียอีก สมองของทุกคนในโลกนี้มีความอัศจรรย์อันนี้อยู่ และสามารถทำงานได้ในส่วนที่เราไม่นึกเลยว่าเขาจะทำงานได้”

จากทฤษฎีของ Dr.Howard Gardner อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นดั่งเบ้าหลอมแนวคิดอันสำคัญ และถ่ายทอดความรู้ในด้านการจัดการสมองให้กับคุณวนิษาจนก้าวขึ้นเป็นผู้เข้าใจด้านอัจฉริยภาพอย่างแท้จริงคนแรกของเมืองไทย

“อัจฉริยภาพต้องผ่านการฝึกฝนนานมาก หลายคนคิดว่าคนเราเกิดมาแล้วเป็นอัจฉริยะ จริงๆไม่ใช่ มันอยู่ที่เราเลือกสิ่งที่เราชอบที่จะทำ และเราตั้งใจทำในสิ่งนั้น ไม่แปรเปลี่ยน หรือเลือกทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน แล้วทำให้ได้ดีหนึ่งหรือสองอย่าง แล้วอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบในการเปิดเวลาที่ให้อัจฉริยภาพด้านอื่นๆได้เติบโตในระหว่างที่เราพัฒนาด้านหลัก”

จากการบ่มเพาะนิสัยรักการเรียนรู้มาตั้งแต่ในวัยเด็กทำให้ วนิษา เรซ เข้าใจถึง “การเรียนรู้เพื่อพัฒนา” ได้เป็นอย่างดี เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดไว้เพียงแค่ในห้องเรียน การปลดปล่อยความคิด จินตนาการ และศักยภาพในการเรียนรู้นอกกรอบก็ได้เริ่มขึ้น ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นในการสร้างอัจฉริยะตัวน้อย ที่ครั้งหนึ่งได้สร้างให้คุณวนิษาเป็นผู้เปิดประตูแห่งความลับสู่การเป็นอัจฉริยภาพบนความเชื่อว่า

คนธรรมดาคนหนึ่งก็สามารถเป็นอัจฉริยะได้

ไม่ต่างอะไรกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

“หนูดีเรียนมาด้านสมอง และทำวิจัยด้านสมอง เพราะฉะนั้นหนูดีจะทราบว่า โดยธรรมชาติสมองมนุษย์ทำงานอย่างไร และถ้าเราจะเรียนรู้ เรียนรู้อย่างไรถึงได้ผล ให้เกิดศักยภาพสูงที่สุดในตัวผู้เรียนและในตัวคนสอนด้วย ดังนั้นจะบอกว่าโรงเรียนนี้เป็นลักษณะของโรงเรียนที่สอนตามธรรมชาติของสมองก็น่าจะเป็นได้”

การได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ค้นพบและได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆด้วยตนเองของเด็กๆใน โรงเรียนวนิษา อาจดูเหมือนไร้สาระ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นรู้แบบ “การเรียนรู้แบบบูรณาการ” ที่นำเอาเรื่องราวที่เด็กสนใจมาให้เด็กได้ลองทำ แล้วค่อยๆ สอดแทรกความรู้ทางวิชาการเข้าไปเชื่อมโยง เพื่อทำให้เด็กๆ ได้มีความสุขไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ มากกว่าการนั่งท่องจำในห้องเรียน เพราะที่โรงเรียนแห่งนี้เชื่อว่า..

การเรียนรู้ที่ดีต้องเริ่มต้นจากความสุข

“ถ้าเราไม่รู้การทำงานตามธรรมชาติของสมอง เราอาจจะบังคับให้เด็กต้องท่องจำเยอะๆ และไม่มีเทคนิคในการช่วย บังคับให้เด็กท่องอย่างเดียว เสร็จแล้วก็มีข้อสอบยากๆ และเหมือนกับการบังคับโดยไม่รู้ตัวให้เด็กต้องท่องหนังสือก่อนวันสอบ และไม่มีเวลาพักผ่อนที่แท้จริง แต่ถ้าเราเรียนด้านสมองเราจะทราบว่าอวัยวะบันทึกความจำของสมองจะทำงานเมื่อเราหลับ เพราะฉะนั้นถ้าเราบังคับให้เด็กท่องเยอะๆแต่ไม่ให้เขาพักผ่อนเพียงพอ เขาก็จะไม่สามารถมีความทรงจำระยะยาวได้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน พอเรียนแล้วก็สอบเสร็จก็ลืม ซึ่งก็เป็นลักษณะปกติของนักเรียนทั่วไป คือสอบเสร็จแล้วลืม”

“แต่ว่าโรงเรียนของเราจะป้องกันไม่ให้เกิดตรงนั้น เพราะเราทราบว่าสมองทำงานอย่างไรในเรื่องความจำ หรือในเรื่องของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และอัจฉริยภาพ อารมณ์ต้องมาก่อน คือต้องมีอารมณ์ชอบ อารมณ์รักเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน เพราะว่าสมองส่วนอารมณ์หรือที่เรียกว่า limbic system ซึ่งเป็นตัวควบคุมสมองส่วนคิด เรียกว่า Executive Function ถ้าสมองส่วนอารมณ์ทำงานไม่สมประกอบ ไม่สมบูรณ์ สมองส่วนคิดก็ทำงานไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะให้เด็กเรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราก็ต้องทำให้เขามีความรู้สึกอยากเรียนก่อน แล้วเมื่อเรียนเขาจะเรียนได้เต็มที่ ใช้สมองได้เต็มที่ทั้งก้อน เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ทราบ ก็จะคิดว่าสมองกับอารมณ์เป็นคนละเรื่อง จริงๆแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน” คุณวนิษากล่าว

ในวัยเด็ก หนูดี เป็นนักเรียนคนแรกของโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งมีคุณแม่เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน เพื่อฉีกหนีจากระบบการศึกษาของไทยที่ยังยึดติดอยู่ในกรอบแบบเดิมๆ จากจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน และคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เด็กของคุณวนิษา ทำให้เธอเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ มุมมองและแนวคิดที่แตกต่าง

ด้วยความต้องการจะเป็นคนเก่ง ฉลาด และต้องการรู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นแรงจูงใจที่ทำให้คุณวนิษาเดินทางมาศึกษาต่อปริญญาโทด้านการพัฒนาสมอง ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจกับระบบการทำงานของสมอง และค้นหาวิถีทางในการพัฒนาคนให้เป็นอัจฉริยะ และที่นี่เองที่ทำให้คุณวนิษารู้ว่า..

การพัฒนาตนเองให้เป็นอัจฉริยะ ไม่ใช่เรื่องยากหรือไกลเกินตัว

จากนักเรียนคนแรกในโรงเรียนที่สอนให้คิดนอกกรอบของคุณแม่ วันนี้หนูดีได้ก้าวขึ้นเป็นผู้บริหาร ทำหน้าที่จัดวางหลักสูตรการสอนที่เหมาะสมกับการทำงานของสมอง วางรากฐานในอนาคตให้กับเยาวชนตัวน้อยๆ ของชาติ ซึ่งจะเติบโตเป็นอัจฉริยะที่มีความสุข ซึ่งการศึกษาด้านการพัฒนาสมองทำให้หนูดีค้นพบว่า...

“สมองของเราทำอะไรได้อีกหลายอย่างมากที่เราไม่เคยรู้ และสมองมีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ดีมาก ศัพท์วิชาการเรียกว่า Plasticity คือความยืดหยุ่นของสมอง เช่นถ้าหนูดีเกิดความทุกข์ขึ้นในใจอย่างหนึ่ง แล้วรู้สึกไม่เห็นทางออกเลย หนูดีไม่รู้ว่าจะคิดยังไงให้หนูดีหายทุกข์ได้”

“แต่หนูดีรู้ว่าข้อมูลทางสมองบอกว่า ในการเปลี่ยนแปลงเส้นใยสมองเราจะใช้เวลาประมาณ 21 วันถึงหนึ่งเดือน ดังนั้นหนูดีก็จะคิดว่าเรื่องนี้มันใหญ่มาก อยากจะปล่อยให้ตัวเองทุกข์ได้ซักนิดนึง แต่หนูดีจะค่อยๆปรับแบบแผนพฤติกรรมของหนูดีเพื่อสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆให้หนูดีคิดอย่างมีความสุขมากขึ้น และมันก็ได้พิสูจน์ว่ามันทำได้ทุกครั้ง เลยรู้ว่าจริงๆแล้วถ้าคนเรารู้เรื่องสมอง จะรู้ว่าไม่มีอะไรต้องกลัวเลย เพราะสมองเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และเราสามารถทำให้มันดีขึ้นได้ มีความสุขขึ้นได้ทุกวัน” หนูดีกล่าวถึงศักยภาพของสมองซึ่งทุกคนสามารถสร้างและพัฒนาสมองด้วยตนเองได้

นั่นแสดงให้เห็นว่าการเป็นอัจฉริยะนั้นสามารถสร้างและพัฒนาขึ้นมาได้ การเป็นอัจฉริยะไม่ได้เกิดมาจากพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หากแต่เกิดมาจากการเรียนรู้และฝึกฝน คนทุกคนมีความสามารถจะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอัจฉริยะได้ โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญ

การค้นหาความเป็นอัจฉริยะในตัวของเราเองนั้น จะต้องเริ่มต้นจาก “ค้นหาใจตัวเอง ว่าเรานั้นชอบอะไร และอยากทำอะไร” เพราะสิ่งเหล่านั้นจะเป็นบันไดขั้นแรกที่นำเราไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ดังที่คุณวนิษากล่าวไว้ว่า...

“ถ้าพูดตามทฤษฎีอัจฉริยภาพก็จะบอกว่าคนเรามีอัจฉริยภาพในตัวอยู่แล้วทุกคน ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพื่อไปเอาความเก่งมา หน้าที่ของเราคือจัดสภาพแวดล้อมให้มันเอื้อให้อัจฉริยภาพนั้นๆ แสดงตัวออกมา ยกตัวอย่างเช่น หนูดีเป็นคนชอบเต้น ชอบใช้ร่างกาย ชอบเล่นกีฬา ถ้าหนูดีไม่จัดเวลาของหนูดีให้ได้ยิงธนู ให้ได้พายเรือแคนู ให้ได้เล่นโยคะ ให้ได้เต้นบัลเล่ต์ หนูดีก็จะไม่รู้ว่าหนูดีมีอัจฉริยภาพด้านนั้นอยู่ ก็เท่ากับว่ามันก็ปิด เก็บล็อคอยู่ในตัวหนูดี หรือสมมติถ้าหนูดีไม่บินไปอเมริกา ไม่ไปเรียนด้านสมอง หนูดีก็ไม่รู้ว่าหนูดีทำได้ เพราะฉะนั้นทั้งหมดอยู่ที่เราจัดสถานการณ์ให้มันแสดงสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้มันแสดงออกมา”

หลายคนอาจไม่รู้ว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมๆกับอัจฉริยภาพทั้งแปดด้าน และความเป็นอัจฉริยะที่มีก็ไม่ได้อยู่ไกลตัวอย่างที่คิด แม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันของเราที่เป็นอยู่ หากเราเปิดมุมมองการเรียนรู้อย่างหลากหลายก็สามารถพัฒนาตัวเองสู่การเป็นอัจฉริยะได้

“ความเป็นอัจฉริยะที่อาจารย์ Howard Gardner พบทั้ง 8 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 1.อัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร 2.อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 3.อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และการจิตนาการ 4.อัจฉริยภาพด้ายตรรกะและคณิตศาสตร์ 5.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง 6.อัจฉริยภาพด้านมนุษย์สัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น 7.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ และ 8.อัจฉริยภาพด้านดนตรีและจังหวะ อัจฉริยภาพ 7 ใน 8 ด้านที่ค้นพบเป็นเรื่องของ How to เช่น ทำอย่างไรถึงจะเก่งภาษา ทำอย่างไรถึงจะเก่งคณิตศาสตร์ ทำอย่างไรถึงจะเคลื่อนไหวร่างกายเก่ง ทำอย่างไรถึงจะร้องเพลงเก่ง เป็นต้น แต่มีอยู่ด้านเดียวซึ่งเป็นคำว่า Why คือทำไม ซึ่งนั่นก็คือ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง”

“ถ้าเรามีอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง ไม่ต้องกังวลเลยว่าสังคมนี้จะมีคนเก่งและก็เอาเปรียบ เห็นแก่ตัว ทำร้ายกัน เพราะถ้าเราเข้าใจตนเอง เราก็จะเข้าใจสังคม เราเข้าใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างที่ไม่สามารถตัดขาดออกจากกันได้ และเราจะรู้ว่าเราควรทำอะไรต่อไปในชีวิต เราจะมีความสามารถในการนั่งลงนิ่งๆ แล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่าชีวิตเราดำเนินมาถึงจุดนี้แล้วเรายังจะดำเนินต่อไปในเส้นทางนี้หรือไม่ หรือมีเส้นทางอื่นให้เราเดิน ในระหว่างทางที่เราเดิน เราจะจูงมือใครไปด้วยบ้าง เราจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครได้บ้าง ใครจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้บ้าง”

“หนูดีว่าถ้าทุกคนมีอัจฉริยะด้านการเข้าใจตนเอง สามารถทำให้สังคมเป็นสังคมซึ่งมีคุณภาพมาก และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยที่สามารถใช้สมองได้อย่างเต็มศักยภาพ”

แนวคิดและกระแสอัจฉริยะสร้างได้ของ คุณวนิษา เรซ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการจุดประกายในการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพบุคคลทุกๆวงการ ไม่ว่าจะเป็นคนในบริษัททั้งของภาครัฐและเอกชน หรือแม้กระทั่งวงการศึกษาก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรไม่แพ้กัน ซึ่งในการบรรยายเรื่องที่เกี่ยวกับอัจฉริยะสร้างได้ของคุณวนิษา แต่ละครั้งมักจะมีผู้เข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

การได้เป็นแรงบันดาลใจให้คนในสังคมได้หันมาสนใจและใส่ใจเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของตนเอง การฝึกฝนและพัฒนาความสามารถอย่างหลากหลาย เป็นสิ่งที่คุณวนิษาตั้งเป้าหมายไว้ เพราะสำหรับเธอแล้วการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ...การได้พัฒนาคน

ถึงแม้ว่าดอกผลแห่งความทุ่มเทของคุณวนิษา ทั้งในโรงเรียนวนิษาและในการกระตุ้นให้คนในสังคมไทยตื่นตัวในเรื่องของการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นอัจฉริยะ จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ของการดำเนินการอย่างชัดเจน แต่ในวันนี้ คุณวนิษา เรซ นับได้ว่าเป็นต้นแบบแนวคิด และเป็นแรงบันดลใจที่สำคัญในการจุดไฟแห่งการพัฒนาศักยภาพของคนในสังคมให้ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในแนวทางของการพัฒนาคน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

เทคนิคการเป็นอัจฉริยะ

ที่มา
http://www.rpca56.com/thread-581-1-1.html

อัจฉริยะกับ 9 เทคนิคฝึกสมองไบรท์
ชื่อของ "หนูดี" วนิษา เรซ ครูอนุบาลสาวสวยลูกครึ่งไทย-อเมริกันวัย 30 ปี หลายคนอาจจะพอคุ้นๆหูและหน้าตาเธอขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากออกรายการจับเข่าคุยกับสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวสุดฮอต ยิ่งส่งผลให้เธอดังเป็นพลุแตกกับความสวยรวยความเก่ง มากไปด้วยความสามารถของเธอ


"คุณหนูดี-วนิษา เรซ" ดีกรีผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของโรงเรียนและสถาบันอัจฉริยะสร้างได้ อีกทั้งยังเป็นคนแรกที่ทำอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ ซึ่งไปถามใครที่ไหนเชื่อเถอะว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักอาชีพนี้ เพราะเมื่อเอ่ยถึงการฝึกความอัจฉริยะหรือการพัฒนาสมองเรามักจะนึกถึงเด็ก เล็กๆ ซึ่งน่าจะเหมาะกับการพัฒนาและฝึกฝนมากกว่าผู้ใหญ่ แท้ที่จริงแล้วผู้ใหญ่ทุกคนก็สามารถสร้างความเป็นอัจฉริยะได้ อย่างที่คุณหนูดีกล่าวว่า "สมองของเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอน์สไตน์ " เพียงแค่ดูแลสมองให้มีสุขภาพดี ด้วยเทคนิคที่ควรเอ็กเซอร์ไซส์ให้สมองไบรท์ดังต่อไปนี้
1. จิบน้ำบ่อย ๆสมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออกแต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดีคนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมันซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทน ส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวมน้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็น เสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไป เรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นกินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดีๆทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดีตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึก ๆ สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยาย
อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนตามเทคนิคง่ายๆทั้ง 9 ข้อนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดอัจฉริยะข้ามคืนได้เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการ เรียนรู้ แต่สิ่งที่ได้ในเบื้องต้นคือการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจแบบชนิดที่เรียกว่า "สวยทั้งภายในและภายนอก" อย่างแน่นอน้